HomeSponsoredเปิดใจ “เสถียร เสถียรธรรมะ” แห่งคาราบาว ทำไมบุกตลาดเบียร์ด้วย “ตะวันแดง IPA” หลังจากเปิดตัว 4 ตัวแรกก่อนหน้านี้

เปิดใจ “เสถียร เสถียรธรรมะ” แห่งคาราบาว ทำไมบุกตลาดเบียร์ด้วย “ตะวันแดง IPA” หลังจากเปิดตัว 4 ตัวแรกก่อนหน้านี้

แชร์ :

หลังจาก “กลุ่มคาราบาว” เปิดตัวเข้าสู่ธุรกิจเบียร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา นับเป็นเวลาราว 5 เดือนที่ตลาดเบียร์มูลค่า 2.6 แสนล้านในประเทศไทย เผชิญหน้ากับการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบเกือบ 30 ปี เนื่องจากการประกาศของ คุณเสถียร เสถียรธรรมะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มคาราบาว ที่ลั่นว่าจะเป็นเบียร์ทางเลือกให้คนไทยได้รู้จักเบียร์ชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากลาเกอร์ที่คุ้นเคยมานาน ด้วยการเซอร์ไพร์ส เปิดตัวทีเดียว 4 รสชาติ 2 แบรนด์ “คาราบาว” และ “ตะวันแดง” พร้อมทั้งหงายไพ่มาตั้งแต่ต้น ว่าจะมีเบียร์รสชาติที่ 5 ตามมา และได้รับการขนานนามว่ากลุ่มคาราบาวจะเป็นเบียร์ขั้วที่ 3 ของประเทศ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กระทั่งนัดชิงชนะเลิศ คาราบาว คัพ 2023/24 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ระหว่าง เชลซี – ลิเวอร์พูล แฟนบอลคนไทยก็ได้เห็นป้ายโฆษณาภาษาไทยรอบสนามเวมบลีย์ ด้วยก็อปปี้ที่ง่ายแต่ติดตา “มีนานี้มีไอพีเอ” ต่อยอดการเข้าสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลที่ยิ่งใหญ่สุดลีกหนึ่งของประเทศอังกฤษ สิ้นสุดการรอคอยเบียร์ตัวที่ 5 ของคาราบาว

ทำความรู้จัก IPA

คุณเสถียรเริ่มต้นด้วยการเล่าถึงเบื้องหลังโปรดักต์นี้ว่า “ตั้งใจทำเบียร์ IPA ตั้งแต่ต้นและตั้งใจ launch IPA ออกมาพร้อมกับเบียร์ตัวอื่นๆ  แต่เพราะ ณ เวลานั้นตนยังไม่รู้จักเบียร์ IPA ดีพอ จึงอยากขอศึกษาให้มั่นใจว่า IPA ที่ทำออกมา จะเป็น IPA ที่เหมาะสมที่สุดกับเมืองไทย” นายใหญ่กลุ่มคาราบาวอธิบายต่อว่า “ตลอดช่วงที่ผ่านมาผมเรียนรู้เรื่องเบียร์มากขึ้น เพราะถ้าผมจะลงมาเล่นตลาดเบียร์ ผมต้องรู้จักตลาดและรู้จักเบียร์แต่ละชนิดให้มากที่สุดก่อนเปิดตัว” นั่นทำให้ตัวเขาเองตระเวนดื่ม IPA มากมายเวลาเดินทางไปต่างประเทศ รวมถึงประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศต้นตำรับ IPA และเมื่อทำงานร่วมกับ Brewmaster เขาก็ตัดสินใจว่า IPA นี่แหละ คือ เบียร์รสชาติที่ 5 ของกลุ่มคาราบาว เนื่องจากมีคาแร็กเตอร์ที่แตกต่างจากเบียร์ 4 รสชาติแรกที่ทำออกมา และต้องทำให้ IPA ที่ทำออกมาแตกต่างและเหมาะสมกับเมืองไทย ซึ่งเบียร์ 4 รสชาติแรก ประกอบด้วยแบรนด์ คาราบาว มี 2 รสชาติ ได้แก่ Lager Beer (เบียร์ลาเกอร์) และ Dunkel Beer (เบียร์ดุงเกล) ขณะที่แบรนด์ตะวันแดง เปิดตัว 2 รสชาติ ประกอบด้วย Weizen Beer (เบียร์ไวเซ่น) Rosé Beer (เบียร์โรเซ่)

