ตามแผนการฉีดวัคซีนโควิดให้กับประชาชนในปี 2564 ศบค. กำหนดไว้ 100 ล้านโดส หรือ 50 ล้านคน ดังนั้นอัตราการฉีดวัคซีนของระยะเวลาที่เหลือจะอยู่ต้องทำให้ได้ 15 ล้านโดสต่อเดือน โดยต้องฉีด 5 แสนโดสขึ้นไปต่อวัน
วันนี้ (25 สิงหาคม) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. สรุปการจัดหาวัคซีนในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2564 ดังนี้
– สิงหาคม 13.8 ล้านโดส แบ่งเป็น ซิโนแวค 6.5 ล้านโดส / แอสตร้าเซนเนก้า 5.8 ล้านโดส / ไฟเซอร์ (บริจาค) 1.5 ล้านโดส
– กันยายน 15 ล้านโดส แบ่งเป็น ซิโนแวค 6 ล้านโดส / แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส / ไฟเซอร์ 2 ล้านโดส
– ตุลาคม 21 ล้านโดส แบ่งเป็น ซิโนแวค 6 ล้านโดส / แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส / ไฟเซอร์ 8 ล้านโดส
– พฤศจิกายน 17 ล้านโดส แบ่งเป็น แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส / ไฟเซอร์ 10 ล้านโดส
– ธันวาคม 17 ล้านโดส แบ่งเป็น แอสตร้าเซนเนก้า 7 ล้านโดส / ไฟเซอร์ 10 ล้านโดส
ตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 แอสตร้าเซนเนก้า แจ้งว่าจะส่งวัคซีนให้ได้อย่างน้อยเดือนละ 7 ล้านโดส หากมีกำลังผลิตมากขึ้นจะจัดสรรให้ประเทศไทยเพิ่มขึ้น
สำหรับ “วัคซีนไฟเซอร์” ที่เข้ามาแล้วในเดือนสิงหาคม 2564 เป็นวัคซีนบริจาค จำนวน 1.5 ล้านโดส
ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ที่รัฐจัดหาจะเริ่มทยอยเข้ามาตั้งแต่เดือนกันยายน-ธันวาคม 2564 รวม 30 ล้านโดส ดังนี้
– กันยายน 2 ล้านโดส
– ตุลาคม 8 ล้านโดส
– พฤศจิกายน 10 ล้านโดส
– ธันวาคม 10 ล้านโดส
สำหรับภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิดในประเทศไทย ถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เข็มที่ 1 สะสม 21,231,498 ราย เข็มที่ 2 สะสม 6,405,537 ราย
ตามแผนการจัดหาวัคซีนของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ในปี 2564 รวมประมาณ 120 ล้านโดส ดังนี้
– แอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส
– ซิโนแวค 31.1 ล้านโดส
– ไฟเซอร์ 30 ล้านโดส
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนทางเลือก อีก 2 ยี่ห้อ รวม 15 ล้านโดส
– ซิโนฟาร์ม 10 ล้านโดส จัดหาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
– โมเดอร์นา 5 ล้านโดส จัดหาโดยองค์การเภสัชกรรมและสภากาชาดไทย