HomeBrand Move !!ไขเคล็ดลับความสำเร็จของ TikTok เติบโตเพราะฟีดคอนเทนต์ตาม Content graph พฤติกรรมผู้ใช้งาน SME 60% เลือกใช้เจาะกลุ่มเป้าหมาย

ไขเคล็ดลับความสำเร็จของ TikTok เติบโตเพราะฟีดคอนเทนต์ตาม Content graph พฤติกรรมผู้ใช้งาน SME 60% เลือกใช้เจาะกลุ่มเป้าหมาย

แชร์ :

TikTok

Photo Credit : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand

นอกจากการประกาศตัวเลขผู้ใช้งาน TikTok ทั่วโลกที่ทะลุ 1 พันล้านคนไปเรียบร้อยเมื่อปีที่ผ่านมา ล่าสุดทาง TikTok ประเทศไทย ได้ออกมาเผยอินไซท์เพิ่มเติมสำหรับแบรนด์และนักการตลาด โดยระบุว่า 3 กลุ่มคลิปวิดีโอสั้นมีการเติบโตสูงสุดบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ บ้านและสวน (3.5 เท่า), ครอบครัวและเด็ก (3.4 เท่า) และการท่องเที่ยว (2.5 เท่า) ตัวเลขระหว่างเดือนกันยายน 2020 – กันยายน 2021 ซึ่งผู้บริหารเผยว่า คอนเทนต์เหล่านี้ บ่งบอกว่า TikTok มีผู้ใช้งานทุกกลุ่ม ไม่ใช่แพลตฟอร์มที่มีแต่วัยรุ่นอีกต่อไป

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นอกจากนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นกับ TikTok ในช่วงที่ผ่านมา ยังพบว่า

  • TikTok มีผู้ใช้งานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากถึง 240 ล้านคน (Monthly Active Users) ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโต 85% ต่อปี จากผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 1 พันล้านคน
  • ในการศึกษาของ Nielsen ยังพบว่า 52% ของผู้ใช้งาน ค้นพบสินค้าใหม่ ๆ ผ่านวิดีโอโฆษณาของแบรนด์ต่าง ๆ บน TikTok และ 67% ของผู้ใช้งานเห็นว่า TikTok ช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์-สินค้าที่ไม่เคยนึกถึงมาก่อน
  • รายงานของ Intel – TikTok & Toluna ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่สำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการ SME ในไทย มาเลเซีย เวียดนาม และอินโดนีเซีย จำนวน 829 คนยังพบว่า 60% ของเจ้าของธุรกิจ SME เลือกใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

น่าสนใจว่า อะไรคือความลับของ TikTok  ที่นำไปสู่การใช้งานของ SME และแบรนด์ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากการเป็น Entertainment Platform ซึ่งคุณจตุธน พิทักษ์พงศ์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ SMB ของ TikTok ประเทศไทย อธิบายว่า ส่วนหนึ่งมาจากการฟีดคอนเทนต์ของ Tiktok ที่เน้น Content graph ไม่ใช่ Social graph แบบแพลตฟอร์มอื่น

Jatutana Pitakpong tiktok th

คุณจตุธน พิทักษ์พงศ์ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ SMB ของ TikTok ประเทศไทย

“Content graph” ฟีดคอนเทนต์ตามพฤติกรรม และผู้ใช้งานก็แฮปปี้

“Content Graph คือการที่เราฟีดคอนเทนต์ให้กับผู้ใช้งานตามความสนใจ หรือพฤติกรรม (Behavior) ในเวลานั้น ๆ นั่นคือ ถึงแม้เราจะเป็นเพื่อนกับคุณ A แต่เราก็จะไม่ได้เห็นคอนเทนต์ของคุณเอก่อน เพราะคอนเทนต์ที่จะโชว์ก่อนคือคอนเทนต์ที่เราสนใจ”

