HomeInsightINTAGE เปิด 5 Mega Trends โลกยุคใหม่ กับ Insight ที่แบรนด์ต้องรู้เมื่อดิจิทัล ส่งผลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค

INTAGE เปิด 5 Mega Trends โลกยุคใหม่ กับ Insight ที่แบรนด์ต้องรู้เมื่อดิจิทัล ส่งผลต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค

แชร์ :

 5 Mega Trends

ในโลกยุคใหม่ที่ดิจิทัลและอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลพฤติกรรมการใช้ชีวิตหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยที่เข้ามา โดยตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมาโลกดิจิทัลเข้ามามีผลต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภค ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อ-ขายสินค้า การติดตามข่าวสารสังคมและการชำระสินค้า ฯลฯ เหล่านี้ทำให้เทรนด์และแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปในหลายปัจจัยรอบด้าน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทั้งนี้เพื่อทำความเข้าใจความต้องการและแรงผลักดันของผู้บริโภค ดร.ดั่งใจถวิล อนันตชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเทจ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เผยพฤติกรรมผู้บริโภคใหม่ยุคดิจิทัลกับ “เมกะเทรนด์ผู้บริโภคชาวเอเชีย” (Asian Consumers Mega Trends) โดยเป็นผลสำรวจจากผู้บริโภค 3,000 รายใน 6 ประเทศ ได้แก่ จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไทย และเวียดนาม ในระยะเวลา 12 เดือน เพื่อสะท้อนแนวโน้มผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในกับ 5 Mega Trends ที่น่าจับตาดังนี้

1.เทรนด์ Aging Better คนวัยกลางคนยุคใหม่เริ่มต้นที่ 60 ปี โดยข้อมูลย้อนหลังทั่วโลก มีอายุยืนขึ้น ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 5-8 ปี โดยญี่ปุ่นเป็นชาติที่ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยและมีอายุยืนมากที่สุดตั้งแต่ราว 10 ปีที่ผ่านมา มีอายุเฉลี่ย 84.95  ปี แบ่งเป็น ผู้หญิง 88 ปี ผู้ชาย 82 ปี ขณะที่ประเทศไทยอายุเฉลี่ย 79.91 ปี แบ่งเป็น ผู้หญิง 84 ปี และผู้ชาย 75 ปี  โดยในประเทศไทยเริ่มมาตื่นตัวเรื่องสังคมผู้สูงวัยและเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทั้ง Health Care ธุรกิจสุขภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การรับมือเรื่องการวางแผนสุขภาพระยะยาว อาหารการกิน โดยผู้บริโภคมีความตระหนักถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

 

Aging Better

 

  • Retirement financial plan แผนการเงินเพื่อการเกษียณอายุ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องเงิน โดยแบรนด์จะต้องตอบโจทย์เรื่องนี้ให้ได้ ยกตัวอย่าง ศูนย์การค้าช่วงปิดเทอมของยุโรป พ่อแม่ออกมาช้อปปิ้งน้อยลง เพราะกำลังซื้อไม่พอ ทำให้ห้างฯ ต้องแก้ปัญหาที่ต้นตอ โดยมีการให้เงินกู้เฉพาะช่วงปิดเทอมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เพื่อให้เกิดการจับจ่ายขึ้น ทำให้ Win-Win ทั้งสองฝ่าย นั่นคือการก้าวข้ามอุตสาหกรรม โดยยึดเอาคอนซูมเมอร์เป็นที่ตั้ง 
  • Special healthcare for elderly หรือการมองหาการดูแลสุขภาพพิเศษสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ บริการ เป็นต้น
  • Special home arrangement for elderly การจัดบ้านพิเศษสำหรับผู้สูงอายุ  เนื่องจากเนื่องจากคนวัยนี้มีรายได้เข้ามามากขึ้น ขณะที่คนส่วนใหญ่แต่งงานไม่มีลูก เกิดครอบครัวขนาดเล็ก หรือครอบครัวเดี่ยวขึ้นในสังคม  ทำให้ไม่มีลูกหลานเลี้ยงจึงมองหารายได้เพื่อความมั่นคงมากขึ้น เพราะประเทศไทยยังไม่มีแผนประกันชีวิตที่ครอบคลุมทุกอย่างในช่วงวัยแก่ เหมือนที่ญี่ปุ่น
  • Ability to access to telemedicine การมองหาเรื่องความสามารถในการเข้าถึงการแพทย์ทางไกลมากขึ้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่เห็นปัจจุบันจาก DATA วัย 25-26 ปี เริ่มมีความกังวลเรื่องคุณภาพชีวิตตอนสูงวัยแล้ว แตกต่างจากในอดีตที่เริ่มตระหนักถึงปัยหาดังกล่าวเมื่อวัย 60 ปี โดยปัจจุบันได้เห็นหลายแพลตฟอร์มเข้ามาเป็นตัวช่วยสำหรับผู้สูงวัย ทั้งเรื่องอาชีพ ความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็น แกร็บวัยเก๋า หรือตลาดตัวตึงวัย 50 ปี ที่มีสินค้าและสำหรับผู้สูงวัยมากขึ้น

2. เทรนด์ Digital Twin  ผู้บริโภคก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีพฤติกรรม FOMO Fear of Missing Out  หรือการกลังตกเทรนด์ ทำให้มีความต้องการในการเข้าถึงโซเชี่ยลมีเดียนานขึ้นและมากขึ้น โดยโซเชียลมีเดียถือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของผู้คนยุคนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์เพื่อการแสวงหาข้อมูลและผ่อนคลายความเหงา 

