HomeInsight“Mastercard Love Index” ชี้ คู่รักให้ความสำคัญกับ “ประสบการณ์สุดประทับใจ” มากกว่า “สิ่งของ”

“Mastercard Love Index” ชี้ คู่รักให้ความสำคัญกับ “ประสบการณ์สุดประทับใจ” มากกว่า “สิ่งของ”

แชร์ :

ผลสำรวจ “ดัชนีความรักของมาสเตอร์การ์ด”  หรือ “Mastercard Love Index” ข้อมูลล่าสุดชี้ชัดว่า ในช่วงวันวาเลนไทน์ คู่รักให้ความสำคัญกับประสบการณ์ที่น่าประทับใจ มากกว่าสิ่งของ โดยยอดการใช้จ่ายเกี่ยวกับสิ่งของที่มีผลด้านจิตใจตั้งแต่ปี 2558-2560 เพิ่มสูงขึ้นราว 6% คิดเป็นจำนวนธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นถึง 17%

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ทั้งนี้ผลสำรวจ ดัชนีความรักของมาสเตอร์การ์ด หรือ Mastercard Love Index ถูกจัดทำขึ้นทุกปี เพื่อวิเคราะห์ธุรกรรมการเงินบัตรเครดิต เดบิต และพรีเพดในช่วงวันวาเลนไทน์ตลอดสามปีที่ผ่านมา (11 – 14 กุมภาพันธ์ 2558 – 2560)

ความสุขแท้จริงของคู่รัก คือ สร้างประสบการณ์ประทับใจไม่รู้ลืม

ดัชนีความรักของมาสเตอร์การ์ด เผยว่า สุดยอดของวิธีโปรยเสน่ห์ คือ ความรื่นรมย์ผ่านมื้ออาหาร และในปีที่ผ่านมา (2560) ผู้คนนิยมพาคนรักของตัวเองออกมาดินเนอร์ในช่วงวาเลนไทน์ คิดเป็นสัดส่วนสูงสุดถึง 40% เมื่อดูจากยอดการใช้จ่าย หรือ 75% เมื่อดูจากจำนวนธุรกรรม

นอกจากนี้ การพาคนรักท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์น่าประทับใจ (ด้วยเครื่องบินหรือรถไฟ) ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในช่วงเวลาอันสุดแสนจะโรแมนติกของปี

โดยในปี 2560 มีจำนวนธุรกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้นถึง 23% คิดเป็น 22% ของยอดการใช้จ่ายรวมทั้งหมด ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนบรรยากาศด้วยห้องพักในโรงแรมยังได้รับความนิยมอย่างสม่ำเสมอด้วยสัดส่วน 27% ของยอดการใช้จ่าย

ข้อมูลนี้สนับสนุนแนวคิด “เศรษฐกิจแห่งประสบการณ์” หรือ experience economy ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยเหตุผลที่ว่า ความสุขนั้นแท้จริงแล้วได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่จะประทับใจไม่รู้ลืม (หรืออย่างน้อยก็ควรค่าพอสำหรับการแชร์ในโลกโซเชียล) ไม่ใช่การสะสมสิ่งของ

เทคโนโลยีการจ่ายเงินด้วยระบบ contactless payments ของมาสเตอร์การ์ด สามารถช่วยขจัดความอึดอัดใจได้เมื่อบิลเก็บเงินมาที่โต๊ะอาหาร ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ธุรกรรมประเภทนี้มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างมหาศาลถึง 311% คิดเป็นจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น 203% เมื่อเทียบกับปี 2558 อันที่จริงแล้ว มูลค่าของการใช้จ่ายผ่านเทคโนโลยีไร้สัมผัสนั้นเพิ่มสูงขึ้นในทุกหมวดหมู่ โดยในหมวดที่เพิ่มมากที่สุดคือ การเดินทางทางเครื่องบินและรถไฟ (1,064%) เครื่องประดับและอัญมณี (453%) และดอกไม้ (446%)

ซื้อของขวัญให้คู่รัก กลับลดลง

ในทางกลับกัน มูลค่าการใช้จ่ายเพื่อซื้อของขวัญวันวาเลนไทน์แบบเดิมๆ อาทิ ดอกไม้ นั้นลดลงราว 3% แม้ว่าจำนวนของธุรกรรมจะเพิ่มขึ้นราว 14% แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าดอกไม้จะยังคงเป็นตัวแทนสื่อรักที่ดี แต่กุหลาบเพียงดอกเดียวกลับมีความหมายมากกว่าการมอบช่อดอกไม้ เช่นเดียวกับการมอบเครื่องประดับและอัญมณี ที่มีมูลค่าลดลง 9% แต่กลับมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นราว 10% (เมื่อเทียบกับปี 2558)

