HomeDigitalทำไมญี่ปุ่นถึงชอบ Twitter มากกว่า Facebook และอนาคตข้างหน้าของแพลตฟอร์มนี้?

ทำไมญี่ปุ่นถึงชอบ Twitter มากกว่า Facebook และอนาคตข้างหน้าของแพลตฟอร์มนี้?

แชร์ :

นกน้อยสีฟ้าร้องทวีตๆ ไม่นานมานี้เหมือนจะหลงทางไปเล็กน้อย จำนวนผู้ใช้งาน Twitter ค่อนข้างจะซบเซาไปบ้างในบ้านเกิดอย่างสหรัฐฯ แม้ว่าได้รับการสนับสนุนจากนักการเมืองที่มีชื่อเสียงก็ตาม แต่ยังคงมีประเทศเดียวที่ฐานการใช้งานของไมโครบล็อคนกน้อยสีฟ้านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นก็คือประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง จากการสำรวจของ Humble Bunny เอเจนซี่การตลาดดิจิทัลท้องถิ่นของญี่ปุ่น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ในความเป็นจริงแล้ว ที่ญี่ปุ่น ผู้ใช้ Twitter ทั้ง 45 ล้านบัญชี นั้นถือว่ามากกว่าเกือบสองเท่าของผู้ใช้งาน Facebook ที่มีอยู่ 28 ล้านแอคเคานท์ แถมอัตราการเติบโตของผู้ที่ชื่นชอบนกสีฟ้านี้ก็อยู่ที่ 12.5% กันเลยทีเดียว จากการสนับสนุนอันเหนียวแน่นของผู้ใช้ในญี่ปุ่นทำให้ Twitter มีรายได้จากโฆษณาอยู่ที่ 2.36 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อ 1 บัญชีผู้ใช้งาน ในไตรมาตรสุดท้ายของปี 2017 ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ที่มากกว่าช่วงเดียวกันในปีผ่านมาถึง 34%

และไม่เพียงแต่เด็กๆ เท่านั้นที่ชื่นชอบการทวีตกัน บนแพลทฟอร์มยังมีจำนวนชาย-หญิงที่ค่อนข้างที่จะเท่ากัน และ 40% ของผู้ใช้ที่ยังมีการใช้งานอยู่นั้นคือคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป จากการสำรวจของ Humble Bunny โดย Caylon Neely ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด พบว่า

“Twitter คือโซเชียลเน็ตเวิร์คที่มีความหลากหลายมากที่สุดในญี่ปุ่นในลักษณะของอายุและเพศของผู้ใช้งาน”

นั่นหมายความว่า Twitter อาจจะเป็นตัวแทนของสังคมญี่ปุ่นมากกว่า Facebook ที่เต็มไปด้วยเด็กกลุ่มมิลเลเนียล หรือ Instagram ที่ถูกครอบครองโดย Gen Z

สำหรับผู้ใช้ที่มีอายุมากกว่าพวกเด็กเหล่านั้น การเข้าถึงได้ถือเป็นตัวการหลักของความสำเร็จของ Twitter ในญี่ปุ่น ด้วยเหตุผล ข้อแรก “โทรศัพท์ Smartphone ไม่ได้มีการตอบรับอย่างดีเท่าที่ควรในญี่ปุ่นอย่างที่คุณคิด การใช้ Smartphone มีประมาณ 70 กว่าเปอร์เซ็นเท่านั้น นอกนั้นผู้คนยังใช้โทรศัพท์ Feature Phones อยู่”  Neely อธิบาย ซึ่งส่งผลให้การใช้งานของทวิตเตอร์ไม่เหมือนกับ Facebook และ Instagram หรือแอปฯ ของญี่ปุ่นเองอย่าง Line และ Mixi ที่การใช้งานต้องใช้ผ่าน Smartphone เป็นหลัก แต่ Twitter สามารถเชื่อมต่อผ่านโทรศัพท์ Feature Phones ที่ได้รับความนิยมในหมู่กลุ่มผู้สูงอายุเป็นจำนวนมากได้

