HomeBrand Move !!จากยุคโปรตีนเกษตร สู่เมกะเทรนด์ Plant-Based Food กับโอกาส NRF ปั้นฐานผลิตเจาะตลาดโลก

จากยุคโปรตีนเกษตร สู่เมกะเทรนด์ Plant-Based Food กับโอกาส NRF ปั้นฐานผลิตเจาะตลาดโลก

แชร์ :

Photo Credit : shutterstock

หนึ่งในเมกะเทรนด์กลุ่มอาหาร Plant-Based Food หรืออาหารโปรตีนจากพืช ทดแทนเนื้อสัตว์ กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกระแสผู้บริโภคกลุ่ม Vegan ที่ใส่ใจการรับประทานอาหารเพื่อดูแลสุขภาพ และให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นโอกาสของผู้ผลิตอาหารแห่งอนาคต (Future of Food) สะท้อนได้จากการเติบโตของ Beyond Meat สตาร์ทอัพโปรตีนทางเลือกสัญชาติอเมริกัน ที่ทำสถิติราคา IPO ในตลาด NASDAQ พุ่งแรงสุดในปี 2019 และนี่คือเส้นทางที่ NRF หวังเดินตามรอยกับการ IPO ตลาดหุ้นไทย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หากย้อนวิวัฒนาการของ Plant-Based Food เวอร์ชั่น 1.0 ยุค 30 ปีก่อน ก็คือ โปรตีนเกษตร ของชาวกินเจ นั่นเอง มาในยุค 2.0 เมื่อ 3-4 ปีก่อนการเปิดตัว Plant-Based Food กับเนื้อเทียมสินค้าแฮมเบอร์เกอร์ ของสตาร์ทอัพ Beyond Meat และ Impossible Foods จากสหรัฐฯ สร้างเทรนด์การบริโภคโปรตีนทางเลือกในกลุ่มมิลเลนเนียลส์

มาถึงปัจจุบันยุค 3.0 การพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ของ Plant-Based Food ทำได้เร็วขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการออกเวอร์ชั่นใหม่ “เป้าหมาย” คือ การสร้างนวัตกรรมทำให้รสชาติ เนื้อสัมผัส และกลิ่นเหมือนของจริงมากที่สุด สเต็ปต่อไปก็ต้องทำให้ ราคาเท่ากับเนื้อสัตว์และพัฒนาต่อไปให้ถูกกว่าเนื้อสัตว์

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF

เมกะเทรนด์ Plant-Based Food เป็นธุรกิจที่ บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF ผู้มีประสบการณ์ในธุรกิจผลิตอาหารมากว่า 25 ปี เห็นโอกาสการเติบโตทั่วโลกและตลาดไทย ในฐานะ ผู้ผลิตอาหารแห่งอนาคต ไม่เพียงแค่นั้น กลุ่มดุสิตธานี ในนาม “ดุสิตฟู้ดส์” ก็มั่นใจกับเทรนด์ Future of Food จึงได้เข้ามาร่วมทุนถือหุ้น 26% ใน NRF เมื่อเดือนมีนาคม 2561 เพื่อพัฒนาบิสซิเนสโมเดลร่วมกันทำธุรกิจอาหารทั่วโลก

สร้างโรงงาน Plant-Based Food รายแรกของไทย

สำหรับ NRF เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปรุงรสอาหาร อาหารสำเร็จรูป เครื่องปรุงอาหารมังสวิรัติ อาหารโปรตีนจากพืช อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมรับประทาน และเครื่องดื่มสำเร็จรูปชนิดผงและน้ำ รวมถึงสินค้าอุปโภค ทั้งการรับจ้างผลิต OEM และแบรนด์ของตัวเอง 6 แบรนด์  คือ พ่อขวัญ, Lee Brand, Thai Delight ,Shanggie ,DeDe และ Sabzu รวมสินค้าทั้งหมดกว่า 2,000 รายการ ส่งออก 25 ประเทศ

คุณแดน ปฐมวาณิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ NRF กล่าวว่าธุรกิจแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ  1. Ethnic Food (สินค้าอาหารที่ไม่ใช่ของประเทศนั้น) รับจ้างผลิต OEM และแบรนด์ของตัวเอง สัดส่วน 89%  2. Plant-Based Food ผลิตภัณฑ์อาหารโปรตีนจากพืช สัดส่วน 7% และ 3.Functional Product  สัดส่วน 4%

สินค้ากลุ่ม Ethnic Food

แผนธุรกิจกลุ่ม Plant-Based Food ในช่วง 4 ปีนี้ หรือในปี 2567 ตั้งเป้าหมายมีรายได้จากผลิตภัณฑ์ Plant-Based Food สัดส่วน 30-40% เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ จะมีการก่อสร้างโรงงานผลิตอาหารโปรตีนจากพืชแห่งใหม่ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกับโรงงานผลิตเส้น และโรงงานผลิตซอสและเครื่องปรุงในกลุ่ม Ethnic Food ถือเป็นโรงงาน  Plant-Based Food โดยเฉพาะแห่งแรกในประเทศไทย

