Homeไม่มีหมวดหมู่4 โปรเจกต์ต้นแบบญี่ปุ่น พลิก “เมือง” ให้ “เขียว” คืนสมดุลโลกให้คน-สัตว์อยู่ร่วมกันได้

4 โปรเจกต์ต้นแบบญี่ปุ่น พลิก “เมือง” ให้ “เขียว” คืนสมดุลโลกให้คน-สัตว์อยู่ร่วมกันได้

แชร์ :

นับวันพื้นที่ “สีเขียว” หรือ พื้นที่ป่า ที่เป็นต้นกำเนิดของความสมดุลในระบบนิเวศน์ เริ่มจะหร่อยหรอไปทุกขณะ เนื่องจากถูกแปลงสภาพให้กลายเป็น “เมือง” มากขึ้น ทั้งบ้านเรือน ห้างสรรพสินค้า ตึกสำนักงาน หรือแม้กระทั่ง ถนนหนทาง ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเหล่านั้นเป็นผลมาจากความเจริญของ “สังคมเมือง” ต้องขยายออกไปรอบๆ  แต่การขยายตัวออกไปจะทำให้ความ “เขียว” นั้นยังคงความเขียวและไม่กระทบสมดุลย์มากนัก คงเป็นหน้าที่ของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (Developer) ที่ต้องนำไปหาทางออกให้ได้เช่นกัน

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ครั้งนี้ทีม Brand Buffet ได้มีโอกาสร่วมทริปกับ AP Thailand ไปเยี่ยมชมโครงการอสังหาริมทรัพย์ ณ ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว-เซนได  โครงการที่เป็นต้นแบบของการพัฒนาโครงการอย่างยั่งยืน ทั้งในเรื่องการใส่ใจสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ และ การอยู่อาศัย ซึ่งพัฒนาโดย Mitsubishi Estate Residence ในเครือยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นอย่าง Mitsubishi Estate Group

 

1 IZUMI PARK TOWN เมืองในฝัน คน-ธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียว

Izumi Park Townตั้งอยู่เมืองเซนได ภาคโทโฮคุ เมืองต้นแบบของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่มีเป้าหมายต้องการให้พื้นที่แห่งนี้ เป็นเมืองที่สามารถหลอมรวมมนุษย์และธรรมชาติให้เป็นหนึ่งเดียวกัน โดยการบริหารจัดการเมืองเกิดขึ้นภายใต้ความตกลงร่วมกันของผู้ที่เข้าอยู่อาศัย และเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมของทุกชีวิตในเมือง  แบ่งแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน เป็น 4 โซนสำคัญ ได้แก่ (1)พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย(Living) (2)พื้นที่ในเมืองสำหรับเป็นที่ตั้งของโรงเรียน การพบปะสังสรรค์ (Urbanization) (3)พื้นที่สำหรับการพักผ่อน เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ (Recreation) และ (4)แหล่งธุรกิจสำคัญของเมืองที่รวมไปถึงเขตโรงงาน เขตสำนักงานต่างๆ (Working)

และที่สำคัญ คือ การวางผังเมืองถูกออกแบบอย่างเป็นระบบ และเต็มไปด้วยพื้นที่สีเขียวมากมายบ้านแต่ละหลังสวยงาม ร่มรื่นด้วยต้นไม้และสวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ แต่ยังคงเต็มไปด้วยการอำนวยความสะดวกไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และยังมีเอาท์เล็ทรองรับนักท่องเที่ยว หลายคนที่มาเยี่ยมเยืยนคงแปลกใจกับพื้นที่ในเมืองที่มีความเป็นระเบียบ

การบริหารจัดการแต่ละพื้นที่ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในเมือง ดังนี้

1.พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย (Living) เช่น การออกแบบถนน  กำหนดเป็นถนนเส้นยาว คดเคี้ยวน้อย ไม่มีการเชื่อมต่อถนนสายหลักเข้าตรงสู่ตัวบ้าน และพื้นที่สี่แยกจะถูกทดแทนด้วยสามแยกเป็นส่วนใหญ่ เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุที่มักจะเกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นวิธีออกแบบที่คำนึงถึงเรื่องความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก นอกจากนี้ พื้นที่สำหรับอยู่อาศัยยังต้องรักษาพื้นที่สีเขียวให้มีอยู่อย่างน้อย 30% ของพื้นที่ทั้งหมด และในทุกๆ พื้นที่อยู่อาศัย ต้องจัดให้มีพื้นที่สำหรับส่วนรวม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำกิจกรรมร่วมกัน และมีการสร้างสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านนอกจากการดีไซน์ตัวพื้นที่แล้ว การออกแบบบ้านยังต้องคำนึงถึงชุมชนโดยรวม ที่กำหนดให้สีของหลังคาบ้านต้องเป็นสีในโทนเย็น ไม่มีการกั้นรั้วบ้าน

