HomeBrand Move !!เปิดยุทธศาสตร์ AIS ตั้งเป้าผู้นำบริการ ICT พร้อมพาภาคธุรกิจของประเทศทรานส์ฟอร์มอย่างยั่งยืน

เปิดยุทธศาสตร์ AIS ตั้งเป้าผู้นำบริการ ICT พร้อมพาภาคธุรกิจของประเทศทรานส์ฟอร์มอย่างยั่งยืน

แชร์ :

วาทกรรมอันลือลั่นของชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีวิวัฒนาการ ที่ว่า “ไม่ใช่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดหรือฉลาดที่สุดของสายพันธุ์ที่จะอยู่รอด แต่เป็นผู้ที่มีความสามารถปรับตัวตอบสนองการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก”  ยังคงใช้ได้ในทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะในยุคที่ Digital Transformation เกิดขึ้นจริงและรวดเร็วมาก ใครไม่อยากถูกคัดเลือกโดยธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้หมายถึง Disrupt โดยเทคโนโลยี จนล้มหายตายจากไปก็ต้องพร้อมที่จะปรับตัว โดยอาศัยดิจิทัล โซลูชั่นส์ และพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญที่รู้ลึก รู้จริง อย่าง AIS Businessให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

Data ขุมทรัพย์ใหม่ยุคดิจิทัล

คุณสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวถึงเหตุผลที่ว่าทำไมดิจิทัลถึงเข้ามามีบทบาทในชีวิตและเราควรที่จะรับมือกับมันอย่างไรเพื่อไม่ให้เพลี่ยงพล้ำ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ได้อย่างเต็มที่

ในยุคเกษตรกรรมใครมีที่ดินเยอะ คือผู้นำ พอยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมใครมีเหล็กมาก คือผู้นำ ต่อมากลายเป็นยุคที่ใครมีการบริหารจัดการที่ดี คือผู้นำ แต่ปัจจุบันซึ่งเป็นยุคดิจิทัลใครมีแพลตฟอร์มที่ดี คือผู้นำ และ Data is a New Oil เป็น New Digital’s Backbone ที่เปลี่ยนพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์ของคนทั้งในเรื่องการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงาน”

ปัจจุบันนี้มีประชากรโลกราว 7,593ล้านคน มีคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราว 4,021 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 53%ของประชากรโลกทั้งหมด  มี Unique Mobile Users  5,135  ล้านคน  มีอัตราการเข้าถึง  68% และมี Active Mobile Social Users 2,958 ล้านคน มีอัตราการเข้าถึง 39% ส่วนในไทยมีประชากรราว 69.1ล้านคน มีคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราว 57 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 82% ของประชากรทั้งหมด มี Unique Mobile Users  48  ล้านคน มีอัตราการเข้าถึง  69% และมี Active Mobile Social Users 46ล้านคน มีอัตราการเข้าถึง 67%

สถิติและข้อมูลโดยละเอียดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า โลกยุคนี้กำลังถูกดิจิทัลคืบคลานเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตและการทำงานของเรามากขึ้นเรื่อย ๆ และอยู่กับเราทุกที่ ทุกเวลา โดยเฉพาะผ่านแพลตฟอร์มของโทรศัพท์มือถือ  และโซเชียล มีเดียต่าง ๆ แม้กระทั่งประเทศที่เศรษฐกิจยังไม่พัฒนามากนักอย่างคองโก ก็มีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือมากถึง44%เพราะช่วยทำให้การใช้ชีวิตของเขาดีขึ้น

“เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ในบ้านเราเริ่มมีการพูดถึง Digital Economy ปัจจุบันคำว่า Digital Disruption และ Digital Transformation กลายเป็นเรื่องที่ทุกคนสนใจอย่างมาก เพราะมันมารวดเร็วเหลือเกินดังนั้น Transformation is Now รอไม่ได้แล้ว องค์กรจะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ Innovation Organization เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน”

“เอไอเอสจึงประกาศวิสัยทัศน์ยกระดับสู่ผู้นำบริการไอซีทีเพื่อองค์กรครบวงจร ด้วยศักยภาพของบริษัทในเครือและพันธมิตรชั้นนำด้านไอทีระดับโลก พร้อมสนับสนุนภาคธุรกิจและองค์กรทุกกลุ่มอุตสาหกรรม ทุกขนาด ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก รวมถึงเอสเอ็มอีที่มีอยู่กว่า 3 ล้านราย ด้วยดิจิทัล โซลูชั่นส์ที่หลากหลายและออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับทุกธุรกิจองค์กรในยุค Digital Transformation ได้เป็นอย่างดี”

