HomeDigitalมิติใหม่การเล่นเกม! ยลโฉม “Microsoft x ปิกาจู” เวอร์ชัน Mixed Reality (MR)

มิติใหม่การเล่นเกม! ยลโฉม “Microsoft x ปิกาจู” เวอร์ชัน Mixed Reality (MR)

แชร์ :

microsoft mesh alex kipman niantic 3

สำหรับใครที่ยังมองภาพไม่ออกว่าคอนเทนต์ประเภท Mixed Reality (MR) จะเข้ามาอยู่ในชีวิตเรารูปแบบไหน การจับมือกันของ Microsoft กับผู้พัฒนาเกม Pokemon Go น่าจะเป็นคำตอบได้ดี โดยพวกเขาสร้างปิกาจูเวอร์ชัน Mixed Reality ที่มนุษย์สามารถเข้าไปทำความรู้จัก ให้อาหาร (เป็นลูกเบอรี่) และเป็นเพื่อนกันได้ รวมถึงพาไปแบทเทิลกับผู้เล่นคนอื่น ๆ ของเกมออกมาให้ยลโฉมแล้ว

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตัวช่วยสร้างปิกาจูเวอร์ชัน Mixed Reality ที่ทำได้อย่างน่ารักนี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นเครื่องมือของ Microsoft เองในชื่อ “Mesh” ที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้การพัฒนาคอนเทนต์ Mixed Reality เป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น และสามารถนำไปแสดงผลได้ในหลายแพลตฟอร์ม ทั้งอุปกรณ์ HoloLens ของ Microsoft เอง หรือแม้แต่แว่น Oculus ของ Facebook ก็ได้เช่นกัน

ความพิเศษที่มากไปกว่านั้นก็คือ ผู้เล่นคนอื่น ๆ ยังสามารถมองเห็นคอนเทนต์ที่สร้างขึ้นจากซอฟต์แวร์ Mesh นี้ได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติข้อนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมมองเห็นโอกาสในการประยุกต์ใช้มากขึ้น เช่น การจัดคอนเสิร์ต หรือการจัดประชุมทางไกล ที่อนาคต ผู้เข้าร่วมประชุมอาจสามารถ “Holoports” มาได้จากที่บ้าน แล้วก็สามารถเปลี่ยนหน้าตารูปร่างไปเป็นตัวอวาตาร์ที่ต้องการได้เช่นกัน (ในการเปิดตัว Mesh นี้ Alex Kipman ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีจาก Microsoft เองก็เข้าให้ข้อมูลผ่านตัวอวาตาร์)

ทั้งนี้ จุดอ่อนเพียงข้อเดียวของ Mesh ก็คือสิ่งที่พวกเขาทำกันนั้นเกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง ไม่ได้เกิดขึ้นในโลกจริง ๆ มากกว่า

microsoft mesh alex kipman niantic 5

จากอุตสาหกรรมราคาแพง สู่โลกความบันเทิง – การทำงาน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า นับตั้งแต่ Microsoft เปิดตัว HoloLens และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องไปตั้งแต่ปี 2015 การใช้งานเทคโนโลยีนี้ยังจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงลิ่ว เช่น การแพทย์ การผลิตชิ้นส่วนในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ไม่ใช่สำหรับโลกในยุค 2021 อีกต่อไป โดย ซาเทีย นาเดลลา (Satya Nadella) ซีอีโอ Microsoft กล่าวว่า Mesh ไม่ได้ออกแบบมาเพื่ออุปกรณ์สวมศีรษะ HoloLens เพียงรายเดียวอีกแล้ว แต่เขาต้องการให้ Mesh สามารถเข้าถึงได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์พีซี สมาร์ทโฟน ฯลฯ หรือจะให้แปลตรง ๆ ก็คือ ผู้ใช้งานอยู่ที่ไหน ใช้แพลตฟอร์มอะไร เครื่องมือแบบไหน Mesh ก็ต้องเข้าถึงได้

Microsoft บอกด้วยว่า บริษัทมีแผนจะเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ลงใน Mesh อีกในปีหน้า และจะบรรจุลงไปในแอป Microsoft Teams ของบริษัทด้วย

microsoft mesh alex kipman niantic 7

ผู้เล่นคนอื่นก็มองเห็นปิกาจูได้ และสามารถสั่งแบทเทิลกันได้ด้วย

ความสำเร็จของเกม Pokemon Go อาจเป็นกรณีศึกษาที่ดี เพราะ Pokemon Go ออกแบบให้ใช้งานได้บนสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในยุคนั้น แต่หากเทียบงบประมาณที่ Niantic พัฒนา Pokemon Go กับงบประมาณที่ Microsoft, Facebook, HP และอีกหลายค่ายทุ่มลงไปกับโปรเจ็คแว่น AR/VR/MR แล้วคงต้องบอกว่าเทียบกันไม่ได้เลย

การรุกพัฒนาในส่วนซอฟต์แวร์ Mesh ให้เข้าถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ในวงกว้างจึงถือเป็นก้าวของ Microsoft ที่น่าจับตา ที่สำคัญ หากมองย้อนไปในอดีต ชื่อของ Microsoft ก็คือบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในยุคคอมพิวเตอร์พีซีครองเมือง ด้วยระบบปฏิบัติการ Windows และ Office มาแล้ว ส่วนตอนนี้ ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของโลก AR/VR/MR ซอฟต์แวร์อย่าง Mesh ก็อาจเป็นความสำเร็จครั้งต่อไปของ Microsoft ได้เช่นกัน

Source

Source

 

 


แชร์ :

You may also like