สำหรับประวัติของ IPA หรือ India Pale Ale ถือกำเนิดขึ้นจากความบังเอิญก็ว่าได้ เมื่ออังกฤษ ต้องการส่งเบียร์ไปที่อินเดีย แต่ขั้นตอนและวัตถุดิบแบบเดิม ทำให้เบียร์เสียก่อนที่จะเดินทางทางเรือเป็นเวลา 6-8 เดือน นั่นทำให้ Brewmaster คนหนึ่งในทศวรรษที่ 1840 ต้องคิดค้นวิธีการที่จะทำให้เบียร์ยังคงรสชาติดีให้ได้ ถึงแม้จะเดินทางไกล ในสภาพแวดล้อมเช่นนั้น จึงใส่ฮอปส์เข้าไปเป็นจำนวนมากพอที่จะช่วยยืดอายุของเบียร์ จนเป็นที่มาของ IPA ที่ขึ้นต้นด้วยตัว I ก็มาจาก อินเดีย” (India) นั่นเอง

และเมื่อเป็นเบียร์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการเดินทางไกล นั่นทำให้ IPA เป็นเบียร์ที่โด่งดังในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากยุโรป โดยมีสหรัฐอเมริกาเป็นดินแดนที่มีการ Brew รสชาติของ IPA ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น แถมยังมีความหลากหลายอย่างมาก และด้วยเทคโนโลยีการผลิต องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อาหาร และความต้องการของนักดื่ม ก็ทำให้ IPA ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น Creative Beer มีการใส่วัตถุดิบมากมายเพื่อปรุงแต่งรสชาติและกลิ่น คาแร็กเตอร์ของเบียร์ชนิดนี้ จึงมีกลิ่นฮอปส์สูง มีรสชาติขมมากกว่าเบียร์ทั่วไป

จาก IPA สู่ ThaiPA เขย่าความเคยชิน ของนักดื่มไทย

คุณเดนนิส 1 ใน 3 Brewmaster ของแบรนด์เล่าถึงขั้นตอนการพัฒนาเบียร์ชนิดนี้ว่า “คุณเสถียรให้โจทย์กับทีมว่า ต้องการเบียร์ที่เหมาะสมกับตลาดเมืองไทย ทั้งเรื่องภูมิอากาศ และรสชาติที่เข้ากับคนไทย เบียร์ไม่แรงเกินไปด้วยวัฒนธรรมการดื่มของคนไทย ที่นั่งดื่มกับเพื่อนเป็นเวลานาน เราจึงคิดค้น IPA สไตล์แปซิฟิกขึ้นมาเป็นครั้งแรกของไทย ซึ่งเหมาะกับเมืองร้อนอย่างประเทศไทย โดยจุดเด่นคือ  มีกลิ่นหอม สดชื่น เน้นดื่มง่าย  สร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับตลาดเครื่องดื่มเมืองไทย ที่ผู้บริโภคมักติดภาพว่า IPA ดื่มยาก เพราะมีรสชาติขมนำและปริมาณแอลกอฮอล์สูง ให้หันมาลอง IPA จากแบรนด์ตะวันแดงเพิ่มขึ้น ด้วยราคาที่จับต้องได้ (กระป๋องเล็ก 45 บาท และกระป๋องใหญ่ 60 บาท)

ในสหรัฐอเมริกาเบียร์ IPA จะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ มีทั้ง IPA จากฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก แล้วทำให้ในประเทศไทยจะมีเบียร์ IPA ที่มีคาแร็กเตอร์เฉพาะตัว หรืออาจจะเรียกว่า ThaiPA เลยก็ได้”

เบียร์ IPA ของกลุ่มคาราบาว จะอยู่ภายใต้แบรนด์ “ตะวันแดง” (Tawandang) ซึ่งถือเป็นเบียร์คุณภาพระดับพรีเมียม แต่ราคาเข้าถึงคนไทยได้ง่าย ผลิตที่โรงผลิตเบียร์ที่จังหวัดชัยนาทของตัวเอง ด้วยเทคโนโลยีการผลิตมาตรฐานโลกจากเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด ด้วยงบลงทุน 4,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่สุด นับจากการลงทุนโรงสุราตะวันแดง1999 รวมถึงทุ่มงบการตลาดครั้งยิ่งใหญ่ในรอบ 20 ปีของคาราบาว

หลังจากเปิดตัวเบียร์ครบ 5 รสชาติ 2 แบรนด์ตามที่ตั้งใจไว้ กลุ่มคาราบาวคาดหวังว่าจะมีมาร์เก็ตแชร์รวมทั้งเครือ 10% ภายในสิ้นปี 2567 นี้ และที่สำคัญก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยให้รู้จักเบียร์หลากหลายขึ้น จนกลายเป็นทางเลือกให้กับคนไทย


แชร์ :

You may also like