HomeBrand Move !!ชายสี่ฯ ท้าชน “ทองสมิทธ์” ส่ง “เสือร้องไห้” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชื่อดังจากอยุธยาขึ้นห้างฯ เล็งปัดฝุ่นแบรนด์ในเครือฯลุยขายแฟรนไชส์เพิ่ม

ชายสี่ฯ ท้าชน “ทองสมิทธ์” ส่ง “เสือร้องไห้” ร้านก๋วยเตี๋ยวเรือชื่อดังจากอยุธยาขึ้นห้างฯ เล็งปัดฝุ่นแบรนด์ในเครือฯลุยขายแฟรนไชส์เพิ่ม

แชร์ :

ไม่ใช่แค่ธุรกิจแฟรนไชส์ชายสี่ คอร์ปอเรชั่นเปิดแนวรบร้านอาหารปี 2568 ทุ่ม 300 ล้านบาท ผนึกพาร์ทเนอร์ลุยขยายสาขาทั้งในนอกห้างฯ พร้อมปัดฝุ่นแบรนด์ในเครือโฉมใหม่สร้าง Brand Love และการเติบโตระยะยาวสู่การเป็นสตรีทฟู้ดมหาชน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด คือบริษัทเจ้าของร้านบะหมี่เกี๊ยวรถเข็นริมถนน “ชายสี่ หมี่เกี๊ยว” ที่ประสบความสำเร็จมากว่า 30 จนวางแผนที่จะเปิดขายหุ้น IPO ภายในปี 2569-2670  ก้าวใหม่ในฐานะ ชายสี่ คอร์ปอเรชั่นฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น จึงมาพร้อมความตั้งใจขยายสู่ธุรกิจอาหาร มุ่งสู่ความเป็นสตรีทฟู้ดมหาชน โดยปัจจุบันสามารถก้าวสู่ท็อป 3 กลุ่มสตรีทฟู้ดที่ผู้บริโภคนึกถึง (Brand Love)

คุณอนุชิต สรรพอาษา กรรมการผู้จัดการบริษัท ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่าการอยู่บนธุรกิจแฟรนไชส์ทั่วไปทำให้ไม่เติบโตเร็วได้ดั่งใจ บวกกับ 30 ปีที่ผ่านมา ตามถนนส่วนใหญ่เห็นแต่บะหมี่เกี๊ยวเป็นส่วนใหญ่ แต่ตอนนี้การแข่งขันเปลี่ยนไปตลาดร้านอาหารมีเพื่อนเล่นเยอะขึ้น หลายเซกเมนต์มากขึ้น บริษัทจึงต้อง Transform ตัวเอง  เป็นเจ้าแห่งสตรีทฟู้ดหรือความเป็นสตรีทฟู้ดมหาชนแทน

การทำธุรกิจยุคใหม่ของชายสี่ฯ จึงไม่ใช่แค่เรื่องของการขยายสาขาอีกต่อไป หากแต่คือเรื่องของกลยุทธ์ Digital Transformation ด้วยการนำ Data Analysis หรือเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาร้านและมีเมนู โดยนำข้อมูลจากเครื่อง POS มาเก็บ DATA เพื่อดีไซน์เมนูตามความต้องการ หรือตามจำนวนที่ลูกค้าสั่งมากที่สุด

 

เปิดตัวก๋วยเตี๋ยวเรือ เสือร้องไห้ร้านดังจากอยุธยาขึ้นห้างฯ ท้าชนแบรนด์ดัง

ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงของสตรีทฟู้ดเมืองไทยที่มีปัจจัยความท้าทายมากมายให้ต้องบริหารจัดการ ตั้งแต่เรื่องคู่แข่ง ตลอดจนราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการแบบรัดกุมให้มากที่สุด โดยไม่ทิ้งเรื่องของคุณภาพแต่อย่างใด 

