HomePR Newsเสนา ดีไซน์บ้านนวัตกรรม EP.2 ป้อนตลาดที่อยู่อาศัยสไตล์รักษ์โลก 2 คอนเซปต์ บ้านแนวคิดพลังงานเป็นศูนย์” – “คอนโด Low – Carbon” [PR]

เสนา ดีไซน์บ้านนวัตกรรม EP.2 ป้อนตลาดที่อยู่อาศัยสไตล์รักษ์โลก 2 คอนเซปต์ บ้านแนวคิดพลังงานเป็นศูนย์” – “คอนโด Low – Carbon” [PR]

แชร์ :

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน ) หรือ SENA เดินหน้าพัฒนา “บ้านแนวคิดพลังงานเป็นศูนย์” – “คอนโด Low – Carbon” รองรับภาวะโลกเดือดที่ทำให้เกิดกระแสการตื่นตัวจากทั่วโลกในการร่วมกันไปสู่เป้าหมาย Net Zero และยังรองรับมาตรการต่างๆ ที่จะออกมาใช้บังคับ โดยเฉพาะในไทยที่จะเตรียมออก พ.ร.บ. Climate Change

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัจจุบันที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์รักษ์โลกกำลังได้รับความนิยมจากต่างประเทศทำให้ “SENA” ตระหนักถึงการตอบสนองที่จะทำให้การพัฒนาบ้านเป็นมากกว่า “ที่อยู่อาศัย” กล่าวคือ สามารถรองรับกิจกรรมการใช้ชีวิตที่หลากหลายมากขึ้น มีความทันสมัยไม่ตกเทรนด์  สามารถลดภาระค่าครองชีพได้ ดูแลมิติด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ฯลฯ จากปัจจัยเหล่านี้จึงนำมาสู่ “บ้านพลังงานเป็นศูนย์” และ“คอนโด Low – Carbon” 

ทั้งนี้ การก้าวมาสู่การพัฒนาดังกล่าว “SENA” มีจุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่นพัฒนาหมู่บ้านแถมไอเทมโซลาร์เซลล์ให้กับบ้านทุกหลัง และคอนโดมิเนียมทุกโครงการที่เป็นรายแรกๆ ของไทย ซึ่งได้รับการตอบสนองจากลูกค้าเป็นอย่างดีในการลดค่าใช้จ่าย จึงทำให้เกิดการต่อยอดการพัฒนาด้วยการนำหลักคิดจาก บริษัท ฮันคิว ฮันชิน คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น มาปรับและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและอากาศ รวมถึงรายจ่ายประจำเดือนของลูกบ้านโดยมุ่งที่จะทำให้การใช้จ่ายด้านพลังงานใกล้เคียงกับศูนย์บาทมากที่สุด ด้วยการลดใช้ไฟฟ้าจากรัฐแต่ยังคงใช้ชีวิตได้ตามปกติ

โดยได้ร่วมมือกับศูนย์บริการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ทำการศึกษาและวิจัยการสร้างแบบบ้านจำลองบ้าน (Simulation) เพื่อทำการออกแบบบ้านด้วยการศึกษาพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของคนไทย เพื่อคำนวณหาค่าไฟฟ้าจากรูปแบบบ้านที่แตกต่างกัน ซึ่งผลจากการวิจัยได้ข้อสรุปว่าบ้านแนวคิดพลังเป็นศูนย์ สามารถประหยัดพลังงานได้สูงสุด 38% โดยที่ลูกบ้านยังคงชีวิตได้ตามปกติ

“เสนาฯ เชื่อว่าผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสนใจกระแสรักษ์โลก ทำให้เราต้องก้าวไปอีก Step หนึ่งไม่ใช่แค่ติดโซลาร์ จากในอดีตมองว่าโลกร้อนเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ แต่จริงๆ แล้วเกิดจากบ้านที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 60% ของโลก เราไปทำอะไรกับโรงงานอุตสาหกรรมได้ไม่มาก ในฐานะเราเป็นคนสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้มองเห็นว่าที่อยู่อาศัยเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตคาร์บอน ขณะที่โรงงานผลิตเป็นช่วงๆ เวลา แต่บ้านที่อยู่อาศัยสามารถผลิตคาร์บอนได้ตลอด 24 ชั่วโมง” ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หรือ ดร.ยุ้ย กรรมการ บริษัท SENA กล่าว

ดร.ยุ้ย ยังชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ต้องมองอนาคตที่ไทยประกาศไว้ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่จะก้าวไปสู่สถานะความเป็นกลางทางคาร์บอนปีค.ศ. 2050 และไปสู่ Net Zero ปีค.ศ.2065 และขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณาจะออกพ.ร.บ.ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ได้มีการจัดทำร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไว้แล้ว หรือที่เรียกง่ายๆว่า พ.ร.บ.โลกร้อน ซึ่งต่อไปจะเป็นภาคบังคับให้ผู้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งออกใบอนุญาตให้กับโรงงานอุตสาหกรรมและก่อสร้างบ้าน ในการหาสิทธิพิเศษเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการหันมาใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่ญี่ปุ่นได้บังคับให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกรายทำบ้านรักษ์โลก หากไม่ทำจะถูกบทลงโทษ แต่หากผู้ประกอบการรายใดทำได้ตามเงื่อนไขจะมีงบประมาณสนับสนุนให้

