HomeDigitalAirAsia เตรียมดันตัวเองเป็น Super App แข่ง Gojek-Grab ทดแทนรายได้การบินหดหาย

AirAsia เตรียมดันตัวเองเป็น Super App แข่ง Gojek-Grab ทดแทนรายได้การบินหดหาย

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ไม่ใช่ปาท่องโก๋แบบการบินไทย และไม่ใช่การนำเครื่องบินขนาดยักษ์มาเปิดเป็นภัตตาคารแบบสิงคโปร์แอร์ไลน์ แต่แผนพลิกธุรกิจของแอร์เอเชียอาจเป็นการหันไปเอาดีด้านอีคอมเมิร์ซ และเพย์เมนต์ (Payments) แทนด้วยการประกาศว่าพวกเขาจะขอเป็น “Super App” อีกหนึ่งรายของเอเชีย

โดยการเปิดเผยครั้งนี้มีขึ้นผ่าน Karen Chan ซีอีโอของ AirAsia.com ในงานสัมมนาออนไลน์ที่จัดขึ้นโดย Skift เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่ง Chan มองว่า ธุรกิจการบินในขณะนี้ยังไม่สามารถฟื้นได้ในทันทีทันใด และอาจต้องใช้เวลา 1 – 2 ปีกว่าจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง ซึ่งกว่าจะถึงวันนั้น รายได้ที่จะเข้ามาทดแทนจึงต้องมาจากการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก

การไม่มีรายได้จากการบินมาหล่อเลี้ยงทำให้ผลประกอบการครึ่งปีแรกของแอร์เอเชียปีนี้ขาดทุนไปถึง 1,800 ล้านริงกิต ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ไม่มี Covid-19 อย่างปี 2019 แล้วพบว่าแตกต่างกันมาก เนื่องจากปี 2019 บริษัททำกำไรไปได้ถึง 111.78 ล้านริงกิตในหกเดือนแรกเลยทีเดียว และยังทำให้แอร์เอเชียต้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาเลเซียเป็นสินเชื่อมูลค่า 1 พันล้านริงกิตเพื่อต่ออายุกิจการ ไม่เพียงเท่านั้น บริษัทยังมีการลดพนักงานลงไปมากกว่า 10%, ลดจำนวนเครื่องบิน และยุติกิจการร่วมทุนในประเทศญี่ปุ่นด้วย

เมื่อมองถึงรายได้จากภายในประเทศ การมุ่งไปเป็นซูเปอร์แอปตามการเปิดเผยของ Karen Chan จึงน่าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่ที่มีความเป็นไปได้สูงทีเดียว โดย Chan บอกว่า บริษัทจะมีการรวมช่องทางต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งบนโมบายล์เว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เพื่อให้มันกลายเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่ไม่เพียงแค่สั่งซื้อ แต่ยังสามารถไปส่งให้ถึงบ้าน และจ่ายโอนเงินระหว่างกันได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้งานสามารถสั่งซื้อสินค้าปลอดภาษี แล้วก็จะมีคนไปส่งให้ถึงบ้านได้เลยนั่นเอง

“เรากำลังก้าวไปสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซและบริการทางการเงิน” Chan บอกพร้อมชูจุดเด่นของแอร์เอเชียที่มีฐานผู้ใช้งานมากถึง 75 ล้านคน และยอดการใช้จ่ายของผู้ใช้งานก็สูงกว่าเมื่อเทียบกับซูเปอร์แอปรายอื่น ๆ อย่าง Gojek หรือ Grab ที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ หากแอร์เอเชียลงมาแข่งเพื่อจะเป็นซูเปอร์แอปจริง ก็จะกลายเป็นว่าทั้ง 3 บริษัทที่พัฒนาซูเปอร์แอปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนนี้ล้วนมีจุดเริ่มต้นมาจาก “การเดินทาง” ด้วยกันหมดเลย เพียงแต่เป็นการเดินทางบนภาคพื้นดินสองราย และการเดินทางทางอากาศอีกหนึ่งรายเท่านั้น

Source


แชร์ :

You may also like