คุณอนุชิต บอกว่า จากปัจจัยด้านความท้าทายทั้งหมดที่เกิดขึ้น ทำให้แผนงานนับจากนี้ทางบริษัทจะเน้นการดำเนินงานที่ครอบคลุมแบบรอบด้านมากขึ้นทั้งในส่วนของธุรกิจแฟรนไชส์และการขยายสาขาร่วมกับพาร์ทเนอร์  โดยแผนปีหน้าจะชะลอแผนกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์แต่จะไปโฟกัสธุรกิจร้านอาหารและเทรดดิ้ง

 

 

โดยเฉพาะในส่วนของการขยายสาขาร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่จะมีมากขึ้น ล่าสุดเปิดตัวร้าน ก๋วยเตี๋ยวเรือ เสือร้องไห้ก๋วยเตี๋ยวเรือพรีเมียมที่ชูเนื้อวัวพันธุ์ไทยวากิว  เปิดให้บริการสาขาแรกในกรุงเทพฯ ณ เซ็นทรัล อีสต์วิลล์ ชั้นซึ่งเป็นสาขาที่ 2 หลังจากประสบความสำเร็จจากสาขาดั้งเดิมที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนที่จะวางแผนขยายเพิ่มอีก 4 สาขาในปี 2568

การเปิดตัวในครั้งนี้ได้นำเสนอความเป็นอยุธยาที่ไม่ซ้ำใคร ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Taste of The Strongest” ทั้งการออกแบบร้าน และบรรยากาศโดยรวม อีกทั้งเปิดตัวเมนูใหม่ “Ayutthaya The Series” เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านได้สัมผัสรสชาติแห่งอยุธยาร่วมสมัยที่ไม่มีใครเหมือน เป็นเมนูที่ได้แรงบันดาลใจจากกุ้งเผาอาหารขึ้นชื่อของอยุธยา จับคู่กับเมนูซิกเนเจอร์ของร้านอย่างข้าวผัดก๋วยเตี๋ยวเรือกลายเป็นคู่มื้ออาหารที่พิเศษจนได้ชื่อว่าเป็นผู้คิดค้นสูตรเด็ดเจ้าแรกแห่งสยามประเทศ 

 

“แม้ปีหน้ากลุ่มคนที่เงินเดือนคต่ำกว่า 30,000 จะระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งการส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อในตลาดระดับกลาง แต่เราวางคุณภาพของแบรนด์ไว้ในระดับพรีเมียมที่มีราคาตั้งแต่ 100-1,000 บาทขึ้นไป เมื่อบวกกับทำเลย่านเลียบด่วนรามอินทรา ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยของกลุ่มผู้บริโภคที่มีกำลังการใช้จ่ายสูง มีหมู่ล้านระดับหลัก 10 ล้านบาทขึ้นไปอยู่มากมายเชื่อว่าแบรนด์จะประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีคุณอนุชิตกล่าว

 

กางแผนปี 2568 ปีแห่งการ Revamp เตรียมปัดฝุ่นแบรนด์ในเครือ ลุยขายแฟรนไชส์เพิ่ม

ด้านแผนงานในปี 2568 จะเป็นปีที่ทางบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาคุณภาพของแบรนด์ เพื่อสร้างการเติบโตของร้านอาหารแต่ละแบรนด์มากขึ้น โดยจะเป็นปีแห่งการ Revamp พอร์ตโฟลิโอทั้งหมด ภายใต้งบลงทุน (ทั้งปี) ราว 300 ล้านบาท  ซึ่งจะเป็นการนำแบรนด์ในเครือมาปัดฝุ่นพัฒนาโปรดักต์ใหม่ นำไปสู่การขายแฟรนไชส์ในแบรนด์ใหม่ๆ เช่น แบรนด์พันปีหมี่เป็ดย่าง เพื่อให้สัดส่วนแบรนด์ลูกขยับขึ้นมาเป็น 20% ของพอร์ต จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 10% แบรนด์ลูกนำมาปัดฝุ่นจัดพอร์ตใหม่

