HomeBrand Move !!เบื้องหลัง Roza X Hunger จากหนังอันดับ 1 ของ Netflix สู่ “ซอสผัดงอแง” ถ่ายทอดสายสัมพันธ์ครอบครัวผ่านมื้ออาหาร

เบื้องหลัง Roza X Hunger จากหนังอันดับ 1 ของ Netflix สู่ “ซอสผัดงอแง” ถ่ายทอดสายสัมพันธ์ครอบครัวผ่านมื้ออาหาร

แชร์ :

Roza X Hunge

กระแสความแรง “Hunger คนหิว เกมกระหาย” ภาพยนตร์เน็ตฟลิกซ์จากประเทศไทยโด่งดังไปทั่วโลกจนสามารถงครองอันดับ 1 ใน 53 ประเทศทั่วโลก พร้อมทะยานขึ้นอันดับ 1 ของโลกได้สำเร็จ   (12 เม.ย.66)  นอกจากเนื้อหาภาพยนตร์ที่เข้มข้น สะท้อนค่านิยมทางสังคม ผ่านการทำอาหารแล้ว ยังมีเมนูเด่นคือ “ผัดงอแง” ที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมาก 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เป็นอีกครั้งที่กระแสความนิยมในตัวภาพยนตร์ถูกต่อยอดออกมาในรูปแบบสินค้าที่จับต้องได้  ล่าสุดกับภาพยนตร์ไทยชื่อดังอันดับ 1 บน Netflix “Hunger คนหิว เกมกระหาย” นอกจากภาพยนตร์จะได้รับความนิยมไปทั่วโลกแล้ว อีกหนึ่งประเด็นที่กำลังเป็นไวรัลไปทั่วโลกออนไลน์ขณะนี้คือ ​อย่าง “ผัดงอแง” หลัง “โรซ่า” หยิบยกเมนูดังกล่าวมาต่อยอดไปยังผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอย่าง “ซอสผัดงอแง” การันตีรสชาติถอดแบบจากในหนัง เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่อยากลิ้มลองรสชาติ

BrandBuffet พาเจาะเบื้องหลังกว่าจะมาเป็น “ซอสผัดงอแง” หลังโรซ่ากลายเป็นเสือปืนไว คว้าสูตรลับเมนูเด็ดจากภาพยนตร์  “Hunger คนหิว เกมกระหาย”  ไปต่อยอดได้สำเร็จ

 

จากเชฟออย (Hunger) สู่ “ซอสผัดงอแง” จุดเชื่อม Family Bonding ที่มากกว่าสินค้า

จากจุดเริ่มต้นของ  Netflix ที่ต้องการต่อยอดสินค้าจากภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการทำอาหารอย่าง “Hunger คนหิว เกมกระหาย”  จึงได้ติดต่อทาง “โรซ่า” เพื่อร่วมกันทำสินค้าใหม่จากภาพยนตร์เกี่ยวกับการทำอาหารที่กำลังจะเกิดขึ้น

โรซ่า (Roza) ในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านซอสเบอร์ต้นของเมืองไทย  จึงตอบรับโดยไม่ลังเล  จนเกิดเป็นการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ “ซอสผัดงอแง” ขึ้นเนื่องจากมองว่าทั้งคอนเซ็ปต์ของภาพยนตร์ และความเชื่อของแบรนด์มีความตรงกัน โดยการทำงานร่วมกันในครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังจากทาง Netflix บอกสูตรองค์ประกอบ วัตถุดิบ ขณะที่ฝั่งของ “โรซ่า” มีหน้าที่พัฒนาสินค้า “ซอสผัดงอแง” มาจากตัวหนังเพื่อพัฒนารสชาติเพื่อให้ลงตัวมากที่สุด และหาข้อสรุปร่วมกันในกระบวนการสุดท้าย

“Hunger คนหิว เกมกระหาย” คือภาพยนตร์ที่นำเสนอเกี่ยวกับอาหารที่แค่เรื่องของอาหาร หากแต่มีแง่มุมในเรื่องของการสะท้อน “ค่านิยมของคนในสังคม”  ที่โดนใจทางแบรนด์โรซ่า เข้าอย่างจัง นั่นทำให้ทางค่ายตัดสินใจร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชิ้นใหม่ร่วมกันแบบไม่ลังเล  เพราะคาแรคเตอร์ของ “เชฟออย” นางเอกของเรื่องกับภาพจำเชฟมือทองที่มีความ Tough ในตัว ต้องการเป็นคนพิเศษ ทำตามฝันจนสำเร็จ ทว่าสุดท้ายสิ่งที่ต้องการเป็นเพียงการกลับคืนสู่จุดเริ่มต้น (Back to Basic) อย่างเมนูอาหารธรรมดาๆ อย่าง “ผัดงอแง” จากอาม่าทำให้พ่อกินในวันที่ไม่สบาย นับเป็นเมนูที่มี Story จากรุ่นสู่รุ่น เปรียบเสมือน Comfort Food สำหรับครอบครัว

 

Roza x Netflix

 

