HomeInsightการ์ทเนอร์ชี้ “พนักงานไอที” เสี่ยงลาออกสูงสุด หากบริษัทให้กลับเข้า “ออฟฟิศ”

การ์ทเนอร์ชี้ “พนักงานไอที” เสี่ยงลาออกสูงสุด หากบริษัทให้กลับเข้า “ออฟฟิศ”

แชร์ :

 

it sector resign gartner

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

การ์ทเนอร์เผยผลสำรวจล่าสุด พบพนักงาน “สายไอที” มีแนวโน้มลาออกจากงานที่ทำอยู่มากกว่าพนักงานสายอื่น ๆ หากบริษัทมีการปรับนโยบายการทำงาน โดยเฉพาะการกลับเข้าทำงานในออฟฟิศ

การสำรวจดังกล่าวมีขึ้นเมื่อไตรมาส 4 ของปี 2021 ที่ผ่านมา โดยเป็นการสำรวจความคิดเห็นจากพนักงานจำนวน 18,000 คนทั่วโลก และเป็นพนักงานสายไอทีจำนวน 1,755 คน ซึ่งพบว่า มีเพียง 29.1% ของพนักงานไอทีทั่วโลกเท่านั้นที่มีความตั้งใจทำงานต่อกับนายจ้างปัจจุบัน

ส่วนพนักงานไอทีในเอเชีย มีเพียง 19.6% เท่านั้นที่บอกว่าอยากทำงานกับนายจ้างปัจจุบันต่อ ขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อยู่ที่ 23.6% และละตินอเมริกาที่ 26.9% และในยุโรป ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ 38.8%

เกรแฮม วอลเลอร์ รองประธานฝ่ายวิจัยและนักวิเคราะห์ของการ์ทเนอร์ ให้ความเห็นว่า “บริษัทไอทีที่นำนโยบายการกลับมาทำงานที่ออฟฟิศมาใช้ต้องพบกับปัญหาการลาออกของทีมงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้องกลับมาทบทวนถึงการใช้แนวทางดังกล่าว ผู้บริหารไอทีอาจต้องปรับรูปแบบการทำงานให้มีความยืดหยุ่นมากกว่าแผนกอื่น ๆ ในองค์กร เนื่องจากแนวโน้มที่พนักงานไอทีจะลาออกนั้นมีสูงกว่า และเชี่ยวชาญการทำงานผ่านระยะไกลมากกว่าพนักงานส่วนใหญ่”

นอกจากนั้น การ์ทเนอร์ยังพบว่า อายุก็มีผลต่อการย้ายงานด้วยเช่นกัน โดยพนักงานไอทีที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีบอกว่า จะทำงานกับที่เดิมแค่ 19.9% ส่วนพนักงานไอทีอายุ 50 – 70 ปีนั้น ตั้งใจจะทำงานกับบริษัทเดิมสูงถึง 48.1%

การทำงานแบบยืดหยุ่น ลดปัญหาลาออก

เมื่อถามถึงทางแก้ การ์ทเนอร์เผยว่า เคยมีการทำสำรวจพนักงาน 3,000 คนเรื่องการทำงานแบบยืดหยุ่นเมื่อปี 2021 และพบว่า 65% ของพนักงานไอทีบอกว่าการทำงานที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวส่งผลต่อการตัดสินใจอยู่ทำงานต่อกับองค์กร

ทั้งนี้ มีปัจจัยอีกหลายข้อที่ การ์ทเนอร์บอกว่า ผู้บริหารอาจต้องนำไปพิจารณาด้วยเช่นกัน นั่นคือ

– การให้พนักงานตัดสินใจเองว่า จะทำงานเวลาใดเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดีที่สุด รวมทั้งจัดตารางทำงานใหม่ที่เหมาะสมได้ด้วยตนเอง เช่น การทำงานสัปดาห์ละสี่วัน

– การปรับโหมดเป็น Hybrid Work แทนความเชื่อเดิม ๆ ว่า ทุกคนจะทำงานได้จริงและออกมาดีต้องมาออฟฟิศ และมีหัวหน้างานคอยสอดส่องดูแล โดยการ์ทเนอร์มองว่า ออฟฟิศยังเป็นสถานที่ที่เหมาะที่สุดสำหรับทำกิจกรรมร่วมกันบางอย่าง อาทิ สำหรับสร้างความสัมพันธ์และทำงานร่วมกัน

– ลดการประชุม วัฒนธรรมการประชุมเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2493 โดยเป็นการนำผู้คนมารวมตัวกันเพื่อตัดสินใจบางเรื่อง แต่ตอนนี้มีเครื่องมือที่ช่วยให้ทีมสามารถตัดสินใจ ทำงานร่วมกัน และแชร์ความคิดสร้างสรรค์ได้หลายแบบแล้ว จึงควรลดการประชุมลง


แชร์ :

You may also like