HomePR NewsTMA มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เปิดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากทุกภาคส่วน [PR]

TMA มุ่งยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เปิดเวทีแลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีจากทุกภาคส่วน [PR]

แชร์ :

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงานสัมมนา Thailand Competitiveness Conference 2018 ภายใต้คอนเซปต์ Powering Thailand Competitiveness through Digital Transformation เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันไอเอ็มดี ผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในยุคปัจจุบัน  และเปิดมุมมองการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลและภาคธุรกิจ  โดยผู้บริหารไอบีเอ็มชี้ธุรกิจสตาร์ทอัพ ไม่สามารถดิสรัปธุรกิจได้  ชี้ควรระวังยักษ์ใหญ่ด้วยกันเอง ข้ามธุรกิจมาแข่ง แนะนำเร่งมองหาโมเดลธุรกิจใหม่ สร้างแพลตฟอร์ม เปิดไอเดียให้คนรุ่นใหม่ ช่วยเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวปาถกฐาพิเศษในหัวข้อ “Realizing Digital Thailand” ในงานสัมมนา Thailand Competitive conference 2018 ซึ่งจัดโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ว่า  ทางไอบีเอ็มได้เคยทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารองค์กร ใน 112 ประเทศ ใน 20 อุตสาหกรรม พบว่า ปัญหาการถูกดิจิทัลดิสรัปชั่นนั้น  ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วง หากองค์กรนั้นมีการปรับวัฒนธรรมองค์กร ปรับวิธีการทำงาน  และมีการเตรียมพร้อมด้วยการจัดตั้งฝ่ายนวัตกรรมขึ้นมาดูแล  ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นไม่มีกำลังมากพอที่จะไปดิสรัปฯรายใหญ่ แต่ในทางกลับกัน องค์กรใหญ่ต่างหากที่จะเป็นผู้ที่ไปดิสรัปฯธุรกิจอื่น

“ ใครที่กลัวฟินเทคนิคสตาร์ทอัพมาดิสรัปธุรกิจ  ต้องบอกเลยไม่ต้องห่วง แต่ให้ห่วงรายใหญ่ด้วยกันเอง เพราะข้อมูลที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกว่า 80% อยู่ในองค์กรใหญ่ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่หาได้บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งการแข่งขันในยุดดิจิทัลนั้นมีการกระโดดข้ามอุตสาหกรรมได้ง่าย จึงปัจจุบันผู้บริหารแบงก์ยักษ์ใหญ่บางราย ยังบอกว่าคู่แข่งของเขาไม่ใช่ฟินเทคแต่เป็นธุรกิจทางด้านโทรคมนาคม ซึ่งมีทั้งเงินทุนและองค์ความรู้ทางด้านดิจิทัล” นางพรรณสิรี กล่าว

สำหรับการเตรียมตัวรับมือสำหรับโลกเศรษฐกิจดิจิทัล อันดับแรก องค์กรต้องมองหาโมเดลธุรกิจใหม่ๆของตัวเอง ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตั้งแผนกนวัตกรรมของตัวเอง หรือร่วมมือกับสตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี นำมาผสานเข้ากับเงินทุนและข้อมูลที่องค์กรมี สร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆขึ้นมา  รวมไปถึงจะต้องนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม มาปรับใช้ในธุรกิจ

การสร้างพื้นที่ให้กับคนรุ่นใหม่ หรือนำคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กร รวมถึงเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนเหล่านี้แสดงความคิด  หรือการมองหาพาร์ทเนอร์ทางกลยุทธ์ เพราะในยุคดิจิทัล เราจะเห็นความร่วมมือแบบข้ามอุตสาหกรรมที่ง่ายขึ้น ซึ่งการมองหาพันธมิตรภายนอกมาต่อยอดธุรกิจ หรือ แม้กระทั่งการร่วมมือกับคู่แข่ง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

“การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล หัวหน้าองค์กร จะเป็นคนสำคัญในการเข้ามาตัดสินใจว่า จะนำมาธุรกิจไปในทิศทางใด  ซึ่งการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มมาประยุกต์ใช้ อย่าเพิ่งไปคิดถึงเรื่องการ สร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่ เปลี่ยนโลก เพียงแต่คิดว่า เราหาเทคโนโลยีที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน แค่นั้นก็เพียงพอต่อการปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลแล้ว”

