HomeFeaturedจุฬาฯ ผุด Siam Innovation District แหล่งเพาะบ่มนวัตกรรมฝีมือคนไทยสู่ระดับโลก ใจกลางสยามสแควร์

จุฬาฯ ผุด Siam Innovation District แหล่งเพาะบ่มนวัตกรรมฝีมือคนไทยสู่ระดับโลก ใจกลางสยามสแควร์

แชร์ :

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เทคโนโลยีและนวัตกรรมกำลังเข้ามาเปลี่ยนการใช้ชีวิตประจำวันของเราอย่างรอบด้าน การปรับตัวและเรียนรู้กับโลกที่กำลังเปลี่ยนไป คือการเปลี่ยงแปลงครั้งใหญ่เพื่อพัฒนาชีวิตเราให้สะดวกมากยิ่งขึ้น

แน่นอนว่าย่านที่มีวัยรุ่นไทยรวมตัวกันมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศจะเป็นที่ไหนไปไม่ได้ นอกจาก “สยามสแควร์” ที่มีทั้งกิจกรรมกวดวิชา ร้านค้าแฟชั่น ร้านอาหาร แหล่งดนตรีต่างๆ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ผุดไอเดียบาลานซ์ระหว่างความบันเทิง และการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างลงตัว เพราะนอกจากจะเป็นการพัฒนาพื้นที่ย่านสยามสแควร์และปทุมวันแล้ว ยังเป็นเวที “ปล่อยของ” สำหรับผู้มีความคิดผลิตนวัตกรรมใหม่ๆ สู่การเป็นประเทศไทย 4.0 อย่างสบายๆ ในโครงการเมืองนวัตกรรมแห่งสยาม หรือ Siam Innovation District (SID)

Siam Innovation District (SID) เกิดขึ้นมาเพื่อมอบองค์ความรู้ให้คนรุ่นใหม่ท่ามกลางบรรยากาศอันคึกคักกลางใจเมืองอย่างสยามสแควร์แห่งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ และสามย่าน โดยมีกิจกรรมและสิ่งที่น่าสนใจมากมายที่เกี่ยวกับ การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม (Industry Liason) ตลาดนัดนวัตกรรม (Marketplace) ชุมชนนวัตกรรมแห่งอนาคต (Futurium) และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Talent Building) เพื่อให้เหล่าสตาร์ทอัพยุคใหม่ได้มีพื้นที่แสดงผลงานเต็มที่ เพื่อต่อยอด และแลกเปลี่ยนความรู้ สู่การสร้างความร่วมมือทางธุรกิจด้านต่างๆ ต่อไปและสร้างประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างมหาศาลให้ประเทศไทยในอนาคตในแบบที่เรียกว่า จาก “Idea” เจอกับ “I Do”

ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่ใช่แค่น้องๆ นักศึกษาที่สามารถเข้าร่วม Siam Innovation District ได้ แต่ใครที่มีไอเดียมากมายไม่ว่าจะมาจากภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ก็สามารถมาจอยไอเดีย เพื่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากโครงการ Siam Innovation District (SID) แล้ว ยังมีโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยามหรือ 100 SID ที่คัดเลือกผู้ที่มีไอเดียด้านต่างๆ จาก 100 โครงการสู่ 38 โครงการที่ผ่านเข้ารอบ และเตรียมขึ้นเวที Business Pitching เพื่อนำเสนอผลงานและต่อยอดด้านการเงินต่อไปในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ ในแวดวงที่เกี่ยวกับ Aging Society หรือสังคมผู้สูงอายุ Digital Economy & Robotics หรือเศรษฐกิจแบบดิจิทัลและระบบหุ่นยนต์, Sustainable Development หรือการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ Inclusive Community & Smart City หรือชุมชนที่มีส่วนร่วมและเมืองอัจฉริยะ

โดยตัวอย่าง 3 โครงการที่น่าจับตามองอย่าง High Five ที่ออกแบบมาให้ฟื้นฟูและลดอาการนิ้วล๊อคในหมู่ผู้สูงอายุ Viabus หรือการบอกระยะและรายละเอียดการต่อสายของรถเมล์ไทย และ Refun Machine ที่เป็นตู้รับซื้อขยะรีไซเคิลอัตโนมัติ ก็ล้วนเป็นโครงการที่น่าสนใจเพราะสามารถต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่จะช่วยให้ชีวิตเราง่ายขึ้นได้จริง


แชร์ :

You may also like