HomePR Newsผนึกพลังสร้างบุคลากร “ยานยนต์ไฟฟ้า” รับเมกะเทรนด์โลกการทำงานแห่งอนาคต [PR]

ผนึกพลังสร้างบุคลากร “ยานยนต์ไฟฟ้า” รับเมกะเทรนด์โลกการทำงานแห่งอนาคต [PR]

แชร์ :

ในยุคที่เทรนด์และแนวโน้ม เรื่อง “Electrifying the Future : Green Skills Development for the EV Revolution 2024” กำลังเป็นกระแสที่มาแรงบนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของโลกกับโอกาสใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นเทรนด์แห่งอนาคตที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโลกของการทำงาน  ทั้งด้านพลังงาน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ทักษะของช่างเทคนิคต้องเพิ่มเติมความสามารถด้านทักษะทางไฟฟ้า ทักษะทางด้าน Software ทักษะด้าน Sensor และการควบคุม ทั้งการพัฒนาทักษะ Green Skill จึงเกิดขึ้น สำหรับนโยบาย Smart Green ก็สามารถนำไปสู่พนักงานที่มีทักษะและอนาคตที่ดีขึ้น ซึ่งรัฐบาลเองก็มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ Green Economy

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ดังนั้น 3 หน่วยงานหลักได้ผนึกพลังปั้นทักษะฝีมือแรงงาน “ยานยนต์ไฟฟ้า”  โดยความร่วมมือระหว่าง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษา ภายใต้เครือข่ายของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม หรือ depa และบริษัท บีวายดี เมโทรโมบิล จำกัด เพื่อเตรียมความพร้อมกำลังคนและบุคลากรของประเทศ ให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

รศ.ดร. จอมพงศ์ มงคลวนิช ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) กล่าวว่า ด้วยโลกยุคใหม่ทำให้ด้านการศึกษาเปลี่ยนมาก ทางด้านบรรดาผู้นำเศรษฐกิจระดับโลก เวิร์ลด์อีโคโนมิกฟอรั่มที่ดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ได้ร่วมกันโหวตใน 2 ประเด็นสำคัญที่เป็นความเสี่ยงสูงของโลก ก็คือเรื่องของอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง และทางด้าน  AI ที่อาจจะเป็นปัญหาอันตรายอย่างมากกับมนุษย์ชาติ

ทางสยามเทคตระหนักเรื่องนี้ จึงได้ร่วมกับดีป้าทำสองเรื่องหลักคือ Rebel Skill กับ Green Skill ด้วยว่าในเรื่องของซอฟท์แวร์ และแบบฟอร์มต่างๆ รวมทั้งระบบทางธุรกิจ ทั้งวิถีชีวิตของคนปรับเปลี่ยนไปหมดแล้ว ดังนั้นทุกคนก็มีความตระหนักรวมถึงว่าจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งของเราเองต้องพัฒนาระบบการศึกษา โดยให้ความสำคัญทางด้านเทคโนโลยี Digital Lab กับ Green Skill มากขึ้น ที่นี่จึงมีสาขาที่หลากหลาย ทั้งสาขาซอฟท์แวร์  ไอที คอมพิวเตอร์กราฟฟิก มาซัพพอร์ตในเรื่องส่วนนี้ และที่สำคัญทางด้านกรีนสกิล โดยปรับเปลี่ยนการเรียนรู้สาขาไฟฟ้าเป็นระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ และสำหรับทางด้านยานยนต์เรานำเทคโนโลยีด้าน Electrification ที่ถูกยกมาเป็นหัวใจสำคัญสู่ ‘ยานยนต์ไฟฟ้า’ พลังงานสะอาด ซึ่งจะตอบสนองต่อมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้เป็นอย่างดี 

ฉะนั้นการที่เรามุ่งเน้นตอบโจทย์เทรนด์ใหม่โลกการทำงานแห่งอนาคต เราก็ต้องติดตามเทรนด์ ผมคิดว่าคนรุ่นใหม่มีความจำเป็น เพราะจะมีตำแหน่งงานต่างๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแบตเตอร์รี่ การซ่อมบำรุง การผลิต การบริการ ทั้งซอฟท์แวร์ และโอโต้เมชั่นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชิ้นส่วนของอะไหล่ต่างๆ ถือเป็นโอกาสทองเลย และเราถือว่าเป็นที่แรกๆ ที่ได้มาทำในเรื่องพวกนี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ และทางด้านสถานประกอบการชั้นนำ ซึ่งวันนี้ก็เป็นการลงนามร่วมกับ ดีป้า BYD และอีกหลายเจ้าในอนาคต ยิ่งจะทำให้นักศึกษามีโอกาสมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการปั้นทักษะฝีมือแรงงานรับเมกะเทรนด์โลกครั้งนี้ จะนำไปสู่เป้าหมายทางเลือกที่ดีต่อชีวิตของอาชีพการทำงานที่จะทำให้มีรายได้ที่สูงขึ้นและยกระดับคุณภาพชีวิตในที่สุด

