HomeBrand Move !!“พวงหรีดหนังสือ” ต่อลมหายใจธุรกิจ ในวันที่คนไทยอ่านหนังสือวันละ 56 นาที

“พวงหรีดหนังสือ” ต่อลมหายใจธุรกิจ ในวันที่คนไทยอ่านหนังสือวันละ 56 นาที

แชร์ :

ปัจจุบันตลาดหนังสือมีมูลค่า 20,000 ล้านบาท เติบโตน้อยนิดเพียง 1% หากมองบวกก็ยังดีที่ตลาดเติบโต แต่ความจริงตัวเลขตลาดลงมาต่อเนื่อง  เพราะหากมองย้อนหลังกลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน ตลาดเคยมีมูลค่าถึง 26,000 ล้านบาท ขณะที่ร้านขายหนังสือหัวใจหลักในการเข้าถึงคนอ่าน เหลือรอดอยู่ในตลาดประมาณ 200 ร้าน จากที่เคยมีกว่า 500 ร้าน การล้มหายตายจากของร้านหนังสือ หรือตลาดหนังสือลดลง เป็นเรื่องที่รู้กันดีว่าเป็นผลกระทบจาก เทคโนโลยีและดิจิตอล เข้ามา Disrupt คนอ่านมีไลฟ์สไตล์เปลี่ยนแปลงไป สามารถจะเสพเรื่องราวต่างๆ หรือหาคอนเทนต์ดีๆ บนโลกออนไลน์ได้ง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส  สถิติคนไทยอ่านปัจจุบันอ่านหนังสือเพียง 56 นาทีต่อวันเท่านั้น หรือ คิดเป็น 5 เล่ม ต่อปี ขณะที่เวียดนามอ่านหนังสือ 50 เล่มต่อปี 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หลายปีที่ผ่านมาแวดวงธุรกิจหนังสือพยามยามดิ้นรน  ปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ต่อลมหายใจให้กับตัวเอง หลากหลายวิธีการ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด คือ การพยายามเข้าสู่โลกออนไลน์ การขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก เว็บไซต์ หรือไลน์ แต่ก็นั่นแหละไม่ได้หมายความว่าทุกสำนักพิมพ์จะมีศักยภาพมาบุกตลาดออนไลน์ได้ทุกคน ถ้าเป็นสำนักพิมพ์รายใหญ่ก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้ารายเล็กๆ อาจจะลำบากสักหน่อย  เพราะต้องมีทั้งทีมงานและงบประมาณเพื่อใช้ลงทุนทำตลาดออนไลน์  

คุณสุชาดา สหัสกุล นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ PUBAT เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยคิดว่าช่องทางออนไลน์เป็นทางรอดสำหรับธุรกิจหนังสือ แต่ปัจจุบันกลับมาทบทวนและคิดใหม่ ว่าเป็นจริงหรือไม่ เพราะช่องทางออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊กมีการปรับอัลกอลิทั่ม เช่น ลดการเข้าถึงโพสต์ ส่งผลให้ต้องมาหาวิธีการและแนวทางการทำตลาดออนไลน์อื่นๆ เพิ่ม เช่น การขายผ่านทางไลน์  และส่วนใหญ่สมาชิกสมาคมก็ยังขาดความรู้ความเข้าใจในตลาดออนไลน์  สมาคมจึงได้ทำการอบรมให้ความรู้  การขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊กและไลน์  ต่อไปจะอบรมให้ความรู้กับสมาชิก  เรื่องการประมูลงานภาครัฐ เพื่อเพิ่มโอกาสขายหนังสือมากขึ้น ​ ปัจจุบันสำนักพิมพ์ที่ขายผ่านช่องทางออนไลน์  จะมียอดขายประมาณ​ 30-40% และมีการเติบโตประมาณ 70%

