HomeBrand Move !!จากถุงปูน ‘SCG-ตราเสือ’ สู่ Lifestyle Item ต้นแบบกระเป๋ารักษ์โลก Upcycle ‘คิด-จาก-ถุง’

จากถุงปูน ‘SCG-ตราเสือ’ สู่ Lifestyle Item ต้นแบบกระเป๋ารักษ์โลก Upcycle ‘คิด-จาก-ถุง’

แชร์ :

กระแสรักษ์โลกที่เบ่งบานในปัจจุบัน ทำให้เห็นการขับเคลื่อนจากหลายภาคส่วน ​ที่ต่างพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในวาระแห่งโลกครั้งนี้ โดยเฉพาะการเติบโตของเทรนด์ Circular Economy หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน ในการใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เทรนด์ดังกล่าวอาจมองเป็นวิวัฒนาการที่เกิดขึ้น ตามแนวทางแห่งการสร้างความยั่งยืนก็ว่าได้ เพราะเป็นการต่อยอด และสร้างประโยชน์ให้วัสดุเหลือใช้ในธุรกิจ ในการนำไปสร้างประโยชน์ได้เพิ่มมากขึ้นหรือ Upcycle นอกเหนือจากแค่การนำวัสดุที่ใช้แล้วไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลแบบเดิมๆ เหมือนที่ผ่านมา

สำหรับหนึ่งในองค์กรของประเทศไทย รายแรกๆ ในการเริ่มบุกเบิกและสนับสนุนแนวทางดังกล่าว ได้แก่ เอสซีจี ที่ยึดแนวทางปฏิบัติ ที่เรียกว่า SCG Circular way เพื่อรักษาคุณค่าของทรัพยากร ผ่านการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด และลดการใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อยที่สุด ​เป็นการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบเดิมๆ ที่เคยใช้ทรัพยากรแบบ Take-Make-Dispose มาเป็น Make-Use-Return ​เพื่อเป็นอีกหนึ่งโซลูขั่นส์ในการทำธุรกิจควบคู่ไปกับการสร้างความยั่งยืนให้แก่โลก

ต่อยอด Collaborate Project

โครงการที่เอสซีจีดำเนินการและได้รับความสนใจจากสังคม จนกลายเป็นต้นแบบและแรงบันดาลใจให้หลายๆ องค์กรนำไปต่อยอดแนวทางไปในแนวกว้างมากขึ้นคือ​ การนำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็น Eco Bag หรือ กระเป๋ารักษ์โลก ภายใต้ชื่อแบรนด์​ “คิด-จาก-ถุง” เป็นอีกหนึ่ง Lifestyle Items ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และยังสอดคล้องกับกระแส Circular Economy ที่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้าง

คุณสยามรัฐ สุทธานุกูล Chief Marketing Officer ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในเอสซีจี ให้ข้อมูลว่า กระเป๋ารักษ์โลก SCG “คิด-จาก-ถุง” เกิดจากการใช้ประโยชน์ถุงปูนซีเมนต์สำหรับการส่งออกที่รอการทำลาย ซึ่งเป็นถุงปูนที่ไม่สามารถนำมาบรรจุปูนซีเมนต์ได้อีก เนื่องจาก อาจมีข้อผิดพลาดในการพิมพ์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ที่มักจะมีการปรับข้อมูลจากการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง หรือข้อกำหนดว่าด้วยฉลากบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งปัญหาจากกระบวนจากการพิมพ์ต่างๆ โดยเปลี่ยนจากการเป็นวัสดุเหลือใช้ที่รอการนำไปทำลาย มาเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหล่านี้ด้วยการนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นกระเป๋า​

โดย SCG ได้เริ่มโครงการนี้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2562 นำร่องไปก่อนหน้าที่จะมีการตื่นตัวการลดปริมาณการใช้ Single Use Plastic ของบรรดาห้างร้านค้าปลีกทั่วประเทศ ​โดยได้ทำการวางจำหน่ายไปแล้ว​ 2 คอลเลคชั่น รวมทั้งการขยายความร่วมมือไปยังภาคส่วนต่างๆ เพื่อผลักดันให้โครงการขยายผลต่อยอดไปในวงกว้าง ด้วยการจับมือกับ 3 ดีไซเนอร์แบรนด์ไทยชื่อดัง ได้แก่ ISSUE, KLOSET & ETCETERA และ URFACE เพื่อออกแบบกระเป๋าลิมิเต็ดเอดิชั่น เพื่อจัดจำหน่ายและหมดลงภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว

รวมทั้งการสนับสนุน Young Thai Designer ภายใต้แบรนด์ ‘Renim Project’ ในการสร้างสรรค์แฟชั่นแนวสตรีทแวร์หลากหลายสไตล์ และยังได้รับโอกาสได้ไปโชว์โฉมบนเวทีแฟชั่นระดับโลกอย่าง LA Fashion Week 2019 อีกด้วย