นางพรรณสิรี  กล่าวเสริมอีกว่า  นอกจากการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มมาใช้แล้ว  การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่าง ปัญญาประเดิษฐ์ (AI) , บิ๊กดาต้า  คลาวด์คอมพิวติ้ง  ไอโอที  และ สมาร์ทดีไวซ์ มาเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ทั้งในเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล หรือ การเช็คอัพระบบการทำงาน ลดต้นทุน ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน

เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มพลังให้ภาคธุรกิจ

ในวันเดียวกัน ได้มีการอภิปรายหัวข้อ  “Powering Business Competitiveness through Digitalization โดยนายชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประเทศไทย อเมซอน เว็บ เซอร์วิส (AWS)  ระบุว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อทุกอุตสาหกรรม  ซึ่งปัจจุบันธุรกิจยุคใหม่ก็นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการพัฒนาองค์กรของตัวเอง  เห็นได้ชัดอย่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์  หรือ AI  ไม่ว่าจะด้านเสียง ภาพ วีดีโอ หรือ ข้อความ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ต่อยอดมาสร้างบริการใหม่ ๆเพื่อต่อยอดธุรกิจ

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์กรมหาชน)  ระบุว่า บทบาทของสำนักงานฯ คือการยกระดับการบริการของภาครัฐ  ซึ่งจะเน้นภารกิจการบูรณาการข้อมูลของหน่วยงานราชการ ในการให้บริการประชาชน  ซึ่งในเดือนสิงหาคมก็จะมีการยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประชาชน และทะเบียนบ้านในการติดต่อหน่วยงานราชการ  ขณะเดียวกันจะมีการผลักดันการเปิดข้อมูลภาครัฐให้มากที่สุด  ซึ่งปัจจุบันจะมีการเปิดระบบให้ภาคเอกชนมาเชื่อมต่อ ในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์  และในอนาคตทางสำนักงานฯได้วางแผนที่จะนำเอกสารหนังสือสัญญาทั้งหมดของราชการเปิดเผยออกมาให้ประชาชนรับรู้  เพื่อสร้างความโปร่งใสในการบริหารงาน  นอกจากนี้ทางสำนักงานฯยังจะร่วมกันวางระบบบริการภาครัฐ เป็นแบบจุดเดียวครบวงจร (one stop service) และการลดขั้นตอนการขอใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของยกระดับความยากง่ายในการทำธุรกิจ หรือ Doing Business

ด้านนายสุวัฒน์ มีมุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ (BIIC) บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บางจากรับรู้เรื่องของการถูกดิจิทัลดิสรัปชั่นมาโดยตลอด  จึงมีการจัดตั้งสถาบันนวัตกรรมฯ ขึ้นมา  เพื่อทำให้เป็นมันสมองและมองหาแผนธุรกิจสำหรับอนาคตของบริษัท  ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทบางจาก  ได้มีการทดลองไอเดียธุรกิจใหม่ๆมาโดยตลอด  โดยเป็นเจ้าแรกที่นำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ร่วมกับการค้าขายพลังงาน   ซึ่งได้มีการจับมือกับพันธมิตรในการทดลองใช้หรือการทดลองระบบพลังงานแสงแดด โซลาร์รูฟ ในสถานีน้ำมัน นอกจากนี้  บริษัทบางจากยังได้มองหาธุรกิจสำหรับอนาคต  เพื่อเป็นอีกแกนธุรกิจที่จะหารายได้ในอนาคต  ซึ่งขณะนี้กำลังเดินหน้าเต็มที่กับโครงการเทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้ก็เข้าไปลงทุนในบริษัทผู้ผลิตเหล่านี้

ดร. กำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  (ก.ล.ต.) ระบุว่า ในฐานะองค์กรกำกับดูแล  จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของผู้ที่เกี่ยวข้อง  และจะต้องไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินทำธุรกิจ  และส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันเสรี ซึ่ง ก.ล.ต. ได้ก็มีการจัด ฝึกอบรมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ ขณะเดียวกันได้วางกรอบการทำงานให้สอดรับกับยุคดิจิทัลมากขึ้น แม้จะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากหลายด้านก็ตาม

ทั้งนี้ เกือบ 20 ปี ที่ทาง TMA มีบทบาทในด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ได้ดำเนินโครงการ Thailand Competitiveness Enhancement Program โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการได้กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ  ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเชื่อมโยงในการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ  ผู้บริหารทั้งภาครัฐและเอกชน ที่เห็นความสำคัญเข้ามามีบทบาทร่วมกันขับเคลื่อนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างคับคั่ง


แชร์ :

You may also like