 

2.พื้นที่ในเมืองสำหรับเป็นที่ตั้งของโรงเรียน การพบปะสังสรรค์ สถานที่ช้อปปิ้ง(Urbanization)

3.พื้นที่สำหรับการพักผ่อน เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย หรือกิจกรรมสันทนาการต่างๆ (Recreation) เป็นที่ตั้งของสนามกอล์ฟ สนามเทนนิส และสนามขี่ม้า เป็นต้น

4.แหล่งธุรกิจสำคัญของเมืองที่รวมไปถึงเขตโรงงาน เขตสำนักงานต่างๆ (Working) ถูกจัดสรรอย่างเป็นระบบด้วยการแบ่งเขตอุตสาหกรรมหนัก แยกออกจากอุตสาหกรรมเบาอย่างชัดเจน

 

3 โปรเจกต์  “ป่า” ใน “เมือง”

2. DAIMARUYU DISTRICT

ไดมารูยู (DAIMARUYA DISTRICT)ย่านศูนย์กลางธุรกิจสำคัญที่ครอบคลุม 3 เขตในโตเกียวคือ Marunouchi,Otemachi และ Yurakucho ถูกพัฒนาและควบคุมโดย Mitsubishi Estate Residence (MEC) ที่เปลี่ยนย่านร้างและเงียบแห่งนี้ให้สามารถใช้งานได้อย่างเต็มศักยภาพเป็นสถานทำงาน ทำกิจกรรม การค้า ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า และการท่องเที่ยว จนกลายเป็นที่ย่านธุรกิจที่สำคัญของโตเกียวดังที่เห็นในปัจจุบัน  แต่ DAIMARUYA ไม่ใช่ถูกสร้างมาเพียงเพื่อการอยู่อาศัยของคน แต่มาด้วยคอนเซ็ปต์พื้นที่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ  ซึ่งหมายถึง ผู้คนสามารถใช้ชีวิตและทำงานในย่านนี้พร้อมกับอยู่ธรรมชาติที่รายล้อมได้อย่างสมดุล ทั้งต้นไม้ สัตว์ และอากาศบริสุทธิ์

ตัวอย่างการบริหารเช่น การสร้างพื้นที่สีเขียวภายนอกตึกให้มากขึ้น , ปรับปรุงพื้นที่เก่าให้เป็นแหล่งพักผ่อนธรรมชาติ , แบ่งชัดเจนระหว่างบาทวิถีคนเดิน – ตัวสำนักงาน– ถนน , เว้นช่องว่างระหว่างบล็อกหินเพื่อให้สัตว์เล็กๆได้อาศัย เป็นต้น

 3. ICHIGAN PLAZA

ห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ด้านนอกอย่าง MARUNOUCHI BRICK SQUARE ให้นั่งพักผ่อนในมุมต่างๆ และเต็มไปด้วยต้นไม้หลากหลายชนิดที่ผลิบานในทุกฤดูกาล เพื่อให้ลูกค้าหรือผู้คนที่ผ่านไปมาได้แวะพักผ่อน และดื่มด่ำกับธรรมชาติสีเขียว บ่อน้ำพุ  ตัวอย่าง เช่น Wall Greening เสาตึกที่รายล้อมไปด้วยพันธุ์ไม้พร้อมกับตัวพ่นละอองน้ำ เพื่อสร้างความชุ่มชื้น ทำให้ความรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง

4. The Café by Aman Tokyo

ร้านอาหารลึกลับที่ซ่อนตัวในป่ากลางกรุงโตเกียว หรือจะเรียกได้ว่าเป็น FOREST PARK IN THE CITY โดยร้านออกแบบและตกแต่งเรียบเงียบด้วยกระจกใสที่ล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน ทำให้สามารถรับประทานอาหารรสเลิศจากเชฟสุดพิเศษ พร้อมกับดื่มด่ำวิวสีเขียวขจีของพื้นที่ป่าขนาด 3,600 ตารางเมตร ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายกับหลีกหนีความวุ่นวายในชีวิตเมืองได้ชั่วคราว

 

BIODIVERSITY : บ้านของพวกเรา คน- นก-ต้นไม้ / เครือข่าย “สีเขียว”  

