HomeDigitalสกาย ไอซีที รุกธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เปิดตัว “เมทเธียร์” ทรานสฟอร์ม รปภ.-แม่บ้านไฮเทค

สกาย ไอซีที รุกธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เปิดตัว “เมทเธียร์” ทรานสฟอร์ม รปภ.-แม่บ้านไฮเทค

แชร์ :

คุณขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมทเธียร์ จำกัด (Metthier)

สกาย ไอซีที รุกธุรกิจใหม่ เปิดตัว เมทเธียร์ (Metthier) ในฐานะผู้ให้บริการระบบ Smart Facility Management รายแรกของไทย พร้อมทรานสฟอร์มพนักงาน 6,000 คนในธุรกิจรักษาความปลอดภัย – แม่บ้าน สู่การเป็นผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์ยุคใหม่ ตั้งเป้าเจาะ 5 ธุรกิจสำคัญ “โรงงานอุตสาหกรรม-โครงการมิกซ์ยูส-โรงพยาบาล-สถาบันการเงิน-สถานศึกษา” 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ถือเป็นอีกหนึ่งการทรานสฟอร์มที่น่าสนใจสำหรับสกาย ไอซีที หรือสกาย กรุ๊ป ที่หันมาลุยธุรกิจระบบบบริหารจัดการอาคาร (Smart Facility Management) ภายใต้บริษัทน้องใหม่ในเครืออย่าง “Metthier” โดยนอกจากจะมาพร้อมเทคโนโลยีในการบริหารจัดการอาคารอย่าง MIOC (Metthier Intelligent Operation Center: MIOC), การสร้างแบบจำลองอาคารด้วย 3D Visualization, การทำ Digital Mapping หรือความสามารถในการระบุพิกัดภายในอาคารดิจิทัล เพื่อให้แสดงผลภาพรวมแต่ละชั้นของอาคารและระบุตำแหน่งเหตุการณ์ได้แม่นยำแบบเรียลไทม์ ฯลฯ และยังมาพร้อมกับการทรานสฟอร์ม “รปภ. และแม่บ้าน” ให้เข้าสู่การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลด้วย

คุณขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมทเธียร์ จำกัด (Metthier) กล่าวว่า จุดแข็งของเมทเธียร์คือ Tech Knowhow ที่ส่งต่อจากบริษัทแม่อย่างสกายไอซีที และการเข้าซื้อกิจการบริษัท รักข์สยาม (SAMCO) ที่มีประสบการณ์ในการดูแลรักษาอาคารและสถานที่ชั้นนำของประเทศไทย พร้อมบุคลากรกว่า 6,000 คน เข้ามาเป็นหนึ่งขุมพลังหลักของการให้บริการ โดยบริษัทตั้งเป้าเพิ่มบุคลากรมากกว่า 10,000 คน ภายในต้นปีหน้า เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ Metthier เป็นผู้เล่นรายใหญ่รายแรกด้าน Smart Facility Management ของไทย

เปิดความท้าทาย ทรานสฟอร์ม “แม่บ้าน – รปภ.”

อย่างไรก็ดี ความท้าทายของเมทเธียร์ในธุรกิจ Smart Facility Management คือการมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย – แม่บ้านเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีของเมทเธียร์ให้บริการ ซึ่งคุณขยล เปิดเผยถึงสิ่งที่บริษัททำเพื่อให้คน 6,000 คนสามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่วว่า ต้องทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่าย

“สิ่งที่เราทำคือ ให้เขาเห็นว่า Data ช่วยเขาได้ ยกตัวอย่างแดชบอร์ด เราคุยกับเขาว่า ที่ผ่านมาเก็บข้อมูลอะไรบ้าง โชคดีที่เขาบันทึกข้อมูลเก็บไว้เป็น excel แต่จะดีกว่าถ้าเราทำเป็น Web-Based เลย ไม่ต้องคีย์ลง Excel แล้ว เขาก็บอกว่า โอ้โห น่าจะมีมาตั้งนานแล้ว นี่คือการทรานสฟอร์ม ทำให้เห็นว่าระบบมันช่วยให้เขาลดงานได้” คุณขยลกล่าวต่อไปว่า

“ขั้นที่สองคือ ต้องมีโปรเจ็คฮีโร่ ต้องค่อย ๆ ทำทีละโปรเจ็ค พอสำเร็จ เขาเห็นผล ก็จะสร้างการมีส่วนร่วมได้มากขึ้นเรื่อย ๆ”

