HomeDigital10 เรื่องต้องระวัง แบรนด์ “พัง” เพราะ Social Media

10 เรื่องต้องระวัง แบรนด์ “พัง” เพราะ Social Media

แชร์ :

10 เรื่องต้องระวังแบรนด์พังเพราะ Social Media 787x524

Social Media เป็นอีกช่องทางที่มีประสิทธิภาพมากในการทำการตลาดให้แบรนด์ของเรา อย่างในไทยเองมีผู้ใช้ Social Media เยอะมาก ซึ่งหากมองแค่จำนวน Users แล้ว ต้องบอกว่าคิดเป็นกว่า 90% ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ต (34 ล้านคนจาก ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 35 ล้านคน) ซึ่งก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่ Social Media กลับส่งผลร้ายให้กับแบรนด์จากการดำเนินการที่ผิดพลาด รอบนี้ทาง Brand Buffet เองมีบทความเกี่ยวกับ 10 ข้อผิดพลาดที่ควรระวังบน Social Media ก่อนจะส่งผลเสียกับแบรนด์ มาให้อ่านเพื่อเตือนสติกัน จะได้ไม่พลาดแบบนี้ครับ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. ให้คนที่ความสามารถไม่ถึงดูแล Account ของแบรนด์

เหตุผลของการใช้ Social Media สำหรับแบรนด์นั้นก็คือพูดคุยกับชาวโลกให้รู้ว่าแบรนด์ชั้นอยู่ที่นี่ ดังนั้นทุกสิ่งที่สื่อออกไปจึงมีความสำคัญมาก แต่ข้อผิดพลาดอย่างหนึ่งก็คือ บางทีเรากลับให้คนที่ยังมีความสามารถไม่ถึง มาดูแลแบรนด์แอคเคาท์ของเรา ความสามารถในที่นี้เป็นทั้ง ความรู้ ความเข้าใจในตัวแบรนด์, วุฒิภาวะในการตอบคำถามหรือปัญหา ฯลฯ ซึ่งทำให้กลายเป็นว่าเวลาเกิดปัญหาขึ้น นอกจากจะจัดการไม่ได้แล้วปัญหาบานปลายใหญ่โตออกไปได้อีก ดังนั้นควรจะมั่นใจว่า ผู้ที่จะมาช่วยดูแลแบรนด์ของเรานั้นมีคุณสมบัติที่พร้อมมากพอ

2. ถูกแฮ็ค

ในปี 2013 ช่วงที่ Facebook ยังมีผู้ใช้งานไม่เยอะเท่าปัจจุบัน แต่จากสถิติพบว่ามีการถูกแฮ็คบัญชีมากกว่า 318,000 บัญชี ซึ่งถ้าบัญชีที่ถูกแฮ็คนั้นเป็น 1 ในแอดมินที่ดูแลแบรนด์อยู่ ก็คงเป็นฝันร้ายสำหรับแบรนด์นั้นได้เลย ข้อแนะนำก็คือให้มั่นใจว่ารหัสผ่านที่ตั้งนั้นมีความซับซ้อนพอสมควร มีการเปลี่ยนรหัสผ่านสม่ำเสมอ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการใช้พวก Tools ต่างๆในการบริหารจัดการแฟนเพจ และกำหนดสิทธิ์ให้กับบัญชีของผู้ที่เป็นทีมของเราเข้ามาใช้แทน ซึ่งก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้อีกระดับหนึ่ง รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่ลิงค์นี้ 7 tips from Hootsuite

3. แชร์เรื่องราวที่ค่อนข้าง “ส่วนตัว” จนเกินไป

การแชร์เรื่องราวต่างๆที่สะท้อนแบรนด์หรือ เรื่องที่ทำให้แบรนด์ดูเป็นคนมากขึ้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะช่วยให้แบรนด์เรามีบุคลิกและความโดดเด่นเมื่อเทียบกับคู่แข่ง แต่ถ้าหากว่าเรื่องราวที่แชร์ออกไปนั้น เนื้อหาค่อนข้างเป็นส่วนตัว หรือเป็นประเด็นเซนซิทีฟมากไปก็ไม่ใช่เรื่องดี เช่น ความเชื่อ, ศาสนา, การเมือง เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ค่อนข้างอ่อนไหวต้องระวังมาก และโดยปกติแล้วมักจะส่งผลเสียต่อแบรนด์โดยตรงมากกว่าผลดี

4. ไม่มีคอนเทนต์ที่เป็นของตนเอง

แบรนด์ต้องเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการด้วยตนเองเพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งคอนเทนต์เหล่านี้ไม่ใช่การนำเนื้อหาจากที่อื่นมาดัดแปลงเป็นของตนเอง เพราะท้ายที่สุดแล้วคนก็จะเลือกตามสิ่งที่เป็น Original ยิ่งถ้าแบรนด์ของเรามีเป้าหมายว่าจะเป็นผู้นำด้วยแล้ว การผลิตคอนเทนต์ด้วยตัวเองจริงๆเป็นสิ่งที่แบรนด์จำเป็นต้องทำ

5. โดนขโมย Hashtag ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

# หรือ hashtag เป็นเทคนิคที่ดีเพราะมีการพิสูจน์แล้วว่า คอนเทนต์ที่มีการใช้ # นั้นโดยเฉลี่ยแล้วได้ผลตอบรับที่ดีกว่าไม่ได้ใช้ จากลูกค้า ทั้งนี้แบรนด์ที่ต้องการสร้างลูกเล่นด้วยการใช้ # มีข้อควรระวังก็คือว่า หากทำแคมเปญหรือนำมาใช้ควรจะกำหนดคำที่เป็น # ให้ค่อนข้างมีความเฉพาะและตรงกลุ่มเป้าหมายจริงๆ มีเคสตัวอย่างที่เป็นข้อผิดพลาดของต่างประเทศก็คือ แบรนด์หนึ่งมีการทำแคมเปญให้คนมาแชร์เรื่องราวของตนที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์ คนก็มาร่วมแคมเปญเต็มไปหมดแต่กลายเป็นว่าส่วนใหญ่มาแชร์ประสบการณ์แย่ๆที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์นั้น และติด # ที่แบรนด์กำหนดไว้ด้วย ทำให้กลายเป็นกระแสแชร์เรื่องราวแย่ๆไปในที่สุด