BIODIVERSITY เป็นปรัชญาว่าด้วยความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม  ตามพันธกิจและวิสัยทัศน์ ปี 2020 ของ Mitsubishi Estate Group (กลุ่มผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพยรายยักษ์ของญี่ปุ่น)  ซึ่งหมายถึง การดำรงอยู่หรืออยู่อาศัยด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ ธรรมชาติ เพื่อให้ระบบนิเวศมีความสมดุลอย่างปกติและยั่งยืน

เพื่อให้ BIODIVERSITY จับต้องเป็นรูปธรรมได้และทำได้จริงมากขึ้น Mitsubishi Estate Residence ผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น เครือ Mitsubishi Estate Group จึงต่อยอดออกมาเป็นคอนเซ็ปต์BIO NET Initiativeแนวทางการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ที่ทำให้โครงการอสังหาฯที่พัฒนาขึ้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ ใส่ใจสภาพแวดล้อในโครงการ มีพื้นที่ป่าเยอะขึ้น มีพรรณไม้มากขึ้น  เพื่อเอื้ออำนวยต่อสิ่งมีชีวิตในละแวกนั้น ไม่ว่าจะเป็น นก หนอน ผีเสื้อ หรือดอกไม้ ต้นหญ้า เป็นต้น

และที่พิเศษมากกว่านั้นของคอนเซ็ปต์ BIO NET Initiative คือ การทำรูปแบบนี้ในทุกโครงการฯต่างๆ  เพื่อกลายเป็นเครือข่ายของ “ป่า” ในมุมเมืองต่างๆ และ พื้นที่สีเขียวเหล่านั้นเองจะกลายเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ

ตัวอย่างเช่น โครงการ The Parkhouse แบรนด์คอนโดมิเนียม ที่นำเอา BIO NET Initiative ไปใช้ด้วยการคิดคำนวณถึงสถานที่โดยรอบของโครงการว่าควรมีพืชพรรณ ดิน น้ำ ลมในปริมาณใด เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ธรรมชาติเจริญเติบโตอย่างสมดุลโดยมีการยืนยันว่า ตัวอย่างเช่น มีนกจำนวนนึงที่บินเชื่อมต่อกันไปเรื่อยๆด้วยเครือข่ายป่าของ The Parkhouse รวมไปถึง มีแมลงต่างๆ กว่า 20 ประเภท ที่ยังคงอยู่ในเครือข่ายป่านี้เช่นกัน

ปัจจุบันมีนาคม 2561 ทั้งหมด 150 โครงการ 18 โครงการได้รับการรับรอง BIODIVERSITY จาก ABINC

BIO NET Initiative ได้รับรางวัล Good Design Award of 2015 และ Excellence Prize of the Biodiversity Action Grand Prize 2015

 

ป่าในเมืองจากญี่ปุ่นสู่ไทย : Life Sathorn Sierra

จากความร่วมมือและแลกปลี่ยน “องค์ความรู้” การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และความยั่งยืนตลอดระยะเวลา6 ปี ระหว่าง  Mitsubishi Estate Residence – ญี่ปุ่น  และ AP Thailand  – ไทย ที่มีปรัชญา GROW มาสเตอร์แพลนแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม  จึงทำให้เกิดโปรเจกต์นำร่อง “สร้างป่าในเมือง” ในโครงการ LIFE สาทรเซียร์รา บนพื้นที่ส่วนกลางกว่า 8,400 ตารางเมตร ให้เป็นหุบเขาต้นไม้กลางเมืองที่ปกคลุมด้วยพันธ์ไม้นานาชนิด

โดยมีไฮไลท์สำคัญ คือ การออกแบบ ภูมิทัศน์ด้านหน้าให้เป็นเหมือนหุบเขาต้นไม้ไล่ระดับผสมผสานการออกแบบ Hiking Trail ทางเดินป่าจำลองรายล้อมด้วยพันธ์ไม้นานาชนิดเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อทุกเรื่องราวของ มนุษย์แมลง เมือง สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ใหญ่ และสภาพแวดล้อมโดยรอบให้เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวและนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตร่วมกัน นอกจากนี้ยังมี Serene Pool สระว่ายน้ำขนาดใหญ่ยาวกว่า 100 เมตรในรูปทรงที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ นอกจากนั้นแล้ว ณ ชั้น  40 ด้านบนสุดของอาคาร ยังได้ออกแบบ Panoramic Sky Lounge ให้เป็นกล่องแก้วใสขนาดใหญ่แวดล้อมด้วยพื้นที่ป่าที่สร้างขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจาก The Café by Aman ประเทศญี่ปุ่น


แชร์ :

You may also like