ส่วนการผลิต Plant-Based Food ปัจจุบันอยู่ในโรงงาน บริษัท ซิตี้ฟูด จำกัด จังหวัดนครปฐมและจังหวัดราชบุรี ซึ่ง NRF เข้าซื้อหุ้นอีก 85% ในปี 2563 โดยเนื้อเทียมที่ผลิตมาจากขนุนและมะเขือม่วง เส้นบุก กำลังพัฒนาการผลิตจากพืชประเภทสาหร่าย ถั่วเขียว ถั่วปากอ้า เพิ่มเติม

ไม่เพียงแค่นั้น NRF ได้วางแผนขยายฐานการผลิต Plant-Based Food ทั่วโลก ด้วยการร่วมทุนกับผู้ผลิตในต่างประเทศ ที่ดำเนินการไปแล้วในเดือนพฤษภาคม 2563  คือ The Brecks Company หรือ เบรคส์ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 27 ปี ในธุรกิจผลิตอาหารโปรตีนจากพืช โดยร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่ภายใต้ชื่อ Plant and Bean Ltd. ที่ประเทศอังกฤษ รับจ้างผลิตอาหารโปรตีนจากพืชให้กับบริษัทชั้นนำของโลก เช่น Quorn, Schouten, Sainsbury’s  ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 3,000 ตัน จะเพิ่มเป็น 36,000 ตัน ภายในปี 2564

รวมถึงยังเป็นพันธมิตรกับ Meatless Farm ในประเทศอังกฤษ ผู้ผลิตอาหารจำพวกแฮมเบอร์เกอร์เนื้อเทียม โปรตีนจาก ข้าว ถั่ว และหัวไชเท้า โดยจะเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับ Meatless Farm ในประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชีย

เมนูอาหาร Plant-Based Food

ลงทุนสตาร์ทอัพ-ปั้นฐานผลิตเจาะตลาดโลก

ปัจจุบันได้เข้าร่วมลงทุนใน Big Idea Venture และกองทุนนิวโปรตีนขนาดกองทุน 1,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นกองทุนแบบ Accelerator ที่ให้เงินทุนสนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับอาหารโปรตีนจากพืชพร้อมทั้งคำปรึกษาในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีเป้าหมายการลงทุนประมาณ 100 สตาร์ทอัพ ภายใน 3 ปี การเข้าไปลงทุนดังกล่าวทำให้มีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการผลิต Plant-Based Food

ล่าสุด NRF ได้เข้าลงทุนใน Phuture Food Limited (Phuture) หนึ่งในสตาร์ทอัพด้าน Food Tech ในเอเชียที่ได้รับความสนใจจากบริษัทลงทุนระดับโลก เน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์หมูสับเทียมที่ผลิตจากโปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นหลัก เพื่อโอกาสเป็นผู้ผลิตสินค้าให้กับ Phuture หลังผลิตภัณฑ์พร้อมออกวางจำหน่าย

นอกจากนี้มองโอกาสเข้าไปร่วมทุนในโรงงาน Plant-Based Food ในสหรัฐฯ และจีน เพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมฐานการผลิต Plant-Based Food ทั่วโลก

กลยุทธ์ของ NRF ในช่วง 4 ปีนี้  “เราต้องการเป็นเหมือน Foxconn ของฝั่ง Plant-Based Food”  จะเห็นได้ว่าแบรนด์ระดับโลกอย่าง Apple ไม่มีโรงงานผลิตเอง แต่จ้าง Foxconn เป็นฐานการผลิตไอโฟนให้ โดยที่ Apple โฟกัสเรื่องแบรนด์ พัฒนาเทคโนโลยี โลจิสติกส์ รีเทลช็อป เป็นหลัก

NRF เองจึงวางบิสซิเนสโมเดล ในกลุ่ม Plant-Based Food  โฟกัส “ต้นน้ำและกลางน้ำ” โดยมีโปรดักชั่นเป็น Core Business ดังนั้นแบรนด์ใหญ่ที่ต้องการเจาะตลาด Plant-Based Food ในเอเชีย จึงมีโอกาสเป็นพันธมิตรกับ NRF เพื่อใช้เป็นฐานผลิต รับเมกะเทรนด์ Future of Food ที่กำลังเติบโต

เมนูอาหาร Plant-Based

ธุรกิจ Plant-Based Food ไอพีโอรายแรก

NRF ได้ยื่นไฟลิ่งเตรียมความพร้อมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)  จำนวน 340 ล้านหุ้นในปีนี้  ถือเป็น ธุรกิจ Plant-Based Food รายแรกที่เข้าตลาด

โดยมีเป้าหมายระยะยาวเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารแห่งอนาคต ด้วยยอดขาย 3,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 ภายใต้กลยุทธ์การเจาะตลาดอาหารกลุ่ม Specialty Food ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกและมีอัตราการเติบโตสูง


แชร์ :

You may also like