HomeFoods - Lifeคุยกับ Dan Buettner ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิด Blue Zones ทำอย่างไรเราถึงจะมีอายุยืน 100 ปี อย่างมีความสุข

คุยกับ Dan Buettner ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิด Blue Zones ทำอย่างไรเราถึงจะมีอายุยืน 100 ปี อย่างมีความสุข

แชร์ :

ในยุคที่ผู้คนทั่วโลกกำลังตั้งคำถามกับ “ชีวิตที่ดี” ว่าควรมีลักษณะเช่นไร สุขภาพควรมาก่อนหรือความสุขควรเป็นเป้าหมาย Dan Buettner กลับเลือกมองชีวิตผ่านเลนส์ที่แตกต่าง เขาไม่ได้มุ่งหาเคล็ดลับที่วัดได้จากยา อาหารเสริม หรือเทคโนโลยีทางการแพทย์ หากแต่ค้นหา “สูตรชีวิต” จากผู้คนที่มีอายุยืนยาวที่สุดในโลก และนี่คือจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เรียกว่า “Blue Zones”

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จุดเริ่มต้นของนักผจญภัย และเจ้าของสถิตกินเนสบุ๊ค

Dan Buettner เกิดเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1960 ที่เมือง St. Paul รัฐ Minnesota สหรัฐอเมริกา เขาเติบโตมาในครอบครัวธรรมดา ที่เขาเล่าว่า พ่อชอบพาออกไปผจญภัยอยู่บ่อยๆ นั่นทำให้เขาและน้องชายเคยสร้างชื่อจากการปั่นจักรยานรอบโลกเพื่อบันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมมนุษย์ให้กับนิตยสาร National Geographic รวมทั้งสร้างสถิติผู้ที่ปั่นจักรยานเป็นระยะทางไกลที่สุด ถึง 2 สถิติ ในขณะเดียวกันการเดินทางของเขา และพบปะผู้คน เรียนรู้ความแตกต่างหลากลายบมากมาย ก็ทำให้เกิดคำถามหนึ่งที่ฝังใจเขามาตลอด ว่า 

“ทำไมบางคนถึงมีชีวิตยืนยาวกว่าใคร?”

จากความสงสัยนั้นพาเขาและทีมนักวิจัย ร่วมมือกับ National Geographic และนักวิทยาศาสตร์จากหลายประเทศ ออกเดินทางเพื่อสังเกตชีวิตในชุมชนที่ผู้คนมีอายุเกิน 90–100 ปีเป็นเรื่องปกติ จุดหมายของเขาไม่ใช่แค่ค้นหาว่าพวกเขากินอะไร แต่รวมไปถึงวิธีคิด ความสัมพันธ์ พฤติกรรมประจำวัน และโครงสร้างสังคม โดยการที่มีชีวิตอยู่ 100 ปี ต้องเป็นการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข และหลังจากศึกษาอย่างจริงจังเขาจึงค้นพบผลลัพธ์ ที่เขาสรุปออกมาเป็นแนวคิดที่เรียกว่า Blue Zones บนพื้นที่ 5 แห่ง ที่ประชากรมีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวกว่าค่าเฉลี่ยโลก และยังมีคุณภาพชีวิตดีเยี่ยม

ทำความรู้จัก 5 จุดหมายแห่ง Blue Zones

Dan Buettner และทีมของเขาระบุ 5 แห่งหลักที่เป็นต้นแบบของ Blue Zones ได้แก่:

  1. Okinawa, Japan – ผู้สูงอายุมีบทบาททางสังคมจนถึงบั้นปลายชีวิต และยึดหลัก Ikigai หรือ “เหตุผลในการตื่นขึ้นมาทุกวัน” นอกจากนี้เขายังค้นพบว่าลักษณะบ้านของชาวญี่ปุ่นที่นั่งลงกับพื้นบ้าน ก็ช่วยให้ผู้คนได้ออกกำลังกายคล้ายท่าสควอท ในแต่ละวันนับสิบครั้ง ส่วนเรื่องอาหารชาวโอกินาวาส่วนใหญ่จะกินอาหารให้รู้สึกอิ่มแค่ 80% โดยจะเน้นไปที่อาหารจำพวกผัก ปลา และอาหารทะเล รวมถึงอาหารที่ทำมาจากถั่วเหลือง เช่น ซอสถั่วเหลือง ซุปมิโซะ เต้าหู้ เต้าเจี้ยว และถั่วหมัก อีกทั้งยังดื่มน้ำต่อวันมากกว่า 2 ลิตร
  2. Sardinia, Italy – กลุ่มผู้ชายที่มีอายุยืนที่สุดในโลก ด้วยอาหารพื้นบ้าน ไวน์แดง ที่เรียกว่า Cannonau ซึ่งมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์มากกว่าไวน์อื่นๆ ในมื้อเย็น โดยปริมาณที่ดื่มต่อวัน ผู้ชายจะดื่มไม่เกิน แก้ว และผู้หญิงดื่มไม่เกิน แก้ว รวมถึงใช้เวลากินข้าวมื้อละประมาณ 30 นาที เพื่อให้ไม่มีความเร่งรีบ และมีความสุขกับการกินมากที่สุด และวิถีชีวิตแบบชุมชน
  3. Nicoya Peninsula, Costa Rica – วิถีเรียบง่าย เชื่อมโยงกับธรรมชาติ อาหารพื้นถิ่น และการมีจุดมุ่งหมายในชีวิต คนในพื้นที่นี้นิยมกินข้าวโพด และถั่ว โดยไม่นิยมกินอาหารจำพวกแปรรูป จำกัดการกินอาหารมื้อเย็นในปริมาณน้อย โดยเป็นวัฒนธรรมการกินที่มาจากชนเผ่าตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งยังดื่มน้ำในปริมาณมาก ซึ่งน้ำในแถบนิโคยาจะมีแคลเซียมสูง จึงช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยที่มาจากกระดูกได้
  4. Ikaria, Greece – อัตราผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและสมองต่ำที่สุดในโลก เชื่อมโยงกับอาหารเมดิเตอร์เรเนียนและการพักผ่อนที่เหมาะสม โดยทั่วไปชาวอิคาเรียนมักกินพืชประเภทฟัก และผักใบเขียว ที่ปลูกเองตามบ้านเรือน เน้นดื่มนมแพะมากกว่านมวัว รวมถึงยังมีการดื่มชา และไวน์สูตรเฉพาะที่อิคาเรีย เพราะเป็นเครื่องดื่มที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะชอบกินน้ำผึ้งครั้งละ ช้อน ในช่วงตอนเช้า และตอนเย็นด้วย 
  5. Loma Linda, California, USA – ชุมชนของชาว Seventh-day Adventists ที่มีแนวทางการใช้ชีวิตเรียบง่าย งดเนื้อสัตว์ และให้คุณค่ากับวันพักผ่อน


Blue Zones ไม่ใช่แค่พื้นที่ แต่คือ “ระบบนิเวศแห่งชีวิต”

สิ่งที่ Dan Buettner ค้นพบไม่ใช่แค่สถิติอายุยืน หากแต่เป็น “ระบบ” ที่เอื้อให้มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย
Blue Zones ไม่ใช่ผลลัพธ์จากพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง แต่เกิดจากการผสานกันของหลายปัจจัย เช่น

  • การมี เป้าหมายในชีวิต (Purpose)
  • การ เดินหรือเคลื่อนไหวตามธรรมชาติทุกวัน
  • การมี เครือข่ายสังคมที่แน่นแฟ้น ด้วยเพื่อนที่มีแนวคิดคล้ายกัน 
  • การ บริโภคอาหารจากธัญพืชเป็นหลัก
  • การใช้ชีวิตอย่าง เรียบง่าย มีจังหวะช้าลง
  • การ ไม่แยกผู้สูงอายุออกจากสังคม
  • การอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดยปกติร่างกายของคนเราควรนอนหลับพักผ่อนให้ยาว 7-8 ชั่วโมงต่อวัน อาจนอนก่อน 4 ทุ่ม หรือไม่เกินเที่ยงคืน โดยไม่ตื่นกลางดึก และไม่ใช้ยานอนหลับ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเคล็ด(ไม่)ลับของ “การงีบระหว่างวัน” เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก็มีส่วนช่วยให้สมองได้พักผ่อน

