HomePR Newsเตรียมรับมือภาวะโลกร้อนขึ้นอีก 1.5 องศา นานาประเทศต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

เตรียมรับมือภาวะโลกร้อนขึ้นอีก 1.5 องศา นานาประเทศต้องเร่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

แชร์ :

การประชุมคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สมัยที่ 43 (พ.ศ. 2559) ได้จัดทำรายงานฉบับพิเศษเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนที่ 1.5 องศาเซลเซียส และรายงานฉบับพิเศษเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและที่ดิน ซึ่งประเทศส่วนใหญ่จะนำข้อมูลจากรายงานดังกล่าวไปวิเคราะห์ความเชื่อมโยงกับผลกระทบจากการดำเนินงานภายในประเทศ เพื่อกำหนดเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับและปรับตัวจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยประสานงานกลางของ UNFCCC จึงจัดทำโครงการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงวิชาการจากรายงานฉบับพิเศษของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

จากข้อมูลปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) พบว่า กิจกรรมของมนุษย์ได้ส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นประมาณ 1oC เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม และคาดว่าภาวะโลกร้อนที่ 1.5 oC จะเกิดขึ้นภายในปี ค.ศ. 2040 (พ.ศ. 2583) การหลีกเลี่ยงภาวะโลกร้อนที่ 1.5 oC มีความเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต จากการเปรียบเทียบระหว่างภาวะโลกร้อนที่ 1.5 oC กับ 2 oC พบว่ามีผลกระทบทั้งในด้านของอุณหภูมิ ฝน และภาวะสุดขั้วของลมฟ้าอากาศ เช่น จำนวนวันที่ร้อนเพิ่มขึ้น พื้นที่ฝนตกหนักมากขึ้น ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำแข็งในทะเลอาร์กติกละลาย มีการสูญเสียของสายพันธุ์พืชและสัตว์ การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ การลดลงของผลผลิต การลดลงของแนวปะการัง ความเสื่อมโทรมของที่ดิน ความแห้งแล้ง และความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น

 

ดังนั้นการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ มีหลักการคือ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโลกสุทธิประมาณ 45% ในปี ค.ศ. 2030 จากระดับของปี ค.ศ. 2010 และถึงระดับศูนย์สุทธิ ประมาณปี ค.ศ. 2050 แต่ทั้งนี้ความพยายามลดการปล่อย CO2 ให้เหลือศูนย์อาจไม่เพียงพอต่อการจำกัดภาวะโลกร้อนที่ 1.5 oC  จึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ (transformative systematic change) 4 ระบบหลัก คือ ระบบพลังงาน การใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบนิเวศ ระบบเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน และระบบอุตสาหกรรม และมีเครื่องมือเชิงนโยบายที่หลากหลาย เช่น การลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้นวัตกรรม กลไกด้านราคา และเครื่องมือเชิงนโยบายระหว่างประเทศ

สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนในการปล่อยและลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้แผนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศปี พ.ศ. 2564-2573 ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ความท้าทายหากของรายงานฉบับพิเศษดังกล่าว พบว่าประเทศไทยจะต้องมีความพยายามในการพัฒนานโยบายต่าง ๆ ที่สำคัญเพื่อตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่สูงขึ้นหรือปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Carbon)

สุดท้ายแล้วทุกประเทศต้องร่วมมือกันตามบริบทของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีหลายมิติที่เชื่อมโยงและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยตรงและโดยอ้อม และส่งผลกระทบและนำไปสู่ปัญหาด้านอื่น ๆ เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนานโยบาย และการนำเครื่องมือด้านนโยบายต่าง ๆ ไปใช้ ขึ้นอยู่กับมุมมองภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและเชื่อมโยงนโยบายอื่น ๆ แบบบูรณาการ และภาครัฐเองเป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนที่สำคัญ โดยต้องส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือของทุกภาคส่วน


แชร์ :

You may also like