HomeBrand Move !!พิษ Covid-19 ทำกำไร CRC ’63 ลดฮวบ 97.2% ตั้งเป้าลงทุนเพิ่ม 1.8 หมื่นล้านดันยอดขายโต10%

พิษ Covid-19 ทำกำไร CRC ’63 ลดฮวบ 97.2% ตั้งเป้าลงทุนเพิ่ม 1.8 หมื่นล้านดันยอดขายโต10%

แชร์ :

crc earning 2020 central retail

เปิดรายได้ “เซ็นทรัล รีเทล” (CRC) ไตรมาส 4 ปี 2563 ทำไปได้ 51,077 ล้านบาท ลดลง 18.9% กำไรสุทธิ 1,102 ล้านบาท ลดลง 83.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ขณะที่รายได้รวมของปี 2563 ซึ่งเป็นปีที่ธุรกิจได้รับผลกระทบจาก Covid-19 อย่างหนักนั้น เซ็นทรัลรีเทลทำไปได้ทั้งสิ้น 194,311 ล้านบาท ลดลง 12.8% และมีกำไรสุทธิ 341 ล้านบาท ลดลง 97.2% เมื่อเทียบกับปี 2562 เช่นกัน (ปี 2562 บริษัทมีกำไรสุทธิ 12,359 ล้านบาท)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัจจัยหลักที่ทำให้ผลการดำเนินงานออกมาในรูปดังกล่าวมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ที่บริษัทต้องปิดการให้บริการชั่วคราวในส่วนงานแฟชั่น และส่วนงานฮาร์ดไลน์ รวมถึงการจำกัดเวลาการให้บริการ และสถานการณ์ก็ยังไม่คลี่คลาย มีการระบาดเป็นระยะในวงจำกัดของแต่ละประเทศอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการระบาดครั้งใหญ่รอบที่ 2 ในเดือนธันวาคมในประเทศไทย และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นมาในประเทศอิตาลี ประกอบกับบริษัทยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานบัญชีใหม่ ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ปี 2563 บริษัทมีผลประกอบการดังที่ปรากฏ

อย่างไรก็ดี หากมองในส่วนของกำไรสุทธิ ก็ต้องบอกว่า บริษัทสามารถพลิกฟื้นกลับมาได้ระดับหนึ่งเลยทีเดียว จากยอดขาดทุนสุทธิ 760 ล้านบาทเมื่อช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ให้กลับมาเป็นกำไรได้ในที่สุด

central retail earning 2020

ข่าวดีอีกข้อก็คือ ยอดขายบนช่องทางออมนิแชแนลของบริษัทที่เติบโต 180% คิดเป็นสัดส่วนยอดขายเกือบ 10% ซึ่งนำไปสู่การประกาศจ่ายเงินปันผล 0.40 บาทต่อหุ้น

คุณญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC กล่าวถึงผลประกอบการปี 2563 ว่า “เซ็นทรัล รีเทล ได้ปรับตัวแบบ V-shape ตั้งแต่ในไตรมาสที่ 3/2563 และไตรมาสที่ 4/2563 เราก็ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่อง โดยมีรายได้รวม 51,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้น QoQ  +7% และทำกำไร 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น QoQ +27% ทำให้เซ็นทรัล รีเทล สามารถปิดปี 2563 ด้วยรายได้รวม 194,311 ล้านบาท (ลดลง 13%) และทำกำไรสุทธิ 341 ล้านบาท (ลดลง 97%)”

ทางเซ็นทรัลรีเทลยังได้เผยถึงพัฒนาการที่สำคัญของบริษัทในปี 2563 ในด้านต่าง ๆ ด้วย ดังนี้

1. ด้านออมนิแชแนล โดยข้อมูล ณ สิ้นปีพบว่า ยอดขายออมนิแชแนลอยู่ที่ 9.5% ของยอดขายรวมของบริษัท ซึ่งมาจากการเปิดเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของธุรกิจในเครือ เช่น www.rinascente.it ในอิตาลี หรือ www.thaiwatsadu.com ของกลุ่มวัสดุก่อสร้าง นอกจากนั้นยังมีแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ อย่าง Central Mobile และได้ปรับปรุงแอปให้กับ Supersports กับ Tops ด้วย

