HomeBrand Move !!ฟัง “สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์” มุมมองใหม่ SDGs กับการสร้าง Impact Transparency สู่องค์กรยั่งยืนในสังคม

ฟัง “สกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์” มุมมองใหม่ SDGs กับการสร้าง Impact Transparency สู่องค์กรยั่งยืนในสังคม

แชร์ :


ในยุคที่ SDGs (Sustainable Development Goals) เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินธุรกิจหลายองค์กรต่างมุ่งแสวงหาแนวทางความยั่งยืนตามแบบฉบับของตัวเอง ในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมาย  ทว่าบนเส้นทาง “SDGs” ยุคใหม่ ที่หลายฝ่ายต่างออกมาขับเคลื่อน…..เกิดเป็นคำถามว่า บนการเปลี่ยนแปลงกับสิ่งที่ตั้งใจทำนั้น ดีจริงหรือไม่?

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เพื่อตอบคำถามดังกล่าว BrandBuffet จึงเชิญหนึ่งในกูรูคนสำคัญ “คุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์” เลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย และ B Corp Thailand Movement Leader มาร่วมเสวนาในงาน ESGNIVERSE 2024 :  Real – World of Sustainability กับหัวข้อ : Impact Transparency วัดผลได้ ขยายผลดี เร่งเป้า SDG สู่ความยั่งยืนในสังคม

 

 

เป้าหมาย SDGs กับสถานการณ์ปัจจุบันบนความท้าทายของ “ผู้บริโภค” จะไปกับองค์กรอย่างไร

คุณสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ เริ่มฉายภาพถึงสถานการณ์ SDGs ในยุคที่หลายองค์กรเริ่มดำเนินแผนงานความยั่งยืน หลายหน่วยงานเร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว  ภายใต้กรอบของสหประชาชาติในประเทศไทยมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  บนเส้นทางของการสร้างความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เกิดเป็นคำถามว่า….. หลายสิ่งที่องค์กรตั้งใจทำดีนั้น ดีจริงหรือไม่ และแนวทางที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไรต่อไป

“การทำ SDGs อาจจะมีทั้งดีและไม่ดี ถูกต้องหรืออาจจะผิดวิธี แต่อยู่ที่ว่าจะเลือกสื่อสารแบบไหนในการสร้างความเข้าใจที่ดีระหว่างองค์กร ผู้บริโภค บนความยั่งยืน ทำให้กลายเป็นเรื่องราวร้อนแรงมากขึ้นหลังเรื่องของ SDGs ถูกพูดถึงมากขึ้นในสังคม”

ดังนั้นองค์กรต้องมีมุมมองการบริหารจัดการความตั้งใจดี บน 3 ประเด็นหลัก อันประกอบไปด้วย 1.Why 2.How 3.What มาประกอบกันเพื่อสร้างความครบครันของการดำเนินงาน งานภายใต้ Sustainable Development Goals (SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย และมุ่งบรรลุให้ได้ภายในปี 2030 เป้าหมายดังกล่าวได้รับการตอบรับอย่างดีจากประเทศสมาชิก และมีทั้งหมด 193 ประเทศร่วมลงนามรับรองรวมถึงไทยด้วย

นับตั้งแต่เริ่มดำเนินงานในปี 2015 ในการนำเรื่องของ SDGs มาเป็นเกณฑ์การพัฒนากำหนดทุกประเทศสมาชิกของสหประชาชาติได้ตกลงกันไว้เพื่อเป็นหลักประกันร่วมกันในอนาคต จวบจนปัจจุบันผ่านมาแล้วกว่าครึ่งทาง มีเพียง 3 ประเทศ (ที่ร่วมลงนามความยั่งยืนบนแนวทาง SDGs ) ที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ประเทศที่เหลือจำเป็นต้องตั้งคำถามว่า “บนเรื่องราว SDGs 17 ข้อ” สามารถทำผลงานแตะเป้าเกิน 50%  หรือยัง?

 

 “Why-How -What” 3 คำถามเพื่อเดินทางให้ถึงเป้าแห่งความยั่งยืน

เริ่มที่คำถาม Big Why ว่าเรากำลังเดินสู่จุดความเสี่ยงที่มีอันตรายของสถานการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืนหรือไม่ หลังจากปี 2015 ที่เริ่มรู้ตัว จวบจนหลังโควิดในปี 2024 เริ่มดีขึ้น (หลังชะงักไปช่วงโควิด) ซึ่งเป็นครึ่งทางของเป้าหมายตามพันธสัญญา ทำให้เส้นทาง SDGs เหลือเวลาเพียง 6-7  ปีเท่านั้น  ในการบรรลุเป้าหมายในปี 2030 หลายองค์กรทั่วโลกทุ่มงบประมาณเพื่อมุ่งไปที่ SDGs ด้วยการทุ่มงบต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมาย

เกิดเป็นแนวทาง SDGs ในยุคหลังโควิด ถึงสถานการณ์เป้าหมาย SDGs ท่ามกลางความท้าทายในการเลือกเดินของผู้บริโภคจะไปกับองค์กรอย่างไร และจะเลือกซื้อสินค้าบริการที่เกิดจากต้นตอความยืนยืนมากน้อยขนาดไหน…โดยเฉพาะในภาคธุรกิจ SMEs ในไทย ที่ต้องยอมรับว่ายังห่างไกลเรื่องแนวทางเพื่อความยั่งยืนอยู่ โดยเฉพาะในเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 13 การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ยกตัวอย่าง ปัญหาโลกร้อน กระทบต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจเป็นที่เรียบร้อย ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจกาแฟที่มีปัญหาเรื่องเพาะปลูกจากสภาพอากาศ 

จากปัญหาที่ประสบทำให้ต้องมีการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ เพื่อฝ่าฟันปัญหา และสะท้อนสิ่งดีๆไปยังรุ่นลูกหลาน ธุรกิจยุคใหม่จำเป็นต้อง “เปลี่ยน” เพื่อ “ความถูกต้อง” ด้วยการตั้งสมการที่เกี่ยวข้องในการทำในการทำธุรกิจใหม่ ไม่ว่าจะเป็น สมการคนเข้าเมือง สมการการศึกษา ฯลฯ ว่าถูกต้องหรือไม่ แน่นอนหากถูกปัญหาจะไม่เกิดขนาดนี้ โดยปัญหาสำคัญของระบบเศรษฐกิจประกอบด้วยปัญหาสองเรื่องที่ไม่ถูกทางในการพัฒนาโลก พัฒนาสังคม ได้แก่  1.เราเชื่อว่าเราสามารถสร้างการเติบโตได้ไม่จำกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง  2.การเติบโตเหล่านี้ไปตกผลประโยชน์อยู่ที่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ถึง 1% ที่ครอบครองสินทรัพย์มากกว่า 50% บนโลก

ทั้งนี้เพื่อเป็นการเปลี่ยนระบบในการสร้างความยั่งยืนระยะยาว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ สังคม โรงเรียน โดยไม่ใช่ผลประโยชน์ แต่คือการสร้าง Net Positive ที่สะท้อนความเป็นไป

“ถ้า Purpose ของเราไม่ใช่แค่ทำธุรกิจแค่เพื่อทำเลวน้อย หากแต่ธุรกิจต้องการสร้าง Purpose ทำสิ่งที่ดีๆ เพื่อสร้าง Net Positive Impact ที่ดีให้แก่โลกใบนี้ต้องทำอย่างไร ด้วยการกำหนดเป้าของการดำเนินธุรกิจองค์กรที่ถูกต้อง” คุณสกุลทิพย์ กล่าวถึงหลักการตั้งคำถาม

เปิด  5 คาแรคเตอร์ SDGs ธุรกิจที่ดี จาก “Financial Purpose” สู่  “Financial Value” 

อย่างไรก็ตามแม้แนวทาง SDGs จะเป็นแนวทางที่ดี แต่ต้องยอมรับว่าด้วยเป้าหมาย 17 ข้อ ทำให้ทุกองค์กรไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย พร้อมกันทั้งหมดได้ แต่จำเป็นต้องเลือก “ความเหมาะสม” ที่สอดคล้องกับ “องค์กร-ธุรกิจ” ของตัวเองมาเป็นแกนในการดำเนินงาน  ภายใต้องค์ประกอบหลัก 5 คาแรคเตอร์ธุรกิจที่ดีในการสร้างการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประกอบไปด้วย 

  1. การกำหนดเป้าหมาย  
  2. การมีธรรมาภิบาล
  3. การลุกขึ้นร่วมมือกันกับภาคีเครือข่าย
  4. สร้างซัพพลายเชนที่ดี ไม่ใช่แค่ในองค์กร แต่รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
  5. สินค้าและบริการที่ดี

มาตรฐานทั้ง 5 จึงถูกกำหนดมาเพื่อเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจทั้งหหมด ที่ไม่ใช่เรื่อง Social Business แต่คือการขับเคลื่อนธุรกิจทั้งหมด เพื่อเปลี่ยนจาก “Financial Purpose” เป็น “Social  Value”  หรือ “Non Social Purpose” โดยคำนึงถึงว่า Value และทักษะของบริษัทว่าจะช่วยอะไรที่ทำให้สังคมนั้นพัฒนาในทางที่ดีและเติบโตได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย  

 