นอกจากนี้ยังจะมีการขยายเข้าไปในเซกเมนต์ใหม่ๆ ด้วยการเป็นพาร์ทเนอร์ (เข้าไปถือหุ้น) กับแบรนด์อื่นๆเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารญี่ปุ่น ร้านกาแฟ ร้านยำ ร้านอาหารอีสาน เป็นต้น

คอนเซ็ปต์การซื้อแบรนด์คือ เจ้าของเดิมจะต้องสนุกกับในการทำแบรนด์ต่อ ไม่ใช่คิดจะขายทิ้ง โดยชายสี่มีหน้าที่ดูแลซัพพอร์ตระบบหลังบ้าน Owner มีหน้าที่ดูแลระบบหน้าบ้านให้ดี เพื่อสร้างการเติบโตไปด้วยกัน

 

 

ลงทุนสาขาบุคลากรหัวใจสำคัญเร่งโตธุรกิจอาหารยุคใหม่

อีกประเด็นที่ชายสี่ฯให้ความสำคัญคือการขยายสาขาร่วมกับพาร์ทเนอร์ในการสร้างการเติบโตร่วมกัน โดยบริษัทจะเข้าไปช่วยในการขยายสาขาให้ครอบคลุมให้มากที่สุด และช่วยในการบริการจัดการต้นทุน โดยปีหน้าจะได้เห็นการขยายสาขาจาก 3 แบรนด์พาร์ทเนอร์ ทั้ง ก๋วยเตี๋ยวเรือ เสือร้องไห้  ,BRIX Dessert Bar และหมูสองชั้น หมูกระทะ

Core Value ประการต่อมาของการดำเนินธุรกิจ คือการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยสิ่งที่ชายสี่ฯคำนึงถึงคือไม่เคยประหยัดเงินในการบริหารคน นั่นคือการลงทุนกับคน (บุคลากร) เพราะเชื่อว่าหากคนมีคุณภาพองค์กรก็จะเดินได้ดี

ปัจจุบัน ชายสี่ คอร์ปอเรชั่น ได้ขยายพอร์ตร้านอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยมีแบรนด์ของตัวเอง 7 แบรนด์ ได้แก่ ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว ,ชายสี่พลัส ชายสี่โกลด์, ลูกชิ้นทอด OMG, ชายใหญ่ข้าวมันไก่,พันปีหมี่เป็ดย่าง และไก่หมุนคุณพัน และพาร์ทเนอร์อีก 3 แบรนด์ ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้ (ร้านดังอยุธยา) ,BRIX Dessert Bar และ หมูสองชั้น หมูกระทะ มีสาขารวมกันทั้งหมด เกือบ 5,000 สาขา แบ่งกลุ่มธุรกิจออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 

  • ธุรกิจร้านอาหารสตรีทฟู้ด-แฟรนไชส์ ทั้ง 7 แบรนด์  มีสัดส่วนรายได้ 90% โดยในกลุ่มแฟรนไชส์ทั้งหมดรายได้จากชายสี่หมี่เกี๊ยว 85%  
  • ธุรกิจร้านอาหารในช่องทางรีเทลร่วมกับพาร์ทเนอร์  ได้แก่แบรนด์ก๋วยเตี๋ยวเรือเสือร้องไห้ (ร้านดังอยุธยา) ,BRIX Dessert Bar และ หมูสองชั้น หมูกระทะ สัดส่วนรายได้ 7%
  • ธุรกิจเทรดดิ้ง  สัดส่วนรายได้ 3%

จากแผนงานทั้งหมดทำให้คาดการณ์ว่าสิ้นปี 2567 นี้ชายสี่ คอร์ปอเรชั่นจะปิดรายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่ราว 1,200 ล้านบาท 

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE

อ่านเพิ่มเติม


แชร์ :

You may also like