HomeFeaturedมุมมองของคนญี่ปุ่นกับการตลาดในไทย ในช่วงภาวะโศกเศร้าของคนทั้งชาติ

มุมมองของคนญี่ปุ่นกับการตลาดในไทย ในช่วงภาวะโศกเศร้าของคนทั้งชาติ

แชร์ :

kingbhumibol

สถานการณ์ความโศกเศร้าในไทยที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ทำให้เราทุกคนล้วนใจสลายและไม่มีความรู้สึกอยากเปิดรับความบันเทิงเหมือนที่ผ่านมา ส่งผลต่อภาพรวมของการตลาดและสื่อ ที่ร่วมกันหยุดกิจกรรมบันเทิง ชั่วคราวเพื่อให้เราได้บรรเทาความโศกเศร้าให้เบาบางจากการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของประเทศ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

หากแต่ในมุมของชาวต่างชาติ เมื่อพูดถึงด้านเศรษฐกิจที่ต้องไปต่อพวกเขาจะมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีมุมมองจากที่ปรึกษาด้านการตลาดของแบรนด์ญี่ปุ่นที่เชื่อว่ายังคงมีโอกาสในการเข้าถึงและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้บริโภคชาวไทย เพราะว่าช่วงเวลาแบบนี้ก็ไม่ได้ทำให้ตลาดแย่อย่างที่หลายคนคิด

สื่อออนไลน์มากมายรวมไปถึงเฟซบุ๊ก งดลงโฆษณาและระงับการปล่อยแคมเปญทั้งหมดชั่วคราวจนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมา จากการร่วมกันไว้อาลัย นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากที่อาจไม่เข้าใจสถานการณ์และเกิดความกังวลว่าสีสันที่จางหายไปจากบ้านเมืองที่เคยสดใสนี้จะกลับมาอีกครั้งเมื่อไหร่กัน

เมื่อถามไปยังชาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในกรุงเทพและเข้าใจตลาดในไทยดีอย่าง Hiroyuki Okamoto co-founder และ CEO ของบริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดโซเชียลมีเดีย Withfluence ถึงการคาดการณ์ช่วงระยะเวลาของความหม่นเศร้าว่าจะยาวนานแค่ไหน และแบรนด์ควรเดินหน้าต่อไปในทิศทางใดในช่วงเวลานี้ คุณ Okamoto ผู้ซึ่งอยู่ในไทยมาสักระยะและมีความรู้สึกร่วมกับการสูญเสