HomePR NewsGRANSHAN 2013 เปิดโลกออกแบบตัวอักษร Non Latin ครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

GRANSHAN 2013 เปิดโลกออกแบบตัวอักษร Non Latin ครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แชร์ :

granshan 2013

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค จับมือกับภาคีภาครัฐและเอกชนในประเทศไทย จัดงาน GRANSHAN 2013” เทศกาลออกแบบตัวอักษร ประเภท Non-Latin (ตัวอักษรนอกตระกูลโรมัน) ระดับนานาชาติ ซึ่งจะจัดขึ้นครั้งแรกในไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556

นายบอริส โกชาน นายกสมาคมนักออกแบบอักษรศิลป์แห่งนครมิวนิค กล่าวว่า “GRANSHAN 2013 Thailand เป็นกิจกรรมครั้งสำคัญที่จะเปิดมุมมองใหม่ของโลกแห่งการออกแบบ กับการค้นพบตัวตน ผ่านอักขระแห่งภูมิภาคอันล้ำค่า รวมถึงการสะท้อนวิถีการออกแบบจากรากไปสู่อัตลักษณ์ของนักออกแบบไทย โดยเราได้รวบรวมกิจกรรมหลากหลายที่จะกระตุ้น ส่งเสริม ถ่ายทอดความรู้ ทัศนะ และแลกเปลี่ยนมุมมองของกลุ่มนักออกแบบตัวอักษรในระดับโลก เพื่อช่วยจุดประกายให้อุตสากรรมการออกแบบตัวอักษรในประเทศไทยและในภูมิภาคได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด “Design & Identity” หรือ “ออกแบบอักขระ ออกแบบอัตลักษณ์” กับหลากหลายกิจกรรมที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่แวดวงการออกแบบตัวอักษร แต่ยังนำเสนอถึงเรื่องราวและบทบาทของตัวอักษรที่มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่ ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต เศรษฐกิจ และสังคม อีกด้วย”

การจัดงานในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากภาคีภาครัฐและเอกชนไทย ได้แก่ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)  ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (SAC) ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สถาบันเกอเธ่ และ ร้านอาหาร บราวน์ชูการ์ซึ่งภายในงาน เป็นการรวมตัวครั้งสำคัญของนักออกแบบตัวอักษรและผู้เชี่ยวชาญด้าน Non-Latin Typefaces จากทั่วโลก ที่จะมาร่วมกันถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ของ “ตัวอักษร” (Typefaces) ตั้งแต่ การประชุมสัมมานาเชิงวิชาการ ในหัวข้อ “A Seismograph for typographic trends and interdisciplinary dialogue” ซึ่งเป็นการระดมนักออกแบบตัวอักษรที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และแลกเปลี่ยนมุมมองอันหลากหลายของ “ตัวอักษร”ประเภทต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอักขระกลุ่มประเภท Non-Latin typeface เช่น อักขระชนชาวเอเชียที่มีเอกลักษณ์อย่างโดดเด่น

ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจากนักออกแบบตัวอักษรระดับแถวหน้าเข้าร่วม อาทิ Stefan Sagmeister ศิลปินจากนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาMyung Jin Kim และ Ahn Sang Soo  ศิลปินจากประเทศเกาหลี Lar Harmsem ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ Magma Brand Design จากประเทศเยอรมนี Gerard Unger ศาสตราจารย์ด้าน Typography แล Graphic Communication จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง และ Gerry Leonidas คณบดีวิทยาลัยการออก Masterclass Type Design จากมหาวิทยาลัยเรดดิ้ง Ben Mitchell นักออกแบบอักษรอิสระจากประเทศอังกฤษ มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สนใจในกิจกรรมเวิร์คช็อปในหัวข้อต่างๆ อาทิ สัญลักษณ์ขนาดเล็กเพื่อการสื่อสาร – การออกแบบอักษรสำหรับสมาร์ทโฟน, การผลิตฟ้อนต์จากร่างไปสู่แบบที่สมบูรณ์ เป็นต้น โดยการเวิร์คช็อปจะจัดขึ้น ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  คณะจิตกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในวันพุธที่ 24 กรกฎาคม 2556