โดยประเทศไทยใช้โซเชี่ยลมีเดีย  5 ประเภทสื่อ ได้แก่ Facebook,Youtube,Line,TolTok และ Google  ตามลำดับ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรมการใช้สื่อแบบ “online-only” มากขึ้นในสัดส่วน 34% และอีก 63%  มีการใช้สื่อทั้ง Online และ Offine ควบคู่กันไป

 

 Intake Social Media

 

3. เทรนด์ Segment of ONE Exclusive yet Inclusive หรือการที่ผู้บริโภคต้องการให้แบรนด์รู้ใจมากกว่าที่จะรู้ใจตัวเอง ดังนั้นแบรนด์จำเป็นต้องปรับจากกลยุทธ์การตลาดแบบธรรมดา (Marketing Strategy) สู่กลยุทธ์การตลาดเชิงประสบการณ์ Experiential Marketing Strategy ที่รวมเอาทั้ง Mass Marketing-Segmented Marketing-Segment of One มาไว้เพื่อสร้างประสบการณ์แก่ผู้บริโภค เพื่อนำเสนอ จากข้อมูลของผู้บริโภคที่จำกัด สู่ข้อมูลผู้บริโภคแบบReal-time นำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมให้กับลูกค้าที่เหมาะสม

โดยในโลกแห่งทางเลือก ผู้บริโภค 48% บ่งชี้ว่าประสบการณ์มีความสำคัญมากกว่า ชื่อแบรนด์ (Brand Name) ทั้งนี้เพื่อสร้างยุคของการทำตลาด Prosumer(Producer +Consume) เพื่อให้ผู้บริดภคสนใจจนพร้อมบอกลาแบรนด์ที่ใช้มาก่อนหน้า นอกจากนี้ผู้บริดภคยังเลือกแบรนด์จากความเท่าเทียม นี่เองจึงเป็นโอกาสที่แบรนด์จะสร้างจุดยืนร่วมกับผู้บริโภคเพื่อสร้าง Top of Mind ในอนาคต

4.เทรนด์ Generation Redefined, Segmentation Redesigned ในโลกของผู้บริโภคยุคใหม่ สิ่งสำคัญคืออย่าแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามอายุ กล่าวคือนอกจากแบรนด์จะต้องเข้าใจ Pain point แล้วจงเจาะลึกลงไปถึง Passion points เพราะการสร้าง Cross-generation เป็นความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ที่กำลังมาเเรงและมีอิทธิพล รวมถึง New Media ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้น หากแต่สามารถขยายการเติบโตได้เป็นวงกว้าง เช่น แพลตฟอร์มเกิดใหม่อย่าง TikTok จากประเทศจีนเติบโตขึ้น แต่โตเร็วที่สุดในประเทศไทย นั่นเพราะไม่ได้ตอบโจทย์แค่คนรุ่นใหม่เท่านั้น หากแต่ยังเติมเต็มไลฟ์สไตล์การใช้โซเชี่ยลมีเดียในทุกช่วงวัย

5. เทรนด์ ECO2 the New Value Equation เรื่องของความยั่งยืนซึ่งเป็นเทรนด์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคปัจจุบันคำนึงถึงถึงความยั่งยืนไปพร้อมกับความสะดวกสบาย Eco และ Economic ผู้บริโภคต้องการความยั่งยืนและความสามารถในการจ่ายได้ เพราะมองว่าเมื่อโลกรอด แบรนด์รอด คนก็รอด สอดคล้องกับสมการของ Eco square การควบคุมให้ Income สมดุลกับ Impact โดยผู้บริโภคจะมองหาคุณค่าของความสมดุลทั้งเรื่องสุขภาพ จิตใจ สิ่งแวดล้อม และการลงทุน 

อย่างไรก็ตามพบว่า ผู้บริโภคชาวเอเชีย 47% รู้สึกภูมิใจที่ได้รับการสนับสนุนสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่นหรือโดยชุมชน ขณะที่หนึ่งในสาม หรือราว 35% เชื่อว่าแบรนด์ที่ช่วยจ้างงานชุมชนและผู้ด้อยโอกาสจะถูกผู้บริดภคสนับสนุนในและมีฐานแฟนในระยะยาว

 

METTA Marketing

 

ดังนั้นทุกแบรนด์จะต้องมีการปรับตัว โดย Psychology & Technology  Must Become Friends หรือ จิตวิทยาและเทคโนโลยีต้องเป็นเพื่อนกัน ผ่านการสร้างและนำเสนอคุณค่าภายใต้ METTA Marketing ที่พ้องคำไทยง่ายๆก็คือ “เมตตา” ที่มาจากคำว่า (M E T T A verse) ได้แก่ 

  • M-mindful การ มีสติ ใส่ใจ หรือการใส่ใจทำอะไรเพื่อลูกค้า
  • E-empowering การเพิ่มศักยภาพ
  • T-transparent  ความโปร่งใส
  • T-trust ความเชื่อมั่น สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค
  • A-authentic ความน่าเชื่อถือ ตัวตนและจุดยืนของแบรนด์ที่แท้จริง

ดังนั้นการใส่ใจกับการทำตลาดที่ถูกต้อง จะต้องทำให้ไม่เหมือนการตลาดแต่คือการสร้างคุณค่าแบรนด์ผ่านการการตลาดแบบรอบด้านที่มาจากข้างใน เพราะปัจจุบันผู้บริโภคไม่ได้เลือกแบรนด์เพื่อความต้องการของตัวเองเท่านั้น แต่แบรนด์พวกนั้นต้องทำให้พวกเขารู้สึกดีกับตัวเองด้วย


แชร์ :

You may also like