Homesingle women in spain‘การบินไทย’ 9 เดือน ทำรายได้ 1.15 แสนล้าน โชว์กำไร 16,342 ล้าน คาดออกจากแผนฟื้นฟู ปี 68   

‘การบินไทย’ 9 เดือน ทำรายได้ 1.15 แสนล้าน โชว์กำไร 16,342 ล้าน คาดออกจากแผนฟื้นฟู ปี 68   


Thai airways การบินไทยหลังเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ และแนวโน้มการท่องเที่ยวฟื้นตัวดีขึ้น “การบินไทย” กลับมาโชว์ผลงานได้ดีอีกครั้ง ด้วยการทำ “กำไร” ต่อเนื่อง  ประเมินปี 2567 รายได้กลับมาเท่ากับก่อนโควิด พร้อมออกจากแผนฟื้นฟูในปี 2568

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สรุปการดำเนินงานของการบินไทยและบริษัทย่อย ไตรมาส 3  และงวด 9 เดือน ปี 2566 

  • ไตรมาส 3 

– รายได้รวม 37,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% (มาจากค่าโดยสารและค่าน้ำหนักส่วนเกิน 30,921 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26%)

– กำไรสุทธิ 1,546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 132% จากปีก่อนขาดทุน 4,785 ล้านบาท)

– จำนวนผู้โดยสาร 3.27 ล้านคน เพิ่มขึ้น 22% เป็นส่วนของการบินไทย 2.19 ล้านคน และไทยสมายล์ 1.08 ล้านคน มีอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) เฉลี่ย 77.3% (การบินไทย 77.1% และไทยสมายล์ 80.9%) ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเฉลี่ย 77.0%

  • งวด 9 เดือน

–  รายได้รวม 115,897 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% โดยหลักมาจากค่าโดยสารและค่าน้ำหนักส่วนเกิน 97,024 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 129%

–  กำไรสุทธิ 16,342 ล้านบาท  เพิ่มขึ้น 245% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขาดทุน 11,237  ล้านบาท

–  จำนวนผู้โดยสาร 10.13 ล้านคน เพิ่มขึ้น 77% เป็นส่วนของการบินไทย 6.5 ล้านคน และไทยสมายล์  3.63 ล้านคน  อัตราการบรรทุกเฉลี่ย 80% เพิ่มขึ้น 19%

รวมไทยสมายล์จบไตรมาส 1 ปี 67

–  ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจการบิน (ยุบรวมไทยสมายล์) การบินไทย ได้รับโอนเครื่องบิน A320-200 จากไทยสมายล์แล้ว 12 ลำ โดยนำไปทำการบินในเส้นทางระหว่างประเทศของการบินไทย ได้แก่ เดลี มุมไบ ธากา กัลกัตตา และทำการบินทดแทนเส้นทางไทยสมายล์  คือ ย่างกุ้ง เวียงจันทน์ พนมเปญ อาห์เมดาบัด เกาสง ปีนัง  (เริ่ม 15 ต.ค. 2566)

– โดยจะทยอยรับโอนเครื่องบินไทยสมายล์ครบ 20 ลำ ภายในไตรมาส 1 ปี 2567 จากนั้นการบินไทยจะให้บริการในเส้นทางบินของไทยสมายล์ทั้งหมด ส่วนพนักงานไทยสมายล์ 800 คน จะโอนมาที่การบินไทยทั้งหมด

– ปัจจุบันการบินไทยและไทยสมายล์ มีเครื่องบินที่ใช้ทำการบิน 68 ลำ ประกอบด้วยเครื่องบินลำตัวแคบ 20 ลำ และเครื่องบินลำตัวกว้าง 48 ลำ  นอกจากนี้ได้ทำสัญญาเช่าเครื่องบินอีก 26 ลำ โดยรับมาแล้ว 3 ลำ กลางปี 2567 นำส่งอีก 10 ลำ และส่งครบจำนวนในปี 2568

ออกจากแผนฟื้นฟู ปี 2568

คุณปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่าตามแผนฟื้นฟูกิจการที่ศาลล้มละลายกลางอนุมัติ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ตามกฎหมายการบินไทยมีเวลา 5 ปี ในการทำตามแผนฟื้นฟู คือจบในปี 2569  (หากยังไม่สำเร็จตามแผนกฎหมายให้ขยายเวลาได้ครั้งละ 1 ปี รวม 2 ครั้ง)

สิ่งที่เป็นเงื่อนไขสำคัญออกจากแผนฟื้นฟู มี 2 เรื่อง 1. ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องเป็นบวก 2. แปลงหนี้เป็นทุน หากการบินไทยทำได้ภายในสิ้นปี 2567 ก็น่าจะออกจากแผนฟื้นฟูได้ ในปี 2568  ถือว่าเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนด  

ผลประกอบการที่ดีขึ้นทุกไตรมาส เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ การบินไทย ออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็ว หากผลประกอบการดี เจ้าหนี้ก็พร้อมแปลงหนี้เป็นทุน และส่วนผู้ถือหุ้นไม่ติดลบ ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 ส่วนของผู้ถือหุ้นการบินไทยและบริษัทย่อย “ติดลบ” 54,706 ล้านบาท (ติดลบลดลง จากปี 2565 จำนวน 16,318 ล้านบาท)

จากแนวโน้มท่องเที่ยวที่ดีขึ้น การมีเครื่องบินใหม่เข้ามาเพิ่ม และไตรมาส 4 เป็นช่วงไฮซีซัน คาดว่าปี 2566 การบินไทย จะมีรายได้ตามเป้าหมาย 150,000 ล้านบาท จำนวนผู้โดยสารสิ้นปีนี้รวม 14 ล้านคน  ปี 2567 น่าจะมีรายได้ใกล้เคียงกับก่อนโควิด (ปี 2562) ที่ 180,000 ล้านบาท และปี 2568 รายได้จะสูงกว่าโควิด

อ่านเพิ่มเติม


You may also like