HomeBrand Move !!ก้าวต่อไป “สหพัฒน์” พอกันทีตั้งหน้าตั้งตาสร้างโรงงาน ต่อจากนี้ขอเดินหน้า เน้นงาน “ภาคบริการ”

ก้าวต่อไป “สหพัฒน์” พอกันทีตั้งหน้าตั้งตาสร้างโรงงาน ต่อจากนี้ขอเดินหน้า เน้นงาน “ภาคบริการ”

แชร์ :

บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) เริ่อก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2485 นับจนถึงวันนี้ “สหพัฒน์” มีอายุกว่า 77 ปี มีอาณาจักรโรงงาน เอาเฉพาะแค่จุดใหญ่ๆ ก็นับได้  3 ที่ ในประเทศไทย ประกอบด้วย ศรีราชา กบินทร์บุรี และลำพูน แต่ในปีนี้ ภายในงานแถลงข่าวสหกรุ๊ปแฟร์ครั้งที่ 23 คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ กลับบอกว่า ต่อไปนี้ สหพัฒน์ จะรุกหนักในงาน ด้านบริการ (Service)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ตั้งหน้าตั้งตาผลิตอย่างเดียวไม่ได้แล้ว
“เดิม สหพัฒน์ มุ่งเน้นสร้างโรงงานผลิตสินค้า แต่ตอนนี้เราต้องพัฒนาอะไรใหม่ๆ ต้องมีวัฒนธรรม และมีเทคโนโลยี อย่าง Big DATA ที่พูดๆ กัน เราต้องใช้ แต่เป็นการผสานวัฒนธรรมเข้าไปด้วย เดิมทีเราผลิตสินค้าอย่างเดียว ต่อไปนี้ต้องดูว่าอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปทางไหน เราก็ต้องไปทางนั้น” นี่คือคำกล่าวของเสี่ยใหญ่ ของสหพัฒน์

เพื่อทำให้วิสัยทัศน์นี้เป็นจริง ปีนี้เราจะเห็นการลงทุนใหม่ๆ ของสหพัฒน์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมทุนกับ “โตคิว” (TOKYO) ลุยธุรกิจโรงแรมและคอนโดมิเนี่ยมที่ศรีราชา ด้วยงบประมาณหลักพันล้านบาท โดยโรงแรมจะมีพื้นที่รองรับลูกค้า 100 ห้อง ส่วนคอนโดมิเนี่ยมจะมี 200 ยูนิต รองรับการเติบโตภาคธุรกิจที่มาพร้อมกับการเติบโตของ Eastern East Seaboard

นอกจากนี้ยังมีโครงการโรงเรียนนานาชาติ King’s College ซึ่งทางเสี่ยบุญยสิทธิ์บอกว่า นี่เป็นโครงการที่ไม่คิดว่าจะทำกำไร แต่มองที่การพัฒนาบุคคลให้กับสังคมมากกว่า

Unmanned Store เวอร์ชั่น “สหพัฒน์” 

อีกหนึ่งภาคบริการที่ทางสหพัฒน์มองเป็นเรื่องของการกระจายสินค้า (Distribution) ในส่วนที่สหพัฒน์มีอยู่แล้วก็คือ Lawson 108 ที่ในตอนนี้เดินหน้าขยายสาขาผ่านการจับมือกับรถไฟฟ้า BTS จนทำให้เราเห็นสาขาของคอนวีเนี่ยนสโตร์แบรนด์นี้ตามสถานีรถไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ

ส่วนไฮไลต์สำคัญที่สหพัฒน์มุ่งหน้าไป และจะหยิบมาโชว์ในงานสหกรุ๊ปแฟร์ด้วย ก็คือร้านค้า Unmanned Store หรือร้านค้าที่ไม่ต้องการพนักงาน แต่อาศัยสมาร์ทโฟนช่วยในการจ่ายเงิน เหมือนที่รีเทลในต่างประเทศให้งานร้านค้ารูปแบบนี้กันแล้ว ในส่วนของสหพัฒน์เองก็เริ่มต้นทดลองแล้ว กับร้านค้าภายในองค์กรเอง นี่เป็นครั้งแรกที่ยกออกมานอกพื้นที่บริษัท แล้วทดลองกับบุคคลภายนอก

“ความคิดก็คือ มันก็คือ Vending Machine อย่างหนึ่งนั่นแแหละ เดี๋ยวนี้พวกเราก็รับเงินเดือน แล้วก็ทอนเงิน กันทางสมาร์ทโฟนแล้วใช่ไหมละ” คุณบุญยสิทธิ์กล่าว

“เราจะเน้น Service สำหรับการทำงานด้านบริการเป็นงานที่ลงทุนน้อย แต่ใช้คนเยอะ ขณะที่การผลิต ที่ต้องใช้เครื่องจักรลงทุนเยอะ แต่ใช้คนน้อย บริการกับการผลิตสินค้าต้องครบวงจร ถ้าเราหลับหูหลับตาทำอย่างเดียว มันไม่ครบวงจร ตอนนี้สินค้าในเมืองไทยมีทุกอย่างแล้ว การผลิตของเราแอดวานซ์ไปเยอะ แต่ Service ของเรายังพัฒนาได้อีกมาก” นี่คือเหตุผลที่คุณบุญยสิทธิ์ตอกย้ำชัดๆ


แชร์ :

You may also like