ส่วนช่องทาง Social Commerce ทางเซ็นทรัลรีเทลบอกว่าได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเช่น การช้อปปิ้งผ่านโทรศัพท์, การช้อปผ่าน LINE Messenger, การช้อปผ่าน Facebook Live รวมถึงมีการเปิดช่องทางการส่งและรับสินค้าให้หลากหลายขึ้น เช่น เปิดให้รับสินค้าได้แบบ Driv Thru หรือการรับสินค้าที่สาขาใกล้บ้านภายในเวลา 1 ชั่วโมงหลังจากสั่งซื้อผ่านเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือ Mobile App เป็นต้น

2. ด้านการ Transformation and Synergies Projects ในปี 2563 ได้มีการผนึกกำลังห้างเซ็นทรัลและโรบินสันเพื่อยกระดับห้างสรรพสินค้า 73 แห่งทั่วประเทศ ให้มีความหลากหลายของแบรนด์สินค้า และขยายธุรกิจให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยได้มีการปรับเปลี่ยนห้างโรบินสันสาขาเมกะบางนาและอุดรธานีเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเพื่อให้เข้ากับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงมีแปนจะปรับอีกประมาณ 4 – 5 สาขา ซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2566

ธุรกิจฟู้ดก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยหลังจากที่บริษัทได้เข้าไปถือหุ้น FamilyMart 100% เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็ทำให้บริษัทสามารถบริหารงาน FamilyMart ได้เต็มรูปแบบ และเพิ่มโอกาสในการขยายกิจการในรูปแบบ Franchise มากขึ้น

3. การขยายและปรับปรุงสาขา

ในปี 2563 มีการขยายสาขาที่เป็น Strategic Format คือการเปิดโรบินสัน ไลฟสไตล์ เซ็นเตอร์ 1 สาขาและไทวัสดุ 4 สาขาในประเทศไทย และเปิด GO! Mall 4 สาขาในประเทศเวียดนาม รวมถึงปรับปรุงสาขา Big C Hypermarket และปรับภาพลักษณ์เป็นแบรนด์ GO! อีก 5 สาขา

ส่วนในอิตาลี มีการปรับปรุงห้างสรรพสินค้าสาขา Flagship Milan และ Florence เพิ่มเติม ด้านประเทศเวียดนาม มีการพัฒนาโมเดลร้านค้าใหม่ ๆ เช่น go! (ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็ก) KUBO เครื่องเล่นสำหรับเด็ก และ LookKool ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ เป็นต้น

สุดท้ายในประเทศไทย โมเดลที่เกิดขึ้นของเซ็นทรัลรีเทลมีตั้แต่ Power x B2S, Velo (ร้านอุปกรณ์กีฬาประเภทจักรยาน), Healthiful ร้านสินค้าและอาหารเพื่อสุขภาพ, KIS แฟล็กชิพด้านบิวตี้สโตร์, PETSTER สินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

ปี’64 ลงทุนเพิ่ม 18,000 ล้านบาท ตั้งเป้าโต 10%

สำหรับแผนธุรกิจปี 2564 นั้น ทางเซ็นทรัลรีเทลได้ยึดโยงจากยุทธศาสตร์หลัก “New Central, New Retail” ที่เคยประกาศไว้เมื่อปี 2560 ที่เซ็นทรัลรีเทลต้องการเป็น “ศูนย์กลางชีวิตของผู้คน” (Central of Life) ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาอีโคซิสเต็มให้เป็น “New Central Retail Lifestyle & Food Platform” รายใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนำไปสู่การพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ ใน 6 ด้าน ได้แก่