สำรวจความพร้อมด้านทรัพยากรของเอไอเอสในการให้บริการโซลูชั่นส์กับองค์กรและภาคธุรกิจ
1. ความแข็งแกร่งของเครือข่ายที่ครอบคลุมครบทั้ง Mobile, Fixed Broadband และ IoT จุดเด่นสำคัญของเอไอเอส คือ ความพร้อมด้านโครงข่าย Digital Infrastructure ที่ทรงประสิทธิภาพทั้งเครือข่าย Mobile ที่มีคลื่นความถี่มากที่สุดในประเทศ และมีคลื่นความถี่หลักในการให้บริการ 4G มากที่สุด, เครือข่าย Fixed Broadband ที่ใช้เทคโนโลยีไฟเบอร์ออพติกแท้รายแรกในประเทศ ครอบคลุมแล้วกว่า 50 จังหวัดทั่วประเทศ และเครือข่าย IoTรายแรกและรายเดียวในไทย ที่มีโครงข่าย eMTC และNB-IoT ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

2.ศักยภาพที่เพิ่มขึ้นจากการซินเนอร์ยี่บริษัทในเครือ ได้แก่ Rabbit LINE Pay ระบบชำระเงินดิจิทัลบนแพลตฟอร์มแชทที่ได้รับความนิยมสูงสุดของคนไทย มีแบรนด์สินค้ามากกว่า 50,000 แบรนด์ และมีผู้สมัครใช้งาน 5 ล้านราย, การซินเนอร์ยี่กับ CS LOXINFO เสริมความแข็งแกร่งการให้บริการ Cloud ของเอไอเอส ที่มี DATA CENTER จำนวนมากที่สุดถึง 9แห่ง เพื่อให้บริการ Cloud ได้แบบ End-to-End Single Service Provider อย่างครบวงจร ตั้งแต่ Cloud Infrastructure, Platform, Software, Network, Security ไปจนถึง Managed Services และบริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน) ที่จะเข้ามาเสริมทัพบริการDigital Marketing และบริการOutsource Contact Centerเพื่อตอบโจทย์ SME และธุรกิจองค์กรอย่างรอบด้าน

3.ผนึกกำลังพันธมิตรด้านไอทีชั้นนำระดับโลก เพื่อสร้างความหลากหลายให้กับโซลูชั่นส์ อาทิMicrosoft, G-ABLE, SAP และ Vmware

สิ่งเหล่านี้ทำให้เอไอเอสเหนือกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ทำให้สามารถให้บริการดิจิทัล โซลูชั่นส์ เต็มรูปแบบได้อย่างหลากหลาย และครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น  Network, Digital Infrastructures, Cloud, IoT, ICT และ Digital Platforms ในรูปแบบของDigital Ecosystem ที่ได้มาตรฐานระดับเวิลด์คลาส

ตัวอย่าง Use Case ที่น่าสนใจ  อาทิ

Smart Kiosk นำเทคโนโลยี IoT มาช่วยในบริหารจัดการอุปกรณ์เครื่องหยอดเหรียญ ทั้งเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ เก้าอี้นวด และตู้จำหน่ายสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ที่วางกระจายทั่วประเทศ และยังสามารถบริหารจัดการการเก็บเหรียญอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ยังเพิ่มขีดความสามารถในการชำระเงินด้วยระบบ Mobile Wallet หมาะกับธุรกิจทุกชนิดที่ต้องบริหารจัดการเครื่องหยอดเหรียญให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยหน่วยงานที่ได้นำไปใช้งานจริงแล้ว ได้แก่ โครตรอนกรุ๊ปผู้นำการผลิตและจำหน่ายเครื่องชั่งน้ำหนักหยอดเหรียญ และเครื่องหยอดเหรียญประเภทต่างๆ และ CIRBOX ผู้นำธุรกิจเครื่องหยอดเหรียญ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

Smart Industrial Estate โซลูชั่นส์ IoTที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งด้านความปลอดภัย การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดการพลังงาน รวมถึงโซลูชั่นส์เฉพาะในงานอุตสาหกรรม เช่น เครื่องมือ Sensorวัดระดับน้ำ ใช้พลังงานต่ำผ่านเครือข่าย NB-IoT, สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ เป็นต้น เหมาะกับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อการพัฒนาสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดยหน่วยงานที่ได้นำไปใช้งานจริงแล้ว ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร (AMATA)