แล้วปัจจัยสำคัญอื่นมีอีกไหม? การไม่เปิดเผยตัวตนของ Twitter ไม่เหมือน Facebook ที่คุณต้องเปิดเผยชื่อจริง ขณะที่ Twitter คุณสามารถแสดงตัวตนโดยอิงกับความสนใจของตัวเองเท่านั้นก็ได้ หรือ อาจจะใช้ชื่อตัวละครที่คุณชื่นชอบก็ได้ เป็นปัจจัยที่ 2 ที่ทำให้ทวิตเตอร์ได้รับความนิยมมากกว่าเฟซบุ๊ก ดังที่จะเห็นได้จาก

แอคเคานท์ที่ที่มียอดผู้ติดตามมากที่สุดในญี่ปุ่นคือแอคเคานท์ที่ใช้ชื่อตัวการ์ตูน กาชาปิน จากเรื่อง Monster Strike, Yu the dog และ Okasanman 

ปัจจัยที่ 3 ของความนิยมในแพล็ตฟอร์ม Twitter นั่นยังเชื่อมโยงกับธรรมชาติของการเขียนภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย ซึ่งใช้ตัวคันจิที่ยืมมาจากภาษาจีน 1 ตัวอักษร หรือ 1 ตัว สามารถแทนความหมายได้ทั้งคำ ซึ่งสามารถใส่ข้อมูลจำนวนมหาศาลได้ภายใน 140 หรือ 280 ตัวอักษร ซึ่งมากกว่าภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นที่ต้องใช้พยัญชนะและสระผสมกัน

อันที่จริงแล้ว Twitter มองญี่ปุ่นเป็นตลาดสำคัญมาตั้งแต่ก่อตั้งแล้ว จากการบอกเล่าของ Kaori Saito โฆษก Twitter ประจำที่ประเทศญี่ปุ่นบอกว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแรกที่ได้รับการสนับสนุนหลังจากการเปิดตัว Twitter ภาษาอังกฤษแล้วในปี 2008 และสำนักงานในญี่ปุ่นเองก็เป็นสำนักงานแรกที่ได้ก่อตั้งนอกประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2011 อีกด้วย โดย Saito เสริมว่า

“Twitter เหมาะกับสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมาก”

และทำการอ้างถึงการใช้ Smartphone ระหว่างการเปลี่ยนการเดินทางผ่านขนส่งสาธารณะ อรรถประโยชน์ของแพลทฟอร์มในช่วงของภัยภิบัติธรรมชาติและคุณภาพของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่มีคุณภาพของญี่ปุ่น ถือว่าเป็นตัวการสำคัญของการประสบความสำเร็จของ Twitter

Twitter ได้เล็งเห็นถึงข้อได้เปรียบในตำแหน่งในตลาดของตนเองเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Twitter ได้ออกโฆษณาคั่นระหว่างการ stream video ในญี่ปุ่น ด้วยการเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งด้านการส่งเสริม Live Video และ Performance Ads โดยความนิยมใน Twitter นี้ไม่มีท่าทีว่าจะเสื่อมคลายลงเลย ทำให้มีทั้งธุรกิจ ดารานักแสดง นักการเมือง และ ตัวการ์ตูนที่ยังอยู่และใช้แพลทฟอร์มนี้ในการสื่อสารอย่างกว้างขวาง

แล้วปัญหาคืออะไร? การเติบโตของญี่ปุ่นไม่ได้ขยายออกไปที่อื่นในเอเชียหรือตะวันตกแม้แต่น้อย แม้ว่าทรัพย์สมบัติของ Twitter ทั่วโลกจะอยู่ในขั้นเลวร้ายก็ตาม Neely ยังคงคิดว่าถ้าหากเทรนด์ยังเป็นอย่างนี้ต่อไปอีก ก็อาจจะกลายเป็นเหมือนกรณีของ Yahoo Japan ที่แยกทางจาก Yahoo บริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ และ Neely ทิ้งท้ายว่า

“ไม่มีอะไรที่จะสู้ Twitter ได้แล้วในญี่ปุ่น มันจะเป็นอย่างนี้ต่อไป แม้ว่า Twitter จะไม่มีในประเทศอื่นแล้วก็ตาม”


แชร์ :

You may also like