HomeInsight30 แบรนด์จีนทรงพลัง 2017 ทะยานจาก Local Brand สู่ Global Brand สะท้านโลก

30 แบรนด์จีนทรงพลัง 2017 ทะยานจาก Local Brand สู่ Global Brand สะท้านโลก

แชร์ :

chinese-brands-03

เมื่อเอ่ยถึง “แบรนด์จีน” (Chinese Brand) เมื่อกว่า 10 – 20 ปีที่แล้ว คนทั่วโลกแทบไม่รู้จัก และส่วนใหญ่มักนึกถึงสินค้าราคาถูก คุณภาพต่ำ ดีไซน์ไม่โดดเด่น ไม่สวยงาม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นั่นคือ ภาพลักษณ์ในอดีตที่ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะใช้สินค้าแบรนด์จีน !!

แต่ปัจจุบัน…คนทั่วโลกเริ่มรู้จัก และให้การยอมรับ “แบรนด์จีน” มากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากทุกวันนี้สินค้าแบรนด์จีน ได้เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันของตัวเราเอง หรือคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ไอที เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก หรือแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน รวมไปถึงช้อปปิ้งสินค้าจากทั่วโลก ผ่าน E-Commerce ของจีน และใช้แอพพลิเคชั่นแชทของบริษัทพัฒนาโปรแกรมจากจีน

นี่เป็นผลมาจากการลงทุนของบรรดาแบรนด์จีน ที่ต้องการ “ยกระดับ” จาก “Local Brand” ไปสู่การเป็น “Global Brand” ดังนั้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในสินค้าและแบรนด์ของตนเอง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุนอย่างหนัก และทุ่มเงินอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้า นวัตกรรม ดีไซน์ ไปจนถึงการให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างแบรนด์ การตลาด และการขายบนเวทีระดับโลก

“KANTAR Millward Brown” ในเครือ WPP จับมือกับ “Google” จัดทำผลวิจัย “The BrandZ™ Top 30 Chinese Global Brand Builders 2017” เพื่อสำรวจการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์จีนที่สยายปีกจากบ้านเกิด ออกไปสู่ระดับโลก และไม่ใช่แบรนด์จีน ใน 9 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ Consumer Electronics, E-Commerce, Mobile Gaming, Airlines, Home Appliances, Internet Services, Smart Devices, Online Fast Fashion, Cars โดยเก็บข้อมูล 7 ตลาดที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรวมทวีปยุโรป, สหราชอาณาจักร, สหรัฐอเมริกา, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น

จากนั้นข้อมูลจะถูกวิเคราะห์และคำนวณเป็นคะแนนดัชนีอิทธิพลแบรนด์ หรือเรียกว่า “Brand Power Score” ซึ่ง 30 แบรนด์จีนที่ติดอันดับเป็นที่รับรู้ในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม มีดังนี้

1. Lenovo (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 1,628

2. Huawei (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 1,256

3. Alibaba (Industry : E-Commerce) / Brand Power Score 1,047

4. Elex (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 923

5. Mi (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 716

6. Air China (Industry : Airlines) / Brand Power Score 709

7. Haier (Industry : Home Appliances) / Brand Power Score 572

8. Anker (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 501

9. Cheetahmobile (Industry : Mobile Gaming/Internet Services) / Brand Power Score 498

10. Hisense (Industry : Home Appliances) / Brand Power Score 482

11. Go Launcher (Industry : Internet Services) / Brand Power Score 481

12. OnePlus (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 454

13. Dji (Industry : Smart Devices) / Brand Power Score 431

14. China Eastern (Industry : Airlines) / Brand Power Score 426

15. ZTE (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 410

16. FunPlus (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 386

17. 360 (Industry : Internet Services) / Brand Power Score 373

18. TCL (Industry : Consumer Electronics/Home Appliances) / Brand Power Score 366

19. Tap4Fun (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 346

20. IGG (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 332

21. Youzu.com (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 309

22. Ourpalm (Industry : Mobile Gaming) / Brand Power Score 264

23. Gearbest (Industry : E-Commerce) / Brand Power Score 242

24. China Southern Airlines (Industry : Airlines) / Brand Power Score 232

25. Lightinthebox.com (Industry : Online Fast Fashion) / Brand Power Score 228

26. Oppo (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 227

27. Vivo (Industry : Consumer Electronics) / Brand Power Score 226

28. Ninebot (Industry : Smart Devices) / Brand Power Score 219

29. Tencent (Industry : Mobile Gaming/Internet Services) / Brand Power Score 209

30. Great Wall (Industry : Cars) / Brand Power Score 208

1-15-chinese-brands

16-30-chinese-brands

David Roth CEO, The Store WPP, EMEA & Asia เล่าพัฒนาการของแบรนด์จีนในตลาดโลกว่า ทุกวันนี้ผู้บริโภคชาวตะวันตกให้ความสนใจสินค้าและแบรนด์จีนมากขึ้น จากในอดีตแบรนด์จีนมักจะถูกมองว่าเป็นสินค้าคุณภาพต่ำ ขณะที่ปัจจุบันกลายเป็นแบรนด์ที่มาพร้อมกับนวัตกรรม โดยเฉพาะได้รับการยอมรับในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งกลุ่มสินค้าที่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟน และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับแบรนด์จีนในการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ด้วยการขยายไปยังตลาดนอกประเทศจีน และแข่งขันในตลาดระดับโลก

“อย่างไรก็ตามในตลาดระดับโลก แบรนด์จีนยังคงต้องเผชิญกับความท้าทาย ประการแรก แบรนด์จีนยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในตลาดนอกประเทศจีน ดังนั้น ต้องให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้ในกลุ่มผู้บริโภคประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะตลาดที่พัฒนาแล้ว ต้องมีความเข้าใจ Insight ของตลาด และสื่อสารอย่างมีความเชี่ยวชาญ

ประการที่สอง ขณะนี้แบรนด์จีนยังอยู่ในสเตปของการสร้าง Brand Awareness เพราะฉะนั้นแมสเสจ และสื่อที่ใช้สร้างการรับรู้แบรนด์ไปยังผู้บริโภค ควรจะต้องมีความแตกต่างกันไปตามสภาพตลาดของแต่ละประเทศ”

แหล่งที่มาและรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่

 


แชร์ :

You may also like