HomeDigitalเจาะอินไซต์ผู้บริโภคยุค Social Media พร้อมบุคลิกที่แตกต่างกันของคนในแต่ละแพลตฟอร์ม

เจาะอินไซต์ผู้บริโภคยุค Social Media พร้อมบุคลิกที่แตกต่างกันของคนในแต่ละแพลตฟอร์ม

แชร์ :

บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด (WISESIGHT) อัพเดทจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียในประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยยังติด Top 10 ของโลกในการใช้งานโซเชียลมีเดียทั้งในแง่ของจำนวนผู้ใช้งาน รวมทั้งระยะเวลาในการใช้งาน โดยอยู่ใน Ranking อันดับ 8 ทั้งสองมิติ สะท้อนว่าประเทศไทยเข้าสู่ยุค Social Media Era อย่างชัดเจน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวช ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล WISESIGHT เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีสัดส่วนผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 74% ของประชากรทั้งประเทศ มากเป็นอันดับ 8 ของโลก แบ่งเป็นแพลตฟอร์มต่างๆ ดังนี้

ผู้ใช้เฟซบุ๊ก 56 ล้านบัญชี , ผู้ใช้อินสตาแกรม 13  ล้านบัญชี และผู้ใช้ทวิตเตอร์  9.5 ล้านบัญชี

โดยระยะเวลาที่คนไทยอยู่บนโซเชียลมีเดีย เฉลี่ยวันละ 3 ชั่วโมง 11 นาที อยู่ในอันดับ 8 ของโลกเช่นกัน

ขณะที่จำนวนข้อความต่างๆ ที่โพสต์ผ่านโซเชียล มีเดีย ในประเทศไทย ตลอด 10 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม – ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมานี้ มีรวมกันกว่า 6.3 พันล้านข้อความ พร้อมประเมินว่าจะยังเติบโตเพิ่มขึ้นจนถึงสิ้นปี โดยมีจำนวนข้อความเพิ่มเป็นมากกว่า 7.5 พันล้านข้อความ หรือเติบโต 42%

นอกจากนี้ ยังพบว่า 80% ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนไทย เคยซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และกว่า 50% เป็นคน Gen Y (อายุ 23-38 ปี)  และพบว่าโซเชียลมีเดียมีผลต่อพฤติกรรมในการซื้อ ดังต่อไปนี้

54%  ใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อหาข้อมูลของสินค้า

37%  ได้รับแรงบันดาลใจ ในการซื้อสินค้าจากโซเชียลมีเดีย

49%  เชื่อคำแนะนำการซื้อสินค้าจาก Influencers

ยุคสมัยของ Influencer 

ในยุคโซเชียลมีเดียเช่นนี้ ยังเป็นยุคของ Influencer ด้วย จากการเก็บข้อมูลของ Wisesight Influencer Report เมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา (สิงหาคม -ตุลาคม 2562) มีข้อความที่โพสต์ผ่าน Influencers มากกว่า 5.45 แสนข้อความ ราว 72% เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก, 15% เกิดขึ้นบนอินสตาแกรม, 10% เกิดขึ้นบนทวิตเตอร์ และอีกราวๆ 4% เกิดขึ้นบนยูทูป


โดยข้อความของ Influencers เหล่านี้ ยังสร้างให้เกิด Engagement ได้มากกว่า 1,340 ล้านครั้ง โดยส่วนใหญ่ 67% เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก, 22% เกิดขึ้นบนอินสตาแกรม,​ 7% เกิดขึ้นบนยูทูบ และทวิตเตอร์ที่ 3%

นอกจากนี้ WISESIGHT ยังได้ศึกษาพฤติกรรมเชิงลึกของคนที่อยู่บนแต่ละแพลตฟอร์ม โดยวิเคราะห์จาก #ของมันต้องมีก่อน40 ซึ่งทำการศึกษาร่วมกับ TMB Analytics เพื่อเข้าใจบุคลิกผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย ในแต่ละแพลตฟอร์มที่มีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะใน 2 แพลตฟอร์ม คือ เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ พบว่า

ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก  จะแสดงออกถึงความจริงจังในชีวิต ​แสดงออกถึงตัวตนในด้านที่อยากให้คนอื่นเห็น เพื่อให้คนมองมาที่ตัวเอง ส่วนการวิเคราะห์จาก #ของมันต้องมีก่อน40 ของชาว Facebook ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องความมั่นคง เช่น อยากมีเงินเก็บ บ้าน รถยนต์ ธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น

ส่วนผู้ใช้ทวิตเตอร์ จะเป็นไปในแนวทางที่มีความอิสระเสรี เป็นตัวของตัวเอง มีไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกับความเห็นใน Facebook ไม่ว่าจะเป็นการเก็บเงินเพื่อซื้อบัตรคอนเสิร์ต อยากเจอศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ และอยากอยู่บ้านเลี้ยงแมว โดยเฉพาะความต้องการในการเก็บเงินและการท่องเที่ยวมักจะมาคู่กัน

คุณพุทธศักดิ์ ตันติสุทธิเวช ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ข้อมูล WISESIGHT

“จากการวิเคราะห์ Data ของแคมเปญ #ของมันต้องมีก่อน40 ในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่า Influencer มีอิทธิพลทางความคิดให้ผู้ติดตามได้คล้อยตามง่าย ดังนั้นเมื่อเหล่า Influencer ลุกขึ้นมาทำอะไร จะเกิดกระแส เกิด Social Voice ในการทำตาม รวมทั้งยังเห็นได้ว่าการแสดงความคิดเห็น แชร์ ของผู้ติดตามก็มีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกับลักษณะเด่นของ Influencer ที่ตนเองกดติดตามกันอีกด้วย เช่น คนที่ติดตาม กอล์ฟ ฟักกลิ้ง ฮีโร่, กันต์ กันตถาวร และกาละแมร์ พัชรศรี ก็จะเป็นเป้าหมายเรื่องการเก็บเงิน มีบ้าน สร้างความมั่นคงในชีวิต ด้านกลุ่มคนที่ติดตามบล็อกเกอร์สายเที่ยว ก็จะมีเป้าหมายเรื่องเที่ยว เรื่องการใช้ชีวิตอิสระเสรี เป็นต้น ดังนั้น แบรนด์จำเป็นต้องเลือกใช้ Influencer อย่างเหมาะสมด้วย”

Keyword สำคัญ ที่พบจาก Influencer ในแคมเปญ #ของมันต้องมีก่อน40 สะท้อนลักษณะเด่นของ Influencer รวมทั้งเชื่อมโยงทัศนคติของผู้ติดตามด้วย


แชร์ :

You may also like