นอกจากนั้นคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นอู่รถ หรือสถานประกอบการต่างๆ ก็ต้องมีการ Re Skill และ Up Skill  เพื่อที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมใหม่นี้ได้  ซึ่งอุตสาหกรรมใหม่นี้จะมีมูลค่าสูง ดังนั้นประเทศไทยมีโอกาสที่จะเป็นฮับ EV ของภูมิภาคด้วย เพราะฉะนั้นการที่เราทำเรื่องพวกนี้ถือว่า นอกจากจะช่วยประเทศ ช่วยสังคม และช่วยอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันระดับประเทศ แล้วยังถือว่าช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งจะทำให้สิ่งแวดล้อมของสังคมดีขึ้น”        

ฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ รองผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มงานส่งเสริมระบบนิเวศเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า- ในปัจจุบันจะมีการพูดถึงการพัฒนาเทรนด์หรือแนวโน้มเรื่อง Electrifying the Future : Green Skills Development for the EV Revolution 2024” ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมของโลกกับโอกาสใหม่ของยานยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นเทรนด์ที่โลกกำลังให้ความสำคัญและตระหนักถึงในขณะนี้  ด้วยรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและลดภาษีรถไฟฟ้า (อีวี) ทำให้เติบโต 300 – 400 % และในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาโต 650 % ฉะนั้นบุคลากรด้านนี้จะไม่พอเพียง เราจึงร่วมกันช่วยพัฒนาและส่งเสริมเพื่อยกระดับ future skills ด้านยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ecosystem ให้มีความเข้มแข็ง โดยเตรียมความพร้อมในการพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นกลไกสำคัญต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้กับประเทศไทยในอนาคต  การส่งเสริมให้เกิดการงานทางด้านนี้มากขึ้น ในนานาประเทศ ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของกระแสรักษ์สิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน แนวโน้มที่หลายประเทศตั้งเป้าหมายว่าจะไม่มีรถที่ใช้เครื่องยนต์ ICE หรือยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันในอีกไม่เกิน 25 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันยังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างๆ ในซัพพลายเชนให้มีเวลาปรับตัว เปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ใช้น้ำมันการสันดาบเชื้อเพลิงไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า พลังงานสะอาด ที่ช่วยลดมลพิษได้อย่างมหาศาลเพื่อก้าวสู่สังคมไร้คาร์บอนที่ทุกคนอยากให้เกิดขึ้นในเร็ววัน

ภัทร จึงกานต์กุล  กรรมการบริหาร บริษัท บีวายดี เมโทรโมบิล จำกัด กล่าวปิดท้ายว่า “ถ้ามองด้านของเทคโนโลยีด้านยานยนต์ไฟฟ้า ถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งด้านพลังงาน อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ทักษะของช่างเทคนิคเพื่อตอบโจทย์เสริมสร้างทักษะฝีมือด้านแรงงาน ทั้งต้องเพิ่มเติมความสามารถด้านทักษะทางไฟฟ้า ทักษะทางด้าน Software ทักษะด้าน Sensor และการควบคุม โดยทักษะเหล่านี้นักศึกษา และครูผู้สอนในสายอาชีวศึกษาต้องเรียนรู้และรับการถ่ายทอดจากผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทผู้ผลิต  อีกทั้งยังได้สนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาต่อยอด เพื่อสร้างพันธมิตรธุรกิจในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า สอดรับแผนยุทธศาสตร์เชิงรุกของประเทศไทย สนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศก้าวสู่การเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และรองรับตลาดยานยนต์ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นในปี 2030 พร้อมปรับตัวธุรกิจให้สอดรับกับสถานการณ์โลกแห่งอนาคตได้เป็นอย่างดี


แชร์ :

You may also like