เมื่อคอนเซ็ปต์ของภาพยนตร์ตรงกับความเชื่อของแบรนด์ (Brand Believe) “โรซ่า” อย่างเรื่อง Family Bonding เพราะ “ครอบครัวคือสถาบันที่ยิ่งใหญ่ เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตคน” ที่กลายมาเป็นจุดเชื่อมโยงที่ลึกซึ่งมากกว่าตัวผลิตภัณฑ์  แต่คือคอนเซ็ปต์ที่ตรงกันของทั้ง 2 ฝ่ายอย่างการเป็น Comfort Food การพัฒนา Product Concept ที่เกิดจากการ  Collaboration Campaign กับทาง Netflix แบบข้ามอุตสาหกรรมครั้งนี้จึงเกิดขึ้น

โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อยอดการตลาดซึ่งกันและกันสร้างความน่าสนใจ  เพื่อให้ช่วยในการสื่อสารในวงกว้าง ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจ Product Concept ได้ง่ายขึ้น รวมถึงกระแสของหนังและผัดงอแง ก็ช่วยทำให้เกิดการทดลอง ซอสสารพัดผัดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ “โรซ่า เชฟแอทโฮม” หรือเป็นการ Build brand awareness & product trial ได้ง่ายขึ้น

จากนี้ไปทั้งสองค่ายจะมีการสื่อสารการตลาดร่วมกัน Netflix ทำหน้าที่สร้างกระแส สื่อสารตัวภาพยนตร์ให้คนรู้จัก Build ผู้ชมจนเกิดเป็นกระแส พอถึงจุดที่ภาพยนตร์ได้รับความนิยมจะเป็นหน้าที่ของฝั่ง จนคนดูเกิดอาการอิน และอยากลิ้มลองก็จะเป็นหน้าที่ของ “โรซ่า” ในการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ซอสผัดงอแง” รองรับความต้องการของลูกค้า

เริ่มที่ฝั่งของ Netflix จะเป็นการสร้าง Experience ใหม่ๆ ให้แก่ลูกค้าและอุตสหากรรมอาหาร เพื่อสร้างแรงกระเพื้อมให้แก่สังคมในการต่อยอดเมนูตามแบบฉบับไทยๆ  เช่น  ภาพยนตร์เกาหลีที่เมื่อผู้ชมเห็นแล้วก็อยากไปกิน หรือทำตาม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้วงการอาหารและภาพยนตร์มีจุดเชื่อมซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็น Impact และความ Powerful  ผ่านคอนเซ็ปต์ “จากจอสู่จาน” ที่สามารถทำได้จริงๆ จากหนังไทยไม่ใช่ภาพยนตร์ต่างชาติเหมือนที่ผ่านมา

ด้วยการจำลองร้านอาหาร HUNGER RESTAURANT  ขึ้นเป็นการชั่วคราวที่ Groove ชั้น G เซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีเมนู “ผัดงอแง” เป็นหนึ่งในเมนูที่ทางร้านนำมาเสิร์ฟ โดยจะเปิดให้บริการเป็นรอบ รอบละ 1 ชั่วโมง (11.00-21.00 น.) สามารถจองที่นั่งล่วงหน้า หรือ Walk-in ก็ได้ ตั้งแต่วันนี้-23 เมษายนนี้

จาก “จอสู่จาน” คอนเซ็ปต์ร่วมต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่สู่ลูกค้า

ขณะที่ฝั่งของโรซ่า จะทำหน้าที่เป็น Solution ให้กับทุกครอบครัว ได้มีมื้ออาหารคุณภาพ เวลาคุณภาพร่วมกับครอบครัว เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ Roza Family Food ให้กับทุกครอบครัว คอยเชื่อมรสชาติความสุขของครอบครัว โดยครั้งนี้ผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่นอกจากจะได้รับอรรถรสจากการดูหนังในจอแล้ว ยังจะเป็นครั้งแรกที่จะได้ลิ้มรสชาติความอร่อยจริงๆจากในหนังได้เองที่บ้านตามคอนเซ็ปต์  “จากจอสู่จาน” อีกด้วย

ซึ่งนอกจากสื่อถึงภาพยนตร์โดยตรงแล้ว ตัวบรรจุภัณฑ์ของโรซ่าซอสผัดงอแง ยังมีสื่อถึงตัวภาพยนตร์ได้อย่างดี จากฉลากข้างขวดที่มีชื่อ-รูปผัดงอแง Hunger คนหิวเกมกระหาย แบบชัดเจน ขณะที่ชั้นวาง สื่อต่าง ณ จุดขาย รวมไปถึงช่องทางออนไลน์ ก็ถ่ายทอดความเป็นสินค้าที่ต่อยอดจากภาพยนตร์ได้ชัดเจน ทั้งสื่อโฆษณาบนเชลฟ์ หรือสื่อออนไลน์ที่ถ่ายทอดตัวสินค้ากับการจัดวางบนชั้นที่มีควันให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในครัวระดับเชฟแบบจริงๆ

 

Roza sauce

ซอสผัดงอแง จากโรซ่า

 