ดังนั้น ทิศทางการพัฒนาของ SENA ระยะต่อไปจะร่วมกับ ฮันคิว ฮันชิน คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งเน้นพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการที่อยู่อาศัยแบบครบวงจร ซึ่งนำนวัตกรรมการใช้วัสดุ อุปกรณ์ผนวก กับการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าใกล้การมีที่อยู่อาศัยแนวคิดบ้านพลังเป็นศูนย์ และคอนโด Low-Carbon ได้มากยิ่งขึ้น  อย่างไรก็ตามขณะนี้ผู้บริโภคยังไม่รู้ว่าแนวคิดดังกล่าวคืออะไร เพราะไม่มีประสบการณ์ Before และ After เพราะไม่เคยอยู่บ้านประเภทนี้มาก่อน แต่ทางเสนาได้สร้างให้หมดแล้วภายใต้หลักการ

1. Active Design คือ การออกแบบอาคารให้มีความยั่งยืนด้านการใช้พลังงาน โดยการนำเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ทันสมัยเข้ามาช่วยในการออกแบบ เช่น เซนเซอร์ควบคุมระบบไฟฟ้าและแสงสว่าง, การใช้แอร์ประหยัดพลังงานฯ

2. Passive design การออกแบบอาคารให้มีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น ทิศทางลม และแสงแดด เป็นต้น

3. การมีระบบผลิตพลังงานใช้เองจากพลังงานหมุนเวียน เช่น การนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ (Solar Cell) มาสร้างเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ภายในบ้านให้สอดคล้องกับสภาพอากาศของเมืองไทย และการอยู่อาศัยภายในบ้าน ที่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในบ้านให้เหมาะสมแต่ละฤดูกาล ผสมผสานการใช้พลังงานที่ใช้ได้เองอย่างมีประสิทธิผล

ส่วนของคอนโด Low-Carbon เป็นการออกแบบที่อาศัยแนวคิดเรื่องสมาร์ทซิตี้มาประยุกต์ใช้กับปรับใช้กับฟีเจอร์ต่างๆ เริ่มตั้งแต่การการออกแบบบ้านพลังงานเป็นศูนย์ประกอบด้วย Smart Energy, Smart Mobility, Smart Living, Smart Environment และ Smart People เพื่อให้เป็นชุมชนเมืองน่าอยู่ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประหยัดรายจ่าย มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ที่สำคัญยังมีระบบการให้บริการที่มีความสะดวกสบายใกล้แหล่งงาน โดยใช้แอปพลิเคชั่นบนมือถือเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางอย่างชาญฉลาด ด้วยการใช้เทคโนโลยี วางแผนการเดินทาง ที่สามารถช่วยในการลดมลภาวะ ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

“เราจะบอกว่าเสนาทำบ้านรุ่นใหม่ ที่คุณอยู่แล้วใช้พลังงานน้อยมาก พลังงานที่คุณใช้เข้าใกล้ศูนย์ ก็เปรียบเหมือนกับการซื้อไฟจากหลวงน้อยมาก ก็เปรียบเหมือนกับคุณอยู่บ้านทั่วไปต้องจ่ายค่าไฟเดือนละ 4,000 บาท แต่อยู่ที่นี่จ่ายค่าไฟเดือนละ 1,500 บาท ตลอดระยะเวลา 20 ปี” ดร.ยุ้ย กล่าว

เขากล่าวย้ำในบทสรุปว่า ปัจจัยลบต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกประเทศ ไม่ว่าจะการปรับขึ้นของค่าก่อสร้าง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ความสามารถในการซื้อบ้านของผู้บริโภคลดลง ทำให้ SENA ต้องปรับตัวด้วยการกระจายความเสี่ยงไปสู่กลุ่มธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้ชื่อ “เงินสดใจดี” ในรูปแบบของสถาบันการเงิน ให้บริการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้าที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากธนาคารพาณิชย์ ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการ  400-500 ราย รวมถึงกลุ่มธุรกิจเช่าซื้อที่อยู่อาศัย โดยเปลี่ยนฟอร์มจากคนซื้อบ้านมาเป็นผู้เช่าอยู่อาศัย และเมื่อมีความพร้อมก็สามารถซื้อบ้านได้ทันที โดยเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าคอนโดมิเนียม คาดว่าจะเริ่มได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้

อย่างไรก็ตาม การขยายพอร์ตธุรกิจของเสนามองว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับเสนาในอนาคต  และตลาดอสังหาฯ ภาพรวมคงต้องรอดูการดำเนินนโยบายจากรัฐบาลที่กำลังเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยเฉพาะเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ ซึ่งเชื่อว่าสถานการณ์ต่างๆ จะคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้น


แชร์ :

You may also like