คู่รักส่วนใหญ่ วางแผนซื้อของขวัญล่วงหน้า

งานวิจัยที่ได้รวบรวมและวิเคราะห์พฤติกรรมของนักช็อปกว่า 200 เขตแดนทั่วโลกนี้ ยังชี้ให้เห็นถึงเบื้องลึกของรูปแบบและแนวทางในการจับจ่ายใช้สอยอีกด้วย

คำถามก็คือ เมื่อเป็นเรื่องของหัวใจแล้ว เราเป็นนักช็อปจอมวางแผน หรือเป็นแบบตัดสินใจซื้อฉับพลัน ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่วางแผนซื้อของขวัญล่วงหน้า และจะไม่รอจนนาทีสุดท้าย

โดยคู่รักวาเลนไทน์ส่วนมาก (30%) จะซื้อของขวัญเตรียมไว้ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ (คิดเป็นจำนวนธุรกรรม 48.8 ล้านครั้งทั่วโลกตลอดช่วงสามปีที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตามจำนวนธุรกรรมกว่าหนึ่งในสี่ (27%) ของทั้งหมด (ในช่วงสามวัน ตั้งแต่ 11-14 กุมภาพันธ์) เกิดขึ้นในวันวาเลนไทน์นั่นเอง

แนวโน้มในการจับจ่ายใช้สอยผ่านระบบออนไลน์ยังคงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนธุรกรรมผ่านอีคอมเมิร์ซเปรียบเทียบระหว่างวันวาเลนไทน์ปี 2560 เพิ่มสูงจากของปี 2558 ถึง 136%

“การเอาอกเอาใจคนรักในวันวาเลนไทน์เป็นเรื่องที่หลายคนยังทำอยู่ และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดกันได้ง่ายๆ ข้อมูลของเราชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าผู้คนจะยังคงซื้อของขวัญในแบบเดิมๆ แต่แนวโน้มในการซื้อหาประสบการณ์ดีๆ ร่วมกันนั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก การชำระเงินแบบไร้สัมผัสเป็นอะไรที่สะดวกสบาย และทำให้ชีวิตง่ายขึ้นมาก 

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องดีที่เราได้เห็นผู้คนทั่วโลกเริ่มเปิดใจยอมรับเทคโนโลยีนี้กันแล้ว ดัชนีความรักของมาสเตอร์การ์ด ซึ่งตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่สามแล้วนั้น ได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่สำคัญทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อให้ร้านค้าได้มีข้อมูลเชิงลึกในเรื่องพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในช่วงเวลาโรแมนติก” มร.โดนัล ออง ผู้จัดการประจำประเทศไทยและพม่า ของมาสเตอร์การ์ด กล่าว

เจาะลึกพฤติกรรมการใช้จ่ายที่สำคัญของผู้บริโภคในเอเชียแปซิฟิก ช่วงวันวาเลนไทน์ ปี 2558 – 2560

– การใช้จ่ายเงินในเรื่อง “ทางใจ” เพิ่มขึ้นราว 22% นับจากปี 2558 โดยมีจำนวนธุรกรรมรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้นราว 74%
– จำนวนของธุรกรรมอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้น 30%
– ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักวางแผนล่วงหน้า โดยส่วนใหญ่ (28%) จะซื้อของสำหรับวันวาเลนไทน์ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ (เป็นจำนวน 4.6 ล้านธุรกรรม)
– จำนวนธุรกรรมด้านการเดินทางท่องเที่ยว (ด้วยเครื่องบินและ/หรือรถไฟ) เพิ่มขึ้นราว 17% ในปี 2560 คิดเป็น 21% ของมูลค่ารวมทั้งหมดในช่วงวันวาเลนไทน์
– สัดส่วนของการทำธุรกรรมไร้สัมผัสเพิ่มขึ้น 46% และมูลค่าของธุรกรรมเหล่านี้ เพิ่มขึ้นราว 166%
– การใช้จ่ายในเรื่องดอกไม้เพิ่มขึ้นราว 39% เมื่อเทียบกับปี 2558 และจำนวนของธุรกรรมได้เพิ่มขึ้นราว 61% มูลค่าการใช้จ่ายในเรื่องเครื่องประดับและอัญมณีโดยรวมเพิ่มขึ้นราว 21% โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นราว 58% เมื่อเทียบกับปี 2558

Credit Photo (ภาพเปิด) : NUMBER 24 – Authorized Shutterstock Partner in Thailand


แชร์ :

You may also like