HomeSponsoredทรู ผนึกสมาคมจีเอสเอ็ม เป็นพันธมิตร GSMA Open Gateway APIs รายแรกของไทย เสริมแกร่งเศรษฐกิจดิจิทัล – ดันสตาร์ทอัพไทยสู่ระดับโลก

ทรู ผนึกสมาคมจีเอสเอ็ม เป็นพันธมิตร GSMA Open Gateway APIs รายแรกของไทย เสริมแกร่งเศรษฐกิจดิจิทัล – ดันสตาร์ทอัพไทยสู่ระดับโลก

แชร์ :

ทรูประกาศความเป็นผู้นำ Telecom-Tech Company  จับมือองค์กรระดับโลก สมาคมจีเอสเอ็ม” (GSM Association หรือ GSMA) พัฒนา “Mobile Network Open APIs” ขึ้นแท่นผู้ให้บริการรายแรกของประเทศไทย  พลิกโฉมระบบเชื่อมต่อข้อมูลผ่านเครือข่ายมือถือ ยกระดับประสบการณ์ทั้งในระดับคอนซูเมอร์และภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นแนวทางสร้างรายได้ใหม่ของสตาร์ทอัพ และธุรกิจโทรคมนาคม

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า การเป็นพันธมิตรกับสมาคมจีเอสเอ็ม ถือเป็นการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ของทรูจากที่เคยเป็นผู้นำบริการ 3G และ 4G  รายแรกมาแล้ว  เมื่อมาถึงยุค 5G อาจต้องยอมรับว่า วงการโทรคมนาคมไทยกำลังเจอกับความท้าทายที่แตกต่างไปจากเดิม เนื่องจาก 5G เป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง การใช้งานเครือข่าย 5G ให้เต็มความสามารถจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญปัญหาขาดแคลนคนทำงานที่มีทักษะเหล่านี้

ในขณะเดียวกัน  การใช้งานเครือข่ายที่ก้าวล้ำมากขึ้นอย่าง 5G ทำให้เกิดความท้าทายในประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะการโจมตีของแฮกเกอร์ที่รุนแรงและรวดเร็วขึ้น ซึ่งในจุดนี้ หากไม่มีการเตรียมการรับมือ จะทำให้ค่าใช้จ่ายที่องค์กรต้องแบกรับในด้านซีเคียวริตี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

หนึ่งในข้อมูลที่ชี้ชัดก็คือรายงานของการ์ทเนอร์* ที่ระบุว่า การใช้จ่ายด้านความปลอดภัยของข้อมูลและการบริหารความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของประเทศไทยมีแนวโน้มจะเติบโตขึ้น 11.8% หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 16.7 พันล้านบาทในปี 2023

ขณะที่บริการรักษาความปลอดภัย (Security Services) จะมียอดการใช้จ่ายมากที่สุดขององค์กรธุรกิจในประเทศไทย โดยการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security) และการจัดการความเสี่ยงแบบบูรณาการ (Integrated Risk Management หรือ IRM) จะเป็นกลุ่มตลาดที่เติบโตรวดเร็วที่สุดในปี 2022 และ 2023

แม้ว่าทรูจะเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง เช่น การจับมือกับภาคธุรกิจในการนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาปรับใช้กับเครือข่าย 5G การผนึกกำลังกับผู้ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกนำโซลูชันอัจฉริยะมาใช้ดูแลปกป้องเครือข่าย ตลอดจนการให้ความรู้ด้านซีเคียวริตี้กับผู้ใช้งานในวงกว้าง ฯลฯ แต่การตั้งรับอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ซึ่งการจับมือกับสมาคมจีเอสเอ็ม เป็นพันธมิตร GSMA Open Gateway  APIs รายแรกของประเทศไทยนั้น   มองได้ว่าเป็นการเตรียมปลดล็อกกับความท้าทายรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้น  และยังเป็นการยกระดับความสามารถของเครือข่าย 5G ให้เหนือชั้นขึ้นกว่าเดิมด้วยนั่นเอง

การเป็นพันธมิตร GSMA Open Gateway APIs สำคัญอย่างไร

สำหรับ  GSMA Open Gateway APIs  เป็นแนวคิดของสมาคมจีเอสเอ็มที่ต้องการสร้าง API ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก และเปิดให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายที่เป็นพันธมิตรได้ใช้งาน  โดยความสำคัญของการร่วมมือกับทางสมาคมจีเอสเอ็มในครั้งนี้ของทรู คือการเปิดโอกาสให้นักพัฒนา หรือองค์กรต่าง ๆ ได้เข้าถึง และโต้ตอบกับฟังก์ชัน – ข้อมูลของเครือข่ายด้วย API เดียวกัน โดยคุณมนัสส์ มานะวุฒิเวช ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า การเป็นพันธมิตรกับสมาคมจีเอสเอ็ม  พัฒนานวัตกรรม Mobile Network Open APIs นั้น จะเป็นก้าวที่สำคัญที่จะสะท้อนวิสัยทัศน์ของทรู ผู้นำเทเลคอม-เทคคอมปานี ที่จะเป็นมากกว่าผู้ให้บริการเครือข่าย อีกทั้งเป็นการยกระดับระบบนิเวศดิจิทัลไปสู่อีกขั้นหนึ่งของบริการ เพราะจะทำให้เกิดความร่วมมือกันในระดับโลกระหว่างทรูกับบริษัทเครือข่ายอื่น ๆ สนับสนุนให้นักพัฒนาทั้งไทยและต่างประเทศ สามารถเชื่อมต่อฟังก์ชัน แอปพลิเคชัน และแพลตฟอร์มต่าง ๆ ด้วยมาตรฐานเดียวกันกับผู้ให้บริการเครือข่ายอื่น ๆ ทั่วโลก ซึ่งเอื้อต่อการขยายธุรกิจไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง

ไม่เพียงเท่านั้น การเข้าถึง API  ที่เป็นมาตรฐานสากลได้นั้น ยังทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชันใหม่ ๆ และทำงานได้อย่างราบรื่นบนเครือข่ายของผู้ให้บริการที่เป็นพันธมิตรของ GSMA Open Gateway APIs ที่มีทั้งสิ้น 32 รายทั่วโลกได้ด้วย (ปัจจุบัน ทรูเป็นพันธมิตรรายล่าสุด) ซึ่งนอกจากจะทำให้การสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้น ยังเป็นการขยายโอกาสให้กับนักพัฒนา และสตาร์ทอัพในไทยในการเติบโตได้อีกมากมายเลยทีเดียว

GSMA Open Gateway APIs ประกอบด้วยอะไรบ้าง

ในเบื้องต้น ทางสมาคมจีเอสเอ็มได้พัฒนา Network Open APIs ภายใต้กรอบความร่วมมือ GSMA Open Gateway APIs  ออกมาทั้งสิ้น 8 รายการ ได้แก่

– SIM Swap

– Quality on Demand

– Device Status

– Number Verification

– Simply Edge Discovery

– One Time Password SMS

– Carrier Billing – Check out

– Device Location

ทั้งนี้ ทรูจะร่วมพัฒนา Network Open APIs มาเปิดให้บริการในประเทศไทย เพื่อให้องค์กรธุรกิจ และนักพัฒนาได้เชื่อมต่อและใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของทรูได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ขณะที่ทางสมาคมจีเอสเอ็ม เผยว่า อยู่ระหว่างการพัฒนา API  เพิ่ม  โดยคาดว่าจะเปิดตัว API  อีกประมาณ 20 รายการในอนาคตอันใกล้ ซึ่งจะทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอปพลิเคชันใหม่ ๆ จากการเชื่อมต่อ API ได้อีกมาก และมีโอกาสเติบโตได้กว้างกว่าเดิมบนเครือข่ายของบริษัทพันธมิตรทั่วโลก

เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้งาน

หนึ่งในกรณีศึกษาที่น่าสนใจจากการใช้งาน GSMA Open Gateway APIs เกิดขึ้นที่ประเทศอังกฤษ  โดยคุณจูเลียน กอร์แมน ผู้บริหารของสมาคมจีเอสเอ็ม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เผยว่า ผู้บริโภคในอังกฤษเองก็เผชิญปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่ต่างจากที่พบในประเทศไทย พร้อมยกตัวอย่างกรณี SIM Swapping หรือเทคนิคการสลับซิม ที่แฮกเกอร์สามารถสกัดกั้นข้อความ OTP รวมถึงรีเซ็ตรหัสผ่าน – รับรหัสที่อนุญาตให้เข้าถึงบัญชีธนาคารได้

ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีนักพัฒนาสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการเชื่อมต่อ API  กับผู้ให้บริการเครือข่าย และสามารถป้องกันการทำ SIM Swapping ที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการ ATP (Account Takeover Protection) ได้แล้ว และหากมีการแฮกซิม ระบบจะสามารถส่งแจ้งเตือน หรือระงับการใช้งานผ่านแอปพลิเคชันได้ทันท่วงที และแอปพลิเคชันนั้นก็ได้ถูกนำมาปรับใช้ในอังกฤษด้วย ซึ่งทำให้ตัวเลขการโจมตีดังกล่าว ลดลงจาก 15 – 20% เหลือเพียง 3% เท่านั้น

ด้านคุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจองค์กร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวเสริมว่า GSMA Open Gateway APIs อาจเป็นอีกหนึ่งทางที่สร้างรายได้ใหม่ให้กับวงการโทรคมนาคม และสตาร์ทอัพไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

“เราเปิดให้นักพัฒนา – สตาร์ทอัพต่อยอด สร้างประโยชน์จากเทคโนโลยีที่เรามีอยู่แล้ว  ซึ่งการที่สมาคมจีเอสเอ็มร่วมกับบริษัทพันธมิตรพัฒนา API  ที่มีมาตรฐานระดับโลก และเปิดให้เชื่อมต่อกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ได้นั้น  ในอนาคต GSMA Open Gateway APIs อาจไม่เพียงช่วยเราต่อกรกับแฮกเกอร์ – ความท้าทายด้านซีเคียวริตี้ได้ แต่ยังอาจได้เห็นแอปพลิเคชัน ใหม่ๆ นวัตกรรมดีๆ ในแวดวงการศึกษา  เฮลท์แคร์ การเงิน ฯลฯ เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก”

ข้อมูลอ้างอิง


แชร์ :

You may also like