  1. การปรับปรุงและขยายรูปแบบร้านใหม่ ในทุกกลุ่มธุรกิจทั้งกลุ่มแฟชั่น ฟู้ด และฮาร์ดไลน์ ให้มีความทันสมัยและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เพื่อสร้างประสบการณ์ออมนิแชแนลใหม่ ๆ (Omnichannel Experience) ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
  2. เปิดตัว CENTRAL โมบายล์แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อทุกกลุ่มธุรกิจเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งปรับโครงสร้าง Big Data ครั้งใหญ่ ของฐานลูกค้า Loyalty ที่มีอยู่ในระบบถึง 24 ล้านคน ด้วยการสร้าง Hyper-personalization Offer แพลตฟอร์มใหม่นี้รวบรวมสินค้าในเครือเซ็นทรัล รีเทล มาไว้ในที่เดียว เพื่อมอบประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าในทุกกลุ่มสินค้า โดยขณะนี้มียอดผู้ใช้ บริการแล้วกว่า 2 ล้านราย ภายหลังการเปิดตัวมาได้เพียง 2 เดือน
  3. ร่วมมือกับพันธมิตรหลายค่าย ได้แก่ เจดี เซ็นทรัล มาร์เก็ตเพลส (JD Central Marketplace) และ เจดี ดิจิทัล (JD Digital) สร้างบริการการจ่ายเงินแบบดิจิทัลและโซลูชั่นด้านธุรกรรมทางการเงิน DOLFIN และ แกร็บ (Grab) ทำควิกคอมเมิร์ซ (Quick Commerce) ให้บริการออนดีมานด์ โดยเริ่มจากบริการการสั่งอาหารและ Tops Grocery ผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้ขยายไปยังกลุ่มสินค้าอื่น ๆ ของกลุ่มเซ็นทรัล เพื่อตอบสนองความต้องการแบบ On-demand ให้ครบทุกกลุ่มสินค้าทั่วประเทศCentral App-Central Retail
  4. เข้าซื้อกิจการ เสริมความแข็งแกร่งของกลุ่มฮาร์ดไลน์ โดยทุ่มงบลงทุนกว่า 12,000 ล้านบาท เพื่อซื้อกิจการ ออฟฟิศเมตบีทูเอส และเมพ (ร้านอีบุ๊คอันดับหนึ่ง) รวมไปถึงแพลตฟอร์มออมนิแชแนลสำหรับกลุ่มลูกค้าองค์กร (B2B Omnichannel Platform) ล่าสุดได้เปิดตัวแฟลกชิปสโตร์แห่งใหม่ “บีทูเอส ธิงค์สเปซ” คอนเซ็ปต์สโตร์รูปแบบใหม่ ที่เซ็นทรัล ชิดลม และได้รับการตอบรับจากลูกค้าดีเกินคาด
  5. ไทวัสดุ ภายใต้กลุ่มฮาร์ดไลน์ จากการเริ่มธุรกิจมาเพียง 11 ปี ขณะนี้ได้ขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งนเรื่องของรายได้ และเบอร์หนึ่งของออมนิแชแนลด้านค้าปลีกวัสดุตกแต่งบ้าน (Omnichannel Home Improvement Retailer) ซึ่งปีที่ผ่านมาสามารถทำรายได้รวมเกือบ 28,000 ล้านบาท พร้อมวางแผนเร่งเครื่องขยายเครือข่ายธุรกิจทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อเพิ่มยอดขายขึ้นอีกเท่าตัวภายใน 3-5 ปี 
  6. ธุรกิจกลุ่มฟู้ด โดยในประเทศไทยมีการยกระดับและเปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสบการณ์ให้เป็นแหล่งรวมอาหาร หรือ Food Destination ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ทั้งการปรับสาขาลาดพร้าวให้เป็น เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และปรับสาขาเวสต์เกตและศาลายา อย่างต่อเนื่อง ส่วนในเวียดนาม ก็จะเน้นธุรกิจฟู้ดและศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ ภายใต้แบรนด์ Big C/GO! โดยนำความสำเร็จของ ท็อปส์ มาร์เก็ต ไปเปิดที่เวียดนาม และขยายซูเปอร์มาร์เก็ต go! ไปยังจังหวัดรอง เพื่อให้ครอบคลุมทั้งประเทศเวียดนามภายใน ปี ซึ่งในขณะนี้ เซ็นทรัล รีเทล ได้ครอบคลุมมากกว่า 30 จังหวัดหลักในเวียดนามแล้ว (คิดเป็นสัดส่วน 85% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศเวียดนาม) และจะขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพราะเวียดนามมีศักยภาพของธุรกิจฟู้ดและศูนย์การค้าไลฟ์สไตล์ มากกว่าประเทศไทยถึง เท่า

ปี 2564 ยังเป็นปีที่มีความท้าทาย แต่ เซ็นทรัล รีเทล ยังคงมุ่งมั่นและมีความมั่นใจว่าเราจะสามารถผลักดันธุรกิจให้โตมากกว่า 10% ด้วยงบลงทุน 18,000 ล้านบาทที่ได้วางแผนไว้ เพื่อเสริมสร้าง เซ็นทรัล รีเทล ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ตอกย้ำความเป็นผู้นำกลุ่มธุรกิจค้าปลีกของคนไทย” คุณญนน์กล่าวปิดท้าย

Source


แชร์ :

You may also like