สำหรับ “ซอสผัดงอแง” จะวางจำหน่ายในระยะเวลาเพียง 3 เดือน “เม.ย.-มิ.ย.66” ในขนาด 350 กรัม กับราคา 45 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ง่ายต่อการหยิบจับและเริ่มทดลองซื้อของกลุ่มเป้าหมาย คนรุ่นใหม่ ไม่มีเวลา และเร่งรีบ นั่นคืออีกหนึ่งจุดแข็งที่โรซ่าจะใช้ในการสร้างการเข้าถึงในเรื่องของความคุ้มค่า คุ้มราคา ​

ไม่เพียงเท่านี้ โรซ่า ยังมีแผนต่อยอดสินค้าใหม่เป็นสเต็ปถัดไปเพื่อสร้างแบรนด์อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่บริบทและวิธีการอาจจะปรับไปตามกระแสความนิยมและเทรนด์ในขณะนั้น

โรซ่ากับภาพยนตร์-หนังสั้น สะท้อนภาพลักษณ์แบรนด์ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

การร่วมมือกันระหว่าง โรซ่า และ  Netflix  นับเป็นการต่อยอดจากภาพยนตร์สู่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันอย่าง “ซอสผัดงอแง” ถือเป็นครั้งแรกที่ตอกย้ำคอนเซ็ปต์ Roza chef at Home แบบชัดๆ เป็นครั้งแรกของทางแบรนด์ ผ่านแนวคิด “Family Bonding ” หรือสายสัมพันธ์ในครอบครัว  คือสิ่งที่โรซ่ายึดมั่นและจริงจังในการสื่อสารมาอย่างต่อเนื่อง

ย้อนไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมาโรซ่าเคยทำรีเสิร์ซ ร่วมกับกรมสุขภาพจิต เพื่อศึกษาการสร้างสายสัมพันธ์ในครอบครัวไทย วิธีไหนที่ง่ายและสำคัญที่สุด สุดท้ายก็ได้คำตอบมาว่า คือเรื่องของ “มื้ออาหาร” เพราะคนไทยอยู่คู่กับ “อาหาร” แทบจะตลอดเวลา ทำให้นำคอนเซ็ปต์นี้มาเป็นจุดแข็งในการสร้าง Branding ให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ “โรซ่า เชฟแอทโฮม” อย่างต่อเนื่อง

โดยแคมเปญแรกที่ทางแบรนด์ใช้สื่อสารแนวคิดดังกล่าวคือ “โต๊ะวิเศษ” หนังสั้น 5 นาที ที่ถ่ายทอดเรื่องราวมื้ออาหารสุดพิเศษ ในปี 2018 จนได้รับจากโซเชี่ยลมีเดียอย่างท่วมท้น ก่อนจะจับมือร่วมกับทาง ทีวีธันเดอร์ทำซีรี่ส์ร่วมกันในชื่อ “จาก 1 ถึง 10”  เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา เพื่อตอกย้ำคอนเซ็ปเรื่อง Family Bonding เพื่อสื่อสารแบรนด์ให้เรื่องของซอสปรุงสำเร็จที่ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น ตอบโจทย์คนสมัยใหม่ที่มีเวลาน้อย ชีวิตยุ่งยาก มีภาระมากมาย โดย “โรซ่า เชฟแอทโฮม จะมาเป็นตัวช่วยในการทำอาหารง่ายๆ ภายใน 5 นาที เพื่อสร้างโมเมนต์มื้ออาหารง่ายๆ

 

roza chef at hone

กลุ่มผลิตภัณฑ์ “โรซ่า เชฟแอทโฮม” ทั้ง 3 รายการ

 

ทั้งนี้ที่ผ่านมา “โรซ่า เชฟแอทโฮม” คือไลน์สินค้าซอสสารพัดผัดปรุงสำเร็จ ที่สามารถเอาไปทำได้หลากหลายเมนูทั้ง หมัก ผัด ต้ม ทอด ดิปปิ้ง มีสินค้าในกลุ่มเดียวกันที่ทำตลาดอยู่แล้ว 3 รายการ ได้แก่ 1.ซอสพริกไทยดำ 2.ซอสผัดผงกะหรี่ และ 3.ซอสหม่าล่า

การเข้ามาของ “ซอสผัดงอแง” จึงเป็นอีกหนึ่งจิ๊กซอว์ชิ้นใหม่ ที่นอกจากจะสร้างกระแสได้แล้ว ยังเป็นการเพิ่ม Brand Awareness ให้อยู่ในใจลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ โรซ่าบนเส้นทาง Family Bonding ในธุรกิจอาหารของแบรนด์ ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพราะเรื่องแบรนด์เป็นเรื่องที่จับต้องได้ยาก ขณะที่ในตลาดผลิตภัณฑ์ซอสปรุงรสในปัจจุบันก็มีการแข่งขันกันสูง ทำให้ทางแบรนด์จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างแบรนด์  โดยการร่วมงานในครั้งนี้ จะช่วยสร้าง Ripple ใหม่ๆ ที่ดีให้กับทั้ง Consumer, Roza และ Netflix 


แชร์ :

You may also like