ทั้งนี้ ผู้บริหารเมทเธียร์เผยว่า สิ่งที่เป็นความท้าทายจริง ๆ ของอุตสาหกรรมนี้คือปัญหาเรื่องการลาออกของพนักงานสูง รวมถึงการขาดงาน หรือมาสาย โดยไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งจากปัญหาดังกล่าว จึงมีการพัฒนาแอปพลิเคชัน MettLink สำหรับบริหารจัดการกำลังพล (Workforce Management System) โดยนอกจากจะให้พนักงานได้ลางานล่วงหน้าแล้ว ยังสามารถบันทึกเวลาเข้า-ออกงานด้วยการสแกนใบหน้า ทำให้ตรวจสอบข้อมูลลงเวลาทำงานแบบเรียลไทม์ เชื่อมต่อระหว่างศูนย์ปฏิบัติการและเจ้าหน้าที่ได้ รวมทั้งในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน ยังสามารถระบุจุดที่ตั้งของเจ้าหน้าที่และจุดเกิดเหตุ เพื่อให้สามารถแก้ไขเหตุการณ์ ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีด้วย

คุณขยลยังเผยด้วยว่า การทำให้พนักงานทั้ง 6,000 คน หรือ 10,000 คนในปีหน้าสามารถใช้งานเทคโนโลยีระดับเต็มประสิทธิภาพอาจเป็นสิ่งที่บริษัทต้องจัดอบรมในระยะยาว

“เรามีทีมอบรมให้กับ รปภ. – แม่บ้าน ทั้งในสำนักงานใหญ่ และการอบรมที่หน้างาน มันเป็นกระบวนการที่ต้องมีอยู่แล้ว”

เปิด 6 เทคโนโลยีตอบโจทย์การบริหาร “อาคาร”

สำหรับเทคโนโลยีที่ระบบ Smart Facility Management ของเมทเธียร์ให้บริการ มีดังต่อไปนี้

  • ระบบบริหารจัดการผู้มาติดต่อ (Visitor Management Solutions) ใช้เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition) ในการทำงาน
  • ระบบควบคุมการเข้าออกแบบอัตโนมัติ (Access Control Solution) ทำงานร่วมกับระบบประตูกั้นสแกนใบหน้า (Face Recognition Turnstile) มีการตรวจจับและระงับบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาในพื้นที่ได้
  • ระบบจอดรถอัจฉริยะ (Smart Parking Solution) ระบบดังกล่าวสามารถจดจำเลขทะเบียนรถ (License Plate Recognition: LPR) โดยใช้ความแม่นยำของ AI ระบุและแปลอักขระทะเบียนรถได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังเชื่อมโยงกับระบบลงทะเบียนผู้มาติดต่อ เพื่อระบุบุคคลเข้า-ออกอาคารผ่านทะเบียนรถได้ทันที โดยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลการจอดรถทั้งหมดพร้อมแนะนำช่องจอดที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งทางบริษัทมองว่าสามารถประหยัดเวลาผู้ใช้บริการ
  • ระบบบริหารจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินอัจฉริยะ (Smart Incident Management) ทำงานเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Smart IoT โดยการใช้ AI ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดลำดับเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ แล้วแจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • การบริหารจัดการทรัพย์สินมูลค่าสูง (High Value Asset Management) สำหรับธุรกิจที่ต้องการขนส่งทรัพย์สินที่มีค่าของบุคคล องค์กร และสถาบันการเงินชั้นนำ โดยทางแบรนด์มีบริการรถขนส่งเกราะที่ถูกออกแบบเพื่อความปลอดภัยด้วย
  • หุ่นยนต์อัตโนมัติ นอกจากพนักงานและระบบบริหารจัดการแล้ว เมทเธียร์ยังมีหุ่นยนต์อัจฉริยะ (Smart Robotics) เข้ามาช่วยดูแลพื้นที่ในอาคารด้วยอีกทางหนึ่ง โดยติดตามการทำงานผ่านแดชบอร์ดได้แบบเรียลไทม์

ทั้งนี้ ทางบริษัทอยู่ระหว่างการพัฒนาระบบบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรภายในอาคาร (Power & Resource Consumption Management) สำหรับช่วยวิเคราะห์และวางแผนการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำ และอากาศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พร้อมมองว่า เป็นซอฟต์แวร์ที่ตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืนด้วยนั่นเอง


แชร์ :

You may also like