– Smart Call ไม่ทำให้ผู้บริโภคยุ่งยากหรือปวดหัว ด้วยระบบการโทรอัจฉริยะ เพื่อสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการให้เพิ่มขึ้น เช่น LEL Express นำมาใช้บริการลูกค้าที่จะส่งพัสดุภัณฑ์ต่าง ๆ ไปให้ เมื่อมีสายเรียกเข้าไปยังเครื่องลูกค้าจะปรากฎเป็นหมายเลขเดียวเท่านั้น และเมื่อลูกค้าโทรกลับ ระบบจะทำหน้าที่ต่อสายไปยังเอเยนต์ที่ลูกค้าต้องการคุยด้วยทันทีโดยเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ชื่อดังอย่าง LAZADA ได้นำโซลูชั่นส์นี้ไปใช้งานจริงแล้ว

Digital Payment Gateway เป็นการเชื่อมต่อระบบชำระเงินของธุรกิจให้สามารถรองรับรูปแบบดิจิทัล ด้วย Sources of Funds ที่หลากหลาย ทั้งบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต กระเป๋าเงิน Electronic ทั้งในและต่างประเทศ (E-Wallet) รวมถึง Rabbit LINE Pay ซึ่งอยู่บนแอปพลิเคชั่น LINE ที่มีผู้ใช้งานกว่า 44 ล้านคนในไทย และ 560 ล้านคนทั่วโลก

ทุกองค์กรสำเร็จได้ด้วย Digital Transformation

นอกจากนี้คุณสมชัย ได้ให้คำแนะนำว่าองค์กรที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตอย่างยั่งยืนนั้น ต้องทำ Business Transformation ใน 2 ด้าน ได้แก่

1. ยกระดับการบริหารจัดการองค์กร(Company-wise) สร้างองค์กรให้แข็งแรงเพื่อให้คนเก่งและคนดีจงรักภักดีกับองค์กร ด้วยการปรับกระบวนการทำงานหลักให้เป็นดิจิทัล, ปรับรูปแบบช่องทางการส่งมอบบริการลูกค้าให้เป็นดิจิทัลได้ตลอด24ชั่วโมง และคิดค้นรวมถึงขยายองค์กรสู่บริการหรือธุรกิจใหม่ ๆ

2. ยกระดับและให้ความสำคัญกับกระบวนการเพื่อลูกค้า(Consumer-wise) ต้องเข้าใจและรู้จักลูกค้าอย่างลึกซึ้งผ่าน Big Data เพราะผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เป็นปัจเจคบุคคลมากขึ้น รวมถึงต้องทำ Segmentationให้รู้จักลูกค้าแต่ละกลุ่มก้อนให้ดีมากขึ้น แม้จะเป็นกลุ่มวัยเดียวกัน นอกจากนี้ยังต้องสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งด้วยสินค้าและบริการ ด้วยนวัตกรรมการผลิต การจัดการ บริการ หรือโปรโมชั่น และสุดท้ายคือความรวดเร็ว เช่น ในวันที่ LINE เป็นเจ้าตลาดในไทย กระทั่ง Kakao Talk ที่ต่อให้มีฟีเจอร์และฟังก์ชั่นดีกว่า แต่เข้าตลาดช้ากว่า LINE เพียงแค่ไม่กี่เดือน กลับไม่ประสบความสำเร็จ  เพราะช้าไป และยิ่งในวันนี้ที่ LINE แข็งแรงและเติบโตแล้ว ก็มีการพัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่าง ๆ เพิ่มเติม ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าใคร แถมเข้าใจตลาดได้ดีมากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งยากที่แพลตฟอร์มแชทอื่น ๆ จะแข่งขันได้

แม้การเปลี่ยนแปลงจะเป็นเรื่องยาก แต่ถ้าเราไม่เริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ ไม่ใช่แค่จะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปในอนาคตและประสบความสำเร็จในธุรกิจได้เท่านั้น แต่มีแนวโน้มที่จะถอยหลังไปสู่ทางตันหรือร่วงหล่นไปในหุบเหว อันเป็นจุดสิ้นสุดได้โดยไม่รู้ตัว


แชร์ :

You may also like