HomePR Newsผลการศึกษาเตือนอาเซียน เตรียมแผนการรับมือโรคมะเร็งร้าย [PR]

ผลการศึกษาเตือนอาเซียน เตรียมแผนการรับมือโรคมะเร็งร้าย [PR]

แชร์ :

33ผลการศึกษาที่ได้จัดทำในประเทศอาเซียน 8 ประเทศเผยให้เห็นว่าผู้คนจำนวนกว่า 3 ใน 4 (75 เปอร์เซ็นต์) จะเสียชีวิตหรือพบกับปัญหาทางการเงินภายในหนึ่งปีหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคมะเร็ง และมักส่งผลกระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อยมากที่สุด

เมื่อเปรียบเทียบคนไข้จากทวีปตะวันตกและทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว พบว่าคนไข้จากกลุ่มประเทศตะวันตกมักจะสามารถใช้ชีวิตต่อได้อีก 10 ปี ในขณะที่คนไข้จากทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักจะสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้โดยเฉลี่ยเพียงหนึ่งปี

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จากการสำรวจผู้ป่วยโรคมะเร็งในเมืองไทยกว่า 1,200 คน ซึ่งได้เข้าร่วมการศึกษา ACTION พบว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ได้รับการวินิจฉัยเมื่อเป็นโรคมะเร็งในระยะท้ายๆ (ระยะที่ 3 และ 4) และจำนวนมากกว่า 1 ใน 4  (26 เปอร์เซ็นต์) เสียชีวิตภายในปีแรกหลังจากได้รับการวินิจฉัย ทั้งนี้ยังพบอีกว่าการตรวจพบมะเร็งในระยะสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตขึ้นอีกถึง 5 เท่า เละเพิ่มโอกาสที่จะประสบกับภาระทางเงินขึ้นอีกถึง 2 เท่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง เอื้อมแข สุขประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “ปัจจุบันมีโปรแกรมหลากหลายที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อลดผลกระทบของโรคมะเร็งภายต่อครอบครัวของประเทศไทย อาทิ โปรแกรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง นวัตกรรมและแนวทางการรักษาแบบใหม่ และการจัดตั้งระบบทะเบียนของโรคมะเร็งในประเทศไทยเพื่อปรับปรุงด้านการเข้าถึงข้อมูลและงานวิจัย อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทางภาครัฐจะสามารถนำมาพิจารณาในการลดภาระจากโรคมะเร็งได้ต่อไป”

ด้านนายแพทย์ภัทรวินฑ์ อัตตะสาระ รองผู้อำนวยการสำนักตรวจราชการ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “เราสามารถปรับบปรุงและพัฒนาผลที่ตามมาของโรคมะเร็งและลดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ หากมีการจัดตั้งโปรแกรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งที่มีคุณภาพและครอบคลุมประชากรให้ได้มากที่สุดซึ่งการตรวจพบมะเร็งในระยะเริ่มต้น (ในมะเร็งบางประเภท) ยังจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาให้ทางภาครัฐ, คนไข้ และครัวเรือน”

“การตระหนักว่าโรคมะเร็งไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ตัวคนไข้เป็นสิ่งสำคัญเท่านั้นแต่ภาครัฐก็ควรให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ และเห็นว่านี่คือประเด็นระดับชาติ ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อภาคครัวเรือน, สังคม และ เศรษฐกิจ ซึ่งนอกเหนือจากสุขภาพทั้งนี้โรคมะเร็งเป็นประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญอันควรแก่การปรับปรุงและพัฒนาเพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยและภาระทางเศรษฐกิจ” นายแพทย์ภัทรวินฑ์ กล่าวเพิ่มเติม

นายแพทย์ภัทรวินฑ์ได้กล่าวเสริมว่าการร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุข สปสช. โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม และองค์กรเพื่อสาธารณประโยชน์ (NGO) ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพของการดูแลรักษาที่จะส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลงอีกด้วย

จากรายงานทางสถิติสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีพ.ศ.2557 เผยว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด จำนวนกว่า 16 เปอร์เซ็นต์ หรือกว่า 70,000 รายมีสาเหตุมาจากโรคมะเร็ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งนั้นเป็นตัวการคร่าชีวิตคนไทยมากเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ โดยมีจำนวนที่มากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองถึง 2 เท่า และมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจถึง 3 เท่า


แชร์ :

You may also like