หรีดหนังสือ ต่อลมหายให้ธุรกิจหนังสือ

อีกแนวทางหนึ่งที่สมาคมพยายามจะช่วยเหลือบรรดาสมาชิก คือ การเพิ่มช่องทางและโอกาสในการขาย จึงได้จัดทำโครงการ “พวงหรีดหนังสือ”  เป็นการขายหนังสือไปพร้อมกับพวงหรีด กำหนดราคาหนังสือไว้ 3 แพ็คเกจ คือ  S ราคา 300 บาท M ราคา 500 บาท และ L ราคา 900 บาท ซึ่งหนังสือดังกล่าวสุดท้ายแล้วจะถูกบริจาคไปยังโรงเรียนห่างไกลในชนบท ตอนนี้ได้พันธมิตรเป็นร้านขายดอกไม้นำร่องโปรเจ็กต์แล้ว 15 ร้าน  ผู้ซื้อสามารถเลือกได้ว่าจะให้ส่งหนังสือไปพร้อมพวงหรีด หรือให้ส่งไปยังโรงเรียนได้โดยตรง  ส่วนหนังสือที่ส่งไปพร้อมพวงหรีดสำหรับเคารพศพ  สมาคมจะประสานงานกับทางวัดให้เลือกว่าจะส่งหนังสือไปยังโรงเรียนต่างๆ เองหรือให้มูลนิธิกระจกเงาเป็นผู้ไปเก็บรวบรวมเพื่อนำไปบริจาคต่อไปก็ได้

“วัดในกรุงเทพฯ มี 456 แห่ง ถ้ามีงานศพงานวันละ 2 ศาลา ศาลาละ 2 ศพ จะขายหนังสือ เล่ม จะมียอดขายหนังสืออย่างน้อยวันละ 1,824 เล่มเดือนละ 54,720 เล่มที่ปีละ 656,640 เล่ม โครงการนี้จะ win ทุกฝ่ายที่”คุณสุชาดา เล่าถึงโครงการพวงหรีดหนังสือ

อีเว้นต์ขายหนังสือ เพิ่มยอด

การจัดงานอีเวนต์ เป็นอีกช่องทางหนึ่งเพื่อเพิ่มยอดขาย สมาคมจึงได้จัดงานอีเวนต์ใหญ่ประจำปี 2 ครั้ง คือ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ กับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ และเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน นอกจากนี้ ยังย่องานที่จัดในกรุงเทพฯ ยกออกไปจัดในต่างจังหวัดด้วย อย่างน้อย 4 ครั้ง ไม่นับรวมกับการไปร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ จัดงานในลักษณะเดียวกัน ซึ่งอีเว้นต์ใหญ่ระดับประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำ ถือเป็นงานเหล่าหนอนหนังสือ ตั้งตารอยคอยเพื่อจะเข้ามาร่วมงาน นอกจากได้ซื้อหนังสือลดราคาแล้ว ยังมีกิจกรรมสำหรับหนอนหนังสือด้วย ไม่ว่าจะเป็นเวทีสัมมนา นิทรรศการให้ความรู้ การพบปะนักเขียนที่ชื่นชอบ รวมถึงการเปิดตัวหนังสือใหม่ 

งานมหกรรมหนังสือในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 23 ภายใต้แนวคิด “อ่านออกเสียง” โดยคาดว่าจะมีผู้เข้ามาร่วมงานกว่า 1.8 ล้านคน และมีเงินสะพัดภายในงานกว่า 400 ล้านบาทด้วย 

Segmentation กลยุทธ์เพื่อความอยู่รอด

แม้จะดูว่าธุรกิจหนังสือจะชะลอตัวลง และได้รับผลกระทบจากการ Disrupt จากสื่อออนไลน์  แต่จำนวนสำนักพิมพ์กลับไม่ได้ลดจำนวนลง แต่เป็นปรากฎการณ์ “หน้าเก่าหายไป หน้าใหม่เกิดขึ้น” จำนวนสมาชิกของสมาคมจึงมีอยู่กว่า 500 ราย ต่อเนื่องมาหลายปี  จึงอาจเรียกได้ว่า ตลาดหนังสืออยู่ในภาวะทรงตัว เพราะหากย่ำแย่สำนักพิมพ์คงต้องลดลงเหลือไม่กี่ร้อยราย

อีกปรากฎการณ์ที่เห็นและน่าจะเป็นแนวทางความอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบัน คือ สำนักพิมพ์เกิดใหม่มีความชัดเจนในแนวทาง “เป็นตัวของตัวเอง” คือ Segmentation ว่าจะเป็นสำนักพิมพ์หนังสือแนวไหน จับกลุ่มเป้าหมายเป็นใคร หลายๆ สำนักพิมพ์เกิดใหม่จึงอยู่รอดได้ แต่สำนักพิมพ์เก่าๆ ที่หันไปทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง ก็หายออกจากไปตลาด เทรนด์หนังสือที่เกิดขึ้นมากในปีนี้ จะเป็นแนวหนังสืออินดี้ ที่จับกลุ่มเฉพาะเป็นของตัวเอง ส่วนหนังสือที่ยังขายได้ดี จะเป็นกลุ่มนวนิยาย ฮาวทู และหนังสือแปล   


แชร์ :

You may also like