ส่วนคอล​เลคชั่นใหม่ในปี 2563 นี้ เอสซีจีเตรียมออกกระเป๋าคอลเลคชั่นใหม่มาทำตลาดเพิ่มเติม เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษา ที่สนใจเทรนด์แฟชั่น และเทรนด์รักษ์โลก รวมทั้งแผนในการ Collaboration กับอีกหลากหลายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง  โดยผู้สนใจติดตามคอลเลคชั่นต่างๆ จาก SCG ทั้ง ‘คิด-จาก-ถุง’ และ ‘Renim Project’ ได้จากช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์ อาทิ Facebook : SCGExperience, SCGBoutique, Tigerbrandth เว็บไซต์ www.renimproject.com รวมทั้งช็อปต่างๆ เช่น SCG Experience, ร้าน CAZH, ร้าน Absolute Siam Store รวมท้ังร้านค้าตัวแทนจำหน่ายต่างๆ

“เอสซีจีได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นสินค้าที่ตอบโจทย์เทรนด์และความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงผู้บริโภคเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้า อีกทั้งการ Collaboration กับแบรนด์แฟชั่นต่างๆ ทำให้เอสซีจี และตราเสือ เป็นที่รู้จักในวงกว้าง และมีลูกค้าสนใจสั่งซื้อสินค้า จนสินค้าหมดภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว”

ขยายแนวร่วม Circular Economy

ผลิตภัณฑ์ “คิด-จาก-ถุง” เป็นหนึ่งในโครงการตามแนวทาง SCG Circular way ที่สอดคล้องกับหลัก Circular Economy ในการ Upcycle ผลิตภัณฑ์ให้กลับมามีมูลค่ามากขึ้น เป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญและสนใจเรื่องการดูแลและรักษาโลก ทำให้สามารถเข้าถึงคนรุ่นใหม่และใกล้ชิดผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ แนวทาง SCG Circular way เริ่มด้วยการออกแบบสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การจัดหาทรัพยากรที่ได้จากการรีไซเคิลและการใช้ซ้ำ การผลิตที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต การขาย การตลาด และการขนส่ง ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ระบบการเช่าสินค้า (Leasing) และ Sharing Platform เพื่อให้การขายและขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น การใช้งานผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการบริหารจัดการของเสียอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถนำของเสียมาหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิตได้ใหม่ หรือใช้พลังงานทางเลือกต่างๆ ได้ ช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพจากการไม่ใช้ทรัพยากรอย่างเกินความจำเป็น

ขณะที่ยังคงสามารถผลิตสินค้าและบริการ ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เช่นเดิม ตลอดจนสร้างโอกาสและความได้เปรียบในการแข่งขันให้แก่เอสซีจี อีกทั้งเพื่อเป็นต้นแบบด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนที่สามารถขยายผลสำเร็จ และองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจและชุมชนได้อย่างกว้างขวาง โดยเชื่อมั่นว่า จากความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะมีส่วนช่วยลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศหรือภาวะโลกร้อนได้

ส่วนการขยายแนวทาง SCG Circular way ไปสู่พนักงานและชุมชนภายนอก​ จะเน้นการส่งเสริมแนวคิด “ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก” ให้พนักงานนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน​​ ผ่านการแยกขยะ​ 6 ประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อการจัดการขยะ (Waste Management) ให้สามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ได้ใหม่ และก้าวสู่การเป็น Zero Landfill โดยขยะที่ถูกแยกประเภทแล้ว จะถูกส่งไปเข้ากระบวนการจัดการ

ส่วนขยะบางประเภทที่สามารถนำกลับมาสร้างมูลค่าหรือสร้างประโยชน์ได้อีก เช่น กระดาษขาว-ดำ ก็จะถูกนำไปเป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษไอเดียกรีน กระดาษน้ำตาล หรือนำไปผลิตเป็นกระดาษบรรจุภัณฑ์สำหรับทำลอนลูกฟูก อีกทั้งมีการแปรรูปขยะประเภทเศษอาหารเพื่อนำกลับมาใช้ในการปรับปรุงดิน​​ โดยเอสซีจียังได้พัฒนาแอปพลิเคชัน KoomKah (คุ้มค่า) เพื่อช่วยบริหารจัดการรวบรวมและคัดแยกขยะจากชุมชน ทำให้ผู้รับขยะหรือธนาคารขยะทำงานได้สะดวกมากขึ้น เพื่อเรียนรู้ และนำมาปรับใช้ในการพัฒนาโมเดลธุรกิจได้อีกด้วย


แชร์ :

You may also like