จากหนังสือสู่สารคดี Netflix: Blue Zones 

Dan Buettner ต่อยอดงานวิจัยของเขาผ่านหนังสือหลายเล่ม เช่น “The Blue Zones” (2008), “Thrive” (2010), “The Blue Zones of Happiness” (2017) และ “The Blue Zones Challenge” (2021) ทั้งหมดล้วนสะท้อนแนวคิดที่เขาศึกษามานานนับสิบปี

ในปี 2023 เขาได้นำองค์ความรู้สู่คนทั่วโลกผ่าน สารคดี Netflix เรื่อง “Live to 100: Secrets of the Blue Zones” สารคดีชุดนี้ไม่เพียงพาเราท่องไปยังทั้ง 5 พื้นที่ Blue Zones แต่ยังชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่เมืองหรือประเทศใดๆ ก็สามารถสร้าง Blue Zone ของตนเองได้ หากเปลี่ยนมุมมองเรื่อง “สุขภาพ” จากการรักษา มาเป็นการออกแบบ “วิถีชีวิต”

 

การออกแบบเมือง ช่วยดีไซน์การใช้ชีวิต และระบบเศรษฐกิจ

แนวคิด Blue Zones ไม่ได้หยุดแค่ในแวดวงสุขภาพ แต่ยังส่งผลต่อการออกแบบธุรกิจ เมือง นโยบายสาธารณะ Dan ก่อตั้งบริษัทชื่อ Blue Zones LLC ซึ่งเข้าไปให้คำปรึกษากับเทศบาลเมืองในสหรัฐอเมริกา เพื่อออกแบบ “ชุมชนสุขภาพดี” โดยอิงกับหลัก Blue Zones ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบถนนให้เดินสะดวก การส่งเสริมการปลูกผักท้องถิ่น หรือการสร้างกิจกรรมระหว่างผู้คนต่างวัย นอกจานี้เขายังเข้าไปเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนหลายแห่ง เพื่อสร้างสรรค์นโยบายของบริษัทให้เอื้อกับการมีสุขภาพที่ดีของพนักงาน 

หลายบริษัททั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจอาหาร เฮลท์แคร์ และอสังหาริมทรัพย์ เริ่มนำแนวคิด Blue Zones ไปใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ การตลาด หรือแม้แต่การโปรแกรมให้กับองค์กร เขาเชื่อว่าการออกแบบชีวิตที่ยั่งยืนไม่ใช่การตั้งเป้าเป็นรายบุคคลอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยการร่วมมือของครอบครัว ชุมชน องค์กร และรัฐบาล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีชีวิตที่มีคุณภาพ เพราะว่าการมีสุขภาพที่ดีจะช่วยให้ปัจเจกบุคล ไปจนถึงระดับรัฐไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรในการดูแลรักษาสุขภาพ ขณะเดียวกันผู้สุงอายุก็ยังมีคุณค่า เช่น ช่วยดูแลเด็ก 

สิงคโปร์ คือ New Blue Zone

นอกจากนี้ เขายังได้มีโอกาสเข้าไปพูดคุยกับผู้นำของหลายๆ ประเทศ นั่นทำให้เขาเข้าถึงแนวคิดที่มาของนโยบายบางประเทศ เช่น “สิงคโปร์” ที่ Dan ค้นพบว่าอาจจะเป็น New Blue Zone ด้วยนโยบาบที่ให้ความสำคัญกับ “คน” มากกว่า “รถ” ทำให้การออกแบบเมืองสอดคล้องการใช้ชีวิตของผู้คนที่สามารถเข้าถึง “ขนส่งสาธารณะ” ในระยะ 300 เมตร ซึ่งถือว่าเดินได้ ตัวตึกเองก็มีร่มเงา อีกทั้งยังพยายามเก็บภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลให้มีราคาสูง เพื่อนำงบประมาณที่ได้มาไปพัฒนาขนส่งมวลชน

นอกจากนี้เรื่องของอาหารก็กระตุ้นให้พลเมือง กินหวาน และเค็มน้อยลง ด้วย Sugar และ Sodium Tax ทั้งหมดนี้ทำให้ ประชากรสิงคโปร์มีอายุเฉลี่ย 86 ปี ซึ่งถือว่าสูงขึ้น จากเดิม 65 ปี และในปัจจุบันนี้สิงคโปร์ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจต่ำที่สุดในโลก


แชร์ :