“แต่ถ้าเป็น Social Graph การฟีดคอนเทนต์จะอยู่ในของเขตโซเชียลของเรา เช่น เราจะเห็นคอนเทนต์จากเพื่อนของเราก่อน แล้วจึงค่อยเห็นคอนเทนต์จากคนอื่นที่ไกลออกไป”

“เราพบว่า ผู้ใช้งานก็แฮปปี้กับฟีดในลักษณะ (Content Graph) นี้ เพราะสมมติเราชอบคอนเทนต์ร้องเพลง – ทำอาหาร มันก็จะมีคอนเทนต์ในลักษณะนี้ออกมาให้เรารับชมได้เลย”

พบพฤติกรรมการเสิร์ช “เปลี่ยน”

อีกสิ่งหนึ่งที่ผู้บริหาร TikTok มองเห็นก็คือพฤติกรรมการเสิร์ชของผู้ใช้งานที่เปลี่ยนไป โดยในอดีต มนุษย์อาจเกิดความสงสัยในเรื่องบางอย่างและเข้าไปค้นหาข้อมูลจากเสิร์ชเอนจิน แต่ปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของอัลกอริธึม และการเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้งาน คุณจตุธนมองว่า ผู้ใช้งานอาจไม่ได้เสิร์ชแล้ว เพราะคอนเทนต์ที่เราสนใจอาจเป็นคอนเทนต์ที่ถูกฟีดมาให้เราที่หน้าจอด้วยซ้ำ

“นอกจากนี้ เราพบว่าการเสิร์ชอาจไม่ได้เกิดขึ้นตลอดเวลาอีกต่อไป เว้นแต่ว่าในคอนเทนต์ที่พุ่งเข้ามาหาเรานั้น จะมีเรื่องที่เราสนใจค้นหาต่อจริง ๆ เราถึงจะไปเสิร์ช”

ซึ่งภาพดังกล่าวสะท้อนด้วยว่า ในคอนเทนต์ที่ฟีดเข้ามาหาผู้บริโภคนั้น สามารถตอบโจทย์ความสงสัยของผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่งแล้ว และ TikTok ยังมองว่า อาจทำให้ผู้บริโภคเข้าไปเสิร์ชผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพิ่มขึ้น แทนที่จะหันไปหาเสิร์ชเอนจินเพียงอย่างเดียว 

แข่งขันเข้มขึ้น

สิ่งที่ผู้บริหาร TikTok มองเห็นอีกภาพหนึ่งคือด้านการแข่งขันของตลาดโฆษณาที่โซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ พยายามเร่งสร้างความน่าสนใจ เพื่อหวังคว้าเม็ดเงินจากธุรกิจนี้มาให้ได้ โดยในมุมของ TikTok นั้น คุณจตุธน มองว่า

“จุดแข็งของ TikTok ชัดเจนว่าเราเป็น Entertainment Platform ไม่ว่าอย่างไร หัวใจหลักเราก็คือความบันเทิง ทั้งการช้อปปิ้งที่มีเสียงเพลงเข้ามา ความตลกโปกฮา ทำให้เราขายของได้ ทั้งหมดเกิดจาก TikTok”

“สำหรับการแข่งขันที่เกิดขึ้น ก็ยอมรับว่าเข้มข้น เพราะเราอยากได้กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเดียวกัน ซึ่งท่ามกลางแพลตฟอร์มที่มีมากมายให้เลือก TikTok ก็มั่่นใจว่า เราแข่งขันได้ เราสร้าง Awareness ได้ เราปั้นยอดขายได้ ที่สำคัญ เรามีข้อดีคือเราเป็นน้องใหม่ เรายังเห็น Growth Area อีกเยอะมาก” พร้อมบอกด้วยว่า ความท้าทายเดียวที่ TikTok กังวลอาจเป็นการที่ผู้ใช้งานเลิกสร้างคอนเทนต์ เพราะ TikTok เป็นแพลตฟอร์ม User Generated Content (UGC) นั่นเอง


แชร์ :

You may also like