HomeDTACdtac Business คืออะไร ออกมาเพื่อใคร และทำไมต้องเปิดตัวในเวลานี้

dtac Business คืออะไร ออกมาเพื่อใคร และทำไมต้องเปิดตัวในเวลานี้

แชร์ :

คุณราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจองค์กรและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค

เป็นชื่อที่คาดว่าในอนาคตจะมีบทบาทมากทีเดียวสำหรับ dtac Business หน่วยธุรกิจใหม่ของดีแทคที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้เพื่อสนับสนุนธุรกิจไทยในด้านเทคโนโลยี และการใช้งานเครือข่ายโดยเฉพาะ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

โดยสาเหตุที่ทำให้ดีแทคต้องเปิดตัว dtac Business ในเวลานี้ มาจากการพบความจริงข้อหนึ่งที่ว่า ธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะ SME จำนวนไม่น้อย ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานให้ออกจากกรอบเดิม ๆ ของตัวเองได้ (แม้จะทราบดีว่าต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองก็ตาม) ขณะที่พฤติกรรมผู้บริโภคนั้นเปลี่ยนไปไกลแล้ว ยกตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น 5.6 เท่าในช่วงที่ผ่านมา (อ้างอิงจากการใช้สิทธิพิเศษบนแอปพลิเคชัน dtac) หรือพฤติกรรมการชำระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าถึง 3 พันล้านบาทในช่วงเดือนมกราคม – มิถุนายน 2020 (อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย)

ที่น่าสนใจไปกว่านั้นก็คือ ดีแทคพบว่า ธุรกิจจำนวนไม่น้อยอยากเปลี่ยนแปลง เพราะทราบดีว่า ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนี้ วิกฤติทางเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบให้ผู้ประกอบบางรายไม่สามารถไปต่อได้เลยทีเดียว แต่สิ่งที่สกัดเขาเอาไว้ก็คือ การขาดความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยียุคใหม่อย่างคลาวด์ หรือ IoT ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายพบว่า การลงทุนด้านเทคโนโลยีมีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าจะแบกรับได้

ด้วยเหตุนี้ คุณราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจองค์กรและธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทคจึงมองว่า การเปิดตัว dtac Business เพื่อเข้ามาช่วยบริษัทในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีขนาดใหญ่หรือเล็กให้เปลี่ยนผ่านไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในยุคต่อไปนั่นเอง

โดยโซลูชันที่ dtac Business เตรียมไว้ในระยะแรกประกอบด้วย 3 โซลูชัน ได้แก่

  • Mobility solutions หรือโซลูชันด้านการสื่อสาร เช่น การเปิดตัวซิม WorryFree เวอร์ชันใหม่ ที่คุณราจีฟเผยว่า ที่ผ่านมา ปัญหาที่ลูกค้าเจอก็คือ ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างลูกค้าเก่ากับลูกค้าใหม่ เนื่องจากลูกค้าใหม่จะได้โปรโมชันที่ดีกว่าเสมอ ด้วยเหตุนี้ ซิม WorryFree จึงจะอัปเกรดแพ็กเกจให้เท่าเทียมกันทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่โดยอัตโนมัติ นอกจากนั้น Mobility Solutions ยังรวมถึง อุปกรณ์สื่อสารและ Virtual PBX สำหรับกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยให้ลูกค้ากลุ่มธุรกิจสามารถบริหารค่าโทรและอินเทอร์เน็ตได้ดีขึ้น
  • IoT Solutions ในส่วนนี้เป็นการทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ โดยดีแทคสามารถให้คำปรึกษาการลงทุนโครงการ IoT ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมกันนี้ ทางดีแทคจะมีแพลตฟอร์มกลางอยู่แล้ว พาร์ทเนอร์เพียงพัฒนาแอปพลิเคชันตาม Requirement ของลูกค้า และนำมาเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มของดีแทคก็สามารถใช้งานได้เลย โดยหากเป็น Requirement ที่ไม่ซับซ้อนนัก อาจสามารถพัฒนาและส่งมอบโซลูชันด้าน IoT นี้ให้กับลูกค้าได้โดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการใช้ IoT นำร่องกับลูกค้าของดีแทคในภาคการเกษตร หรือการใช้ IoT กับตู้สวิทช์บอร์ด หรือตู้ MDB (Main Distribution Board)
  • SmartConnect เป็น Cloud Solutions ที่ดีแทครับบทเป็นผู้รวบรวมคลาวด์จากหลากหลายผู้ให้บริการมาให้ภาคธุรกิจได้ใช้งาน โดยที่ภาคธุรกิจไม่ต้องลงทุนซื้ออุปกรณ์และระบบเครือข่ายด้วยตัวเอง นอกจากนั้น ดีแทค ยังมีการปรับแต่งคลาวด์ของพาร์ทเนอร์เพิ่มเติม เพื่อให้การเข้าถึงทำได้รวดเร็วขึ้นด้วย

ทั้งนี้เมื่อถามว่า มีอุตสาหกรรมที่ดีแทคโฟกัสเป็นพิเศษหรือไม่ คุณราจีฟเผยว่า ในเบื้องต้นอาจยังไม่มี แต่ปีหน้า อาจมีการพัฒนาโซลูชันสำหรับอุตสาหกรรมแบบเฉพาะเจาะจงออกมาได้เช่นกัน

“เราไม่ได้โฟกัสว่า คู่แข่งมีอะไร แล้วเรามีอะไร ต้องมีให้เท่าคู่แข่งไหมถึงจะแข่งกันได้ แต่ dtac Business โฟกัสที่ความต้องการของลูกค้า และจะสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนั้น ๆ” คุณราจีฟกล่าวปิดท้าย


แชร์ :

You may also like