HomeDigitalรู้จัก “Ironov” ดีไซเนอร์ AI จากรัสเซียที่สามารถออกแบบโลโก้ให้ลูกค้าได้จริง

รู้จัก “Ironov” ดีไซเนอร์ AI จากรัสเซียที่สามารถออกแบบโลโก้ให้ลูกค้าได้จริง

แชร์ :

Nikolay Ironov เป็นชื่อของดีไซน์เนอร์ลึกลับที่ทำงานออกแบบโลโก้ให้กับ influencer, ร้านอาหาร, แอปและผลิตภัณฑ์ใหม่มากมายเป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้ว โดยที่ไม่เคยมีลูกค้าคนไหนได้เห็นหน้าหรือพูดคุยกับเขามาก่อน ทราบแต่เพียงว่าเขาเป็นพนักงานคนสำคัญของบริษัทออกแบบของรัสเซียอย่าง Lebedev Studio และเมื่อเปิดดูงานในพอร์ทของ Ironov ที่ทำให้กับแบรนด์ต่าง ๆ พบว่าเต็มไปด้วยเอกลักษณ์ที่โดดเด่น แถมมาพร้อมความรวดเร็วระดับปีศาจ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เฉลยเลยก็ได้ Ironov ไม่ใช่คน เขาเป็น AI ที่บริษัทพัฒนาขึ้น และถูกเทรนให้เชี่ยวชาญการใช้เครื่องมือสร้างภาพเวกเตอร์ ส่งผลให้ Ironov สามารถออกแบบโลโก้ได้อย่างมหัศจรรย์ แถมลูกค้าก็ดูจะชอบดีไซน์ของ Ironov เสียด้วย

ตัวอย่างงานออกแบบของ Ironov

การใช้ AI ในลักษณะนี้พบว่าได้ผลงานที่มีความซับซ้อน และน่าสนใจมากกว่าเครื่องมือสร้างโลโก้แบบกึ่งสำเร็จรูปทั่วไป เพราะมีการทำงานร่วมกับดีไซเนอร์ที่เป็นมนุษย์ โดยรูปแบบการทำงานก็คือ ดีไซเนอร์มนุษย์จะป้อนข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบริษัทลูกค้าลงไปก่อน จากข้อมูลนั้น AI จะเลือกคีย์เวิร์ดเพื่อมาสร้างให้เป็นภาพ เช่น หากให้ออกแบบโลโก้สำหรับ Explosive PR Agency ระบบอาจจะเลือกใช้รูประเบิดมาออกแบบ หรือถ้าบริษัทชื่อ Pilot ระบบก็อาจเลือกรูปทรงที่เหมือนปีกขนาดใหญ่ให้ ฯลฯ ซึ่งบางครั้งผลงานก็ออกนอกกรอบจนดูเหลือเชื่อไปเลยทีเดียว

ความจริงแล้วการออกแบบโลโก้ด้วย AI ไม่ใช่เรื่องใหม่ บางแบรนด์ได้มีการออกแบบโลโก้ของตัวเองด้วย AI มาตั้งแต่แรกแล้ว ข้อดีก็คือพวกเขาสามารถปรับเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ โดยไม่หลุดจากคาแรกเตอร์ของตัวเอง

ทาง Lebedev Studio มองด้วยว่า การพัฒนา AI อย่าง Ironov นี้ไม่ได้ทำเพื่อกีดกันดีไซเนอร์มนุษย์ออกไปจากงานออกแบบ แต่เขามองว่าเป็นการยกระดับดีไซเนอร์มนุษย์ไปสู่ Art Director นั่นคือคอยเลือกผลงานที่ดีที่สุดที่ AI สร้างสรรค์ขึ้นไปใช้งานดีกว่า และสิ่งที่ทำให้ Ironov น่าประทับใจมากขึ้นก็คือ ผลงานของเขาสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง (อย่างน้อยเว็บไซต์ thenextweb.com ที่ไปสัมภาษณ์ก็ดูจะพอใจกับโลโก้ที่ Ironov ออกแบบให้มากทีเดียว) นั่นเลยทำให้วงการออกแบบมองเห็นแล้วว่า การได้ร่วมงานกับ AI ในการสร้างงานศิลปะไม่ใช่อนาคตที่ไกลเกินเอื้อมอีกต่อไปแล้ว

Source

Source


แชร์ :

You may also like