HomeBrand Move !!เอไอเอส x ม.ธรรมศาสตร์ โชว์ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ” ฝีมือคนไทย เริ่มวิ่งจริงแล้ววันนี้

เอไอเอส x ม.ธรรมศาสตร์ โชว์ “รถไฟฟ้าไร้คนขับ” ฝีมือคนไทย เริ่มวิ่งจริงแล้ววันนี้

แชร์ :

Pic03 AIS 5G-TU Automonomous Car

หลังจากที่ AIS และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการความยั่งยืนแห่งแรกในเอเชียในชื่อ “SDG Lab by Thammasat & AIS” ไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา หนึ่งในความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ ระบบการขนส่งต้นแบบอัจฉริยะกับการเปิดตัว รถไฟฟ้าไร้คนขับ ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ในการขับเคลื่อนบนโครงข่ายอัจฉริยะ AIS 5G พร้อมให้บริการทดลองรับส่ง ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้นักศึกษาบุคลากร สัมผัสประสบการณ์โลกอนาคตได้ก่อนใคร

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Pic08 AIS 5G-TU Automonomous Car

คุณวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS อธิบายว่า “ระบบขนส่งสาธารณะแบบไร้คนขับ Autonomous EV Car เป็นการนำรถโดยสารที่ใช้พลังงานไฟฟ้า 100% ขนาด ที่นั่ง มาติดตั้งเซนเซอร์ และอุปกรณ์ประมวลผลต่าง ๆ เพื่อให้ตัวรถสามารถใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมการขับเคลื่อนได้อย่างอัตโนมัติถึง 2 รูปแบบคือ

  • Auto-Pilot mode ขับเคลื่อนตามเส้นทางที่กำหนดแบบอัตโนมัติ ผ่านเครือข่าย AIS 5G  ที่จะมีการจอดรับส่ง ผู้โดยสารตามจุดต่าง ๆ ที่มีการกำหนดไว้ แล้ว โดยระบบการทำงานของเซนเซอร์จะเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัยในระยะการเดินรถรอบทิศทาง
  • Virtual Control mode ขับเคลื่อนผ่านการควบคุมระยะไกล ซึ่งจะสามารถบังคับรถโดยสารไฟฟ้าบนเครื่องซิมูเลเตอร์ (Simulator) ที่สตรีมจากกล้อง 360 องศา ผ่านเครือข่าย AIS 5G โดยระบบ Driver Assistance Systems จะช่วยตรวจสอบความปลอดภัยในการเดินรถ

รศ.ดร.พิษณุ ตู้จินดา รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิต ด้านคุณภาพชีวิต  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อธิบายว่า “การเปิดให้บริการรถไฟฟ้าไร้คนขับในครั้งนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะการสร้างระบบขนส่งภายในมาหาวิทยาลัย อำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาและบุคลากร และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองอัจฉริยะได้ในไม่ช้าอย่างแน่นอน”

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “ระยะเวลาเกือบ ปีที่เราทำงานร่วมกับ AIS เดินหน้าภารกิจของ SDG Lab by Thammasat & AIS  ในการสร้างพื้นที่นวัตกรรมเพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ทั้งด้านการใช้ชีวิต ด้านสังคม หรือแม้แต่ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จนเกิดผลลัพธ์ที่จับต้องได้ในวันนี้อย่างระบบการขนส่งต้นแบบอัจฉริยะ รถไฟฟ้าไร้คนขับที่ทำงานบนเครือข่าย 5G โดยใช้นวัตกรรมจากพลังงานไฟฟ้า ที่จะมาวิ่งรับส่ง เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของภายในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยได้โดยสารทดลองใช้สัมผัสประสบการณ์ของเทคโนโลยีไปพร้อมกัน”

Pic11 AIS 5G-TU Automonomous Car

คุณวสิษฐ์ กล่าวปิดท้ายว่า “รถ EV ไร้คนขับที่ทดลองใช้งานจริงในระบบขนส่งสาธารณะภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในกำหนดเทรนด์โลกอนาคตในการนำเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องยนตร์ขับเคลื่อนการบริหารจัดการเมือง หรือ พื้นที่ต่างๆ ในประเทศให้เดินหน้าสู่การเป็น Smart City สมบูรณ์แบบได้ในที่สุด”


แชร์ :

You may also like