สูตรการสร้าง Impact Transparency  สู่องค์กรยั่งยืนในสังคม

ทั้งหมดเพื่อใช้ Non Social Purpose ในการประเมินทำธุรกิจไม่ใช่แค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เพื่อทุกภาคส่วนร่วมกัน และต้องมองแบบ Long Term หรือวิธีการทำงานร่วมกันกับ Multistakeholder หลายภาคส่วน ทั้ง หน่วยงาน หรือองค์กรขนาดต่างๆ และมีการสร้าง SDGs เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการเดินทางเพื่อบรรลุเป้าหมายใหญ่ด้านความยั่งยืนจนขยายผลได้มากกว่าเดิม ตลอดจนการวัดผลงานที่ไม่ใช่แค่ KPI แบบดั้งเดิม แต่เป็นการวัดผลเพื่อใหเเกิดกลยุทธ์ใหม่ๆในการดำนเนินงานสู่นสร้างการดำเนินธุรกิจหรือ Value Chain ร่วมกัน โดยแยกคีย์เวิร์ดสำคัญผ่านมุมมอง  4 ประการได้แก่ 

  • Sustainable Development  คือ  การพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์บริบทต่างๆ ทั้งองค์กร สังคม และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • SDGs คือ ตัวชี้วัดขั้นต่ำในการสร้างความมั่นใจว่าโลกอยู่ได้  รักษาการเติบโตระบบเศรษฐกิจ ระบบสิ่งแวดล้อมโลก ผ่านการรักษาโลกใบนี้ไว้ 17 ประการ
  • ESG คือ แนวทางการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน มุ่งเน้นไปที่มูลค่าองค์กร / พอร์ตโฟลิโอ  ทั้งสิ่งแวดล้อม บริบทต่างๆในการบริหารความเสี่ยงขององค์กร ผ่านตัวชี้วัดที่ทำให้องค์กร หรือนักลงทุนมั่นใจในการลงทุน
  • IMPACT คือ การเปลี่ยนแปลงที่ผู้คนและโลกได้รับจากองค์กร โดยรอบผ่าน Stakeholde เป็นหลักว่าพวกเขาเหล่านั้นได้รับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือไม่ โดยมองจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคม ชุมชน ในการดำเนินการผ่านความสัมพันธ์ทางธุรกิจ


อย่างไรก็ตามจากกรอบดังกล่าว พบว่า Impact Transparency  สามารถวัดได้ดังนี้ 72% องค์กรเริ่มมองผลกระทบกับ SDGs โดยเร่ิมสร้างเป้าหมายข้อใดข้อหนึ่งใน 17 ข้อ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างงาน การศึกษา การให้ความสำคัญสิ่งแวดล้อมฯลฯ  แต่มีเพียง 25% ที่มีกลยุทธ์ มีสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับ SDGs เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี และ 14% มีการพูดถึงเป้าหมาย โดยมีการกำหนดเป้าหมายในแต่ละเรื่องอย่างจริงจัง และมีเพียง 1% ที่มีการวัดผลเชิงปริมาณและการรายงานความคืบหน้า

แม้จะมีการวัดผลอย่างจริงจังแต่เรื่องนี้ยังไม่สามารถเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน จึงจำเป็นต้องสร้างมาตรฐานเดียวกันในการสร้างผลที่เกิดขึ้น เพื่อให้มองว่าเรื่องของ Impact Transparency เกิดขึ้นได้จริง ในรูปแบบรายงานติดตามโครงการต่างๆ (แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้จริงมากนัก เพราะอยู่ในช่วงการประเมิน) หรือมีการวัดผลเฉพาะส่วนที่ดีที่เกิดขึ้นในองค์กรเท่านั้น ทำให้ไม่เห็นผลชัดเจน เพราะองค์กรส่วนใหญ่มักจะวัดแต่เรื่องดีๆ 

ดังนั้นแนวทางการทำ SDGs จึงจำเป็นต้องมีการรายงานทั้งส่วนที่ดี และไม่ดีเพื่อมองหาทิศทางในการกำหนดแผนงานที่ถูกต้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายของการสร้างมูลค่าระบบ (ระยะยาว) โดยที่มูลค่าองค์กรหรือพอร์ตโฟลิโอยังคงอยู่และสร้างมูลค่าและความมีชีวิตอย่างต่อเนื่องของระบบนิเวศและสังคม โดยเคารพรากฐานทางนิเวศวิทยาและสังคมเกณฑ์ที่กำหนดความยั่งยืน

ผ่านองค์ประกอบ 4 ประการหลักที่ไม่ใช่แค่การวัดผล แต่คือ การมีกลยุทธ์ที่ดี การบริหารจัดการที่ดี การเปิดเผยข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ ดีและไม่ดี และสุดท้ายระบบการบริหารจัดการองค์กรตั้งแต่บอร์ด ผู้บริหาร คนทำงาน จนนำไปสู่กระบวนการวัดผลที่ดี

สุดท้าย “คุณสกุลทิพย์”  บอกว่าการทำธุรกิจบนแนวทาง SDGs ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 17 เป้าหมาย แต่ควรทำในข้อที่ถนัด และสร้างอิมแพคที่ดีให้แก่สังคมเศรษฐกิจ โดยมี 5 คาแรคเตอร์ SDGs เป็นสำคัญ

ติดตามพวกเราได้ที่ LINE

 

 


แชร์ :

You may also like