HomeBrand Move !!ความท้าทายของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ในประเทศเคร่งระเบียบอย่างญี่ปุ่น

ความท้าทายของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ ในประเทศเคร่งระเบียบอย่างญี่ปุ่น

แชร์ :

japanese mask

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทั่วโลกจดจำภาพ “คนทำงาน” ของประเทศญี่ปุ่นในด้านของการทำงานหนัก มีระเบียบวินัย ยอมปฏิบัติตามกฎของบริษัทอย่างเคร่งครัด ซึ่งภาพเหล่านั้นทำให้ภาพคนทำงานออฟฟิศในญี่ปุ่นแฝงด้วยความเครียดอยู่ไม่น้อย แต่ในช่วงปีที่ผ่านมา การที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกมาส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ ลดการทำงานลงเหลือ 4 วันต่อสัปดาห์ และเริ่มมีบริษัทต่าง ๆ ปฏิบัติตามเป็นจำนวนมากก็ทำให้ประเทศต่าง ๆ หันมามองการเปลี่ยนแปลงนี้อีกครั้งเช่นกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

บริษัทที่ออกมาประกาศเป็นรายล่าสุดอาจเป็นฮิตาชิ (Hitachi) และพานาโซนิค (Panasonic) ที่เมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ได้ประกาศแผนลดวันทำงานลง

ดึงคนเก่า – เอาใจคนเก่ง

ฮิโรมิ มุราตะ (Hirami Murata) นักวิจัยอาวุโสจาก Recruit works Institute แสดงความเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของบริษัทญี่ปุ่นครั้งนี้ว่า ข้อดีของการปรับตารางทำงานเหลือสี่วันต่อสัปดาห์คือการทำให้บริษัทสามารถรักษาพนักงานเอาไว้ได้ เพราะการที่ต้องหาพนักงานใหม่นั้นใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูงมาก และถึงแม้จะหาพนักงานใหม่ได้ ก็ต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมอีกระยะหนึ่งกว่าที่จะทำให้พนักงานใหม่คนนั้นมีทักษะเท่ากับพนักงานคนเดิม

ในอีกมุมหนึ่ง บริษัทยังสามารถใช้นโยบายดังกล่าวดึงดูดคนเก่ง ๆ เข้ามาทำงานได้มากขึ้น และลดการลาออกของพนักงานลงได้ด้วย เพราะเป็นนโยบายที่ช่วยให้พนักงานมีความยืนหยุ่นมากขึ้นในชีวิต และสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ นอกเหนือจากการทำงานได้ด้วย โดยจะเห็นว่า เทรนด์นี้ได้กลายเป็นการทำงานรูปแบบใหม่ของญี่ปุ่นในปัจจุบันไปแล้ว

นอกจากฮิตาชิ, พานาโซนิค ที่กล่าวไปข้างต้น ยังมีมิซูโฮะ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป และ Fast Retailing เจ้าของแบรนด์ Uniqlo ก็เข้าร่วมเทรนด์นี้ด้วย

จัดการทำงาน 4 วันสไตล์ “ญี่ปุ่น”

อย่างไรก็ดี การทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ของญี่ปุ่นก็มีวิธีจัดการที่หลากหลายเหมือนกัน เช่น มีบริษัทผู้ผลิตยาแห่งหนึ่งชื่อ Shionogi & Co. ที่ให้พนักงานได้หยุดสามวันต่อสัปดาห์ก็จริง แต่บริษัทก็หวังว่าพนักงานจะนำเวลานั้นไปพัฒนาทักษะใหม่ ไปสร้างเน็ตเวิร์ก หรือไปศึกษาเพิ่ม ไม่ก็ไปทำงานที่สองได้ โดยคนที่ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จะได้รับเงินเดือน 80% ของเงินเดือนปกติ

หรือกรณีของฮิตาชิที่อนุญาตให้ทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์จริง แต่ต้องทำงานในแต่ละวันนานขึ้น เพื่อให้ได้ตัวเลขทำงานเท่ากับการทำงานห้าวันต่อสัปดาห์ (ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม)

ผลสำรวจจาก Mynavi Corp พบว่า 78.5% ของพนักงานที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 50 ปีบอกว่า พวกเขาไม่ต้องการวันหยุดเพิ่ม หากการทำเช่นนั้น จะทำให้ได้รับผลตอบแทนลดลง นอกจากนั้น อีก 60.1% ของผู้ตอบแบบสอบถามบอกว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เพราะทุกวันนี้ งานที่ทำอยู่ก็มีพนักงานไม่เพียงพอ หรือไม่ก็ภาระงานมากเกินกว่าจำนวนคนทำงานอยู่แล้ว

“ข้อเสียของการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในประเทศที่เคร่งครัดอย่างญี่ปุ่นคือความยากลำบากในการจัดการงาน โดยเฉพาะงานที่ต้องทำเป็นกะ และการขาดการสื่อสารระหว่างคนทำงานด้วยกันนั่นเอง” คุณมุราตะกล่าวปิดท้าย

Source


แชร์ :

You may also like