6. ลงทุนกับ Like หรือปั๊มผู้ติดตามปลอมๆ

สิ่งที่แบรนด์ต้องการที่สุดไม่ใช่จำนวนของผู้ติดตามแฟนเพจ แต่เป็นจำนวนคนที่สนใจแบรนด์จริงๆที่ติดตามแฟนเพจ เพราะคนที่สนใจแบรนด์จริงๆ เมื่อเข้ามาติดตามและเห็นคอนเทนต์ต่างๆแล้ว มีโอกาสที่จะเป็นกระบอกเสียงช่วยแชร์คอนเทนต์ของเราออกไปอีกระดับหนึ่ง ดังนั้นต้องกลับมามองว่า แคมเปญหรือโฆษณาที่เราทำออกไปนั้น เราได้ผู้ติดตามที่สนใจแบรนด์จริงๆใช่หรือไม่ หรือเป็นแค่จำนวนแค่นั้นแต่ไม่ได้มีคุณภาพใดๆ

7. ใช้ Social Media ทุกตัวแบบสักแต่ว่ามี

การใช้ Social Media หลายๆตัวไม่ใช่ไอเดียที่แย่ แต่สิ่งที่ควรทำควบคู่ไปด้วยก็คือการนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่การมีๆไปอย่างงั้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่ทำงานด้านกฎหมายอาจจะควรมี Facebook และ LinkedIn แต่คงไม่จำเป็นต้องมี Pinterest หรือ Snapchat เพราะหากว่ามีการวิเคราะห์ลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายระดับหนึ่ง เราก็อาจจะเห็นภาพแล้วว่า ลูกค้าจริงๆแล้วเขาใช้ Social Media ตัวไหนบ้าง และอยู่ที่ไหน ซึ่งเมื่อเข้าใจตรงนี้เราก็ใช้เฉพาะ Social Media ที่จำเป็นก็เพียงพอแล้วที่จะสื่อสารกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรา

8. แสปมโพสต์ต่างๆใส่ลูกค้า

แชร์คอนเทนต์สม่ำเสมอคือสิ่งดีที่ควรทำสำหรับแบรนด์ แต่ไม่ควรจะมากเกินไปจนน่ารำคาญ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นไปๆมาๆแทนที่ลูกค้าจะติดตามแบรนด์ก็จะอาจจะเลิกติดตามไปเลยก็ได้ ซึ่งจุดไหนที่เรียกว่า “มากเกินไป” นั้นค่อนข้างมีหลายปัจจัยที่ต้องคิด เช่น ลักษณะของแบรนด์ที่เราดูแล, ขนาดของแฟนเพจ, อัลกอริทึ่มของ Social Media ต่างๆ ฯลฯ ทั้งนี้ทาง Buffer ได้มีการทำสถิติแนะนำคร่าวๆไว้ว่าไม่เกินดังนี้

Twitter – 14 ครั้งต่อวันในธรรมดา , 7 ครั้งต่อวันในวันหยุด

Facebook – 2 ครั้งต่อวัน ได้ทุกวัน

LinkedIn – 1 ครั้งต่อวัน , วันหยุดไม่โพสต์

9. ไม่ใช่ Tools ในการช่วยบริหารจัดการ

ถ้ามี Social Media หลายตัว เราจะต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการบริหารจัดการทุกช่องทางในแต่ละครั้ง รวมไปถึงกรณีมีลูกค้าเข้ามาถามคำถาม ก็ต้องใช้เวลาในการเช็คและตอบคำถามมากเช่นกัน แต่ Tools บางตัวจะช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ได้ด้วยการรวบรวม Social Media ทุกตัวที่เราจำเป็นต้องดูแลให้เข้ามาอยู่ในระบบและภายในหน้าจอ Dashboard อันเดียว ซึ่ง Tools นั้นก็มีทั้งแบบเสียค่าบริการ และแบบฟรี(Feature จำกัด) อย่างในไทยตัวที่นิยมใช้กันเช่น Hootsuite ก็เป็น Free Tool ที่ทำได้ค่อนข้างครอบคลุม

10. ไม่มีการเก็บสถิติเพื่อวัดผลเรื่องต่างๆ เช่น จำนวนคนเข้าเว็บไซต์, เป้าหมาย, ROI

สิ่งที่แบรนด์ควรจะรู้อยู่ตลอดเวลาก็คือว่า ในตอนนี้ผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดขึ้นเข้าใกล้เป้าหมายมากแค่ไหนแล้ว และการตลาดที่ทำอยู่ยังมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่? เพราะจะทำให้แบรนด์ไม่หลงทางเวลาดำเนินการ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลบน Social Media ก็มีอยู่หลากหลาย เช่น Viralheat, Spredfast, Sysomos, Sprout Social, UberVU ฯลฯ หรือถ้าเป็นเว็บไซต์ก็มักจะใช้ Google Analytics ในการวัดผล

ก็หวังว่าจะเป็นไกด์ไลน์ให้กับผู้ที่ต้องดูแลแบรนด์ต่างๆเบื้องต้นได้ อย่างน้อยก็เป็น Checklists ที่น่าใช้ครับ

Source


แชร์ :

You may also like