นอกเหนือจากกิจกรรม Conference, Symposium และ Workshop แล้ว ตลอดระยะเวลา 1 เดือนของการจัดงาน ผู้ที่สนใจจะได้สัมผัสกับ 5 นิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตัวอักษรและอำนาจของตัวพิมพ์ที่ส่งต่อวิถีชีวิตของผู้คน โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาตัวอักษรที่ไม่ใช่ละติน เช่น อักษรไทย ลาว เกาหลี หรืออาหรับ เป็นต้น โดยระยะเวลาการจัดงานแบ่งออกเป็น 3 ช่วงด้วยกัน ประกอบด้วย

Pre Conference: History and Current Results of GRANSHAN 2008 to 2012

ปูพื้นฐานความเป็นมาของงาน GRANSHAN ผ่านนิทรรศการความเป็นมาของงาน GRANSHAN ที่ได้รวบรวมผลงานของสี่ปีแรก เริ่มตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปี 2554 อีกหนึ่งนิทรรศกาลเป็นการจัดแสดงผลงานของปี 2555 ซึ่งถือเป็นงานล่าสุดของ GRANSHAN โดยผลงานที่คัดเลือกมาจัดแสดงสะท้อนให้เห็นว่า ความงามของภาษาพัฒนาไปได้มากน้อยเพียงใดโดยผ่านชุดตัวอักษรระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556 ณ สถาบันเกอเธ่

During the Conference:  TypoLyrics by Lars Harmsen/slanted

เมื่อดนตรีมาพบกับอักษร และอักษรพบกับดนตรี แรงบันดาลใจจากดนตรีสู่การออกแบบตัวอักษร การผสมผสานของสองศาสตร์ศิลป์นำเสนอประสบการณ์ใหม่ที่น่าติดตามชม งานแสดงชิ้นนี้แสดงให้เห็นถึงผลงานที่เลือกสรรมาแล้วว่ามีความเฉพาะตัว แสดงถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบตัวอักษรและดนตรี นำความรื่นรมย์มายังโสตประสาททางสายตาและการสดับรับฟัง ลองใส่หูฟัง มองด้วยตา กดปุ่มเพลย์ และให้ตัวอักษรล้อไปกับดนตรีในจังหวะร็อค สวิง และโปโก อีกทั้งมีผลงานจาก workshopจัดโดย “อาจารย์อำมฤต ชูสุวรรณ” คณะจิตกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับ Curator งานแสดงนี้อีกด้วย โดยนิทรรศการจัดแสดงระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม 2556 ณ   ร้านบราวน์ชูการ์ ถนนพระสุเมรุ

Post Conference: From Hot Metal to Open Type – University of Reading และ Letter.2 of ATypI

จากเหล็กร้อนมาเป็นตัวอักษรสาธารณะ – University of Reading สถาบัน Institute for Typography มหาวิทยาลัยรีดดิ้ง (University of Reading) จะเปิดเผยคลังชุดตัวอักษรที่ไม่ใช่ละติน ที่จะทำให้เราตื่นตาตื่นใจไปกับชุดตัวอักษรที่ปกติแล้วจะมีเพียงนักศึกษาและนักวิจัยเท่านั้นที่ได้ชม ส่วน Letter.2 of ATypI เป็นการจัดแสงผลงาน Letter.2 ที่ตั้งใจให้เห็นมุมวงกว้างของการออกแบบตัวอักษรทั่วโลกในช่วงหลังการแข่งขันปีพ.ศ. 2544 และมุ่งส่งเสริมความเป็นเลิศในการออกแบบตัวอักษร และแนวปฏิบัติในวิชาชีพที่ดีที่สุด นอกจากนี้ ยังมุ่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับบทบาทการออกแบบตัวอักษร เพื่อกระตุ้นให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และรักษาให้คงอยู่ต่อไป โดยทั้งสองนิทรรศกาลจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม – 18 สิงหาคม ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถเข้าชมกิจกรรมฟรีตลอดงาน และสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมและสถานที่จัดกิจกรรมทั้งหมด ได้ทาง www.granshan.com , www.facebook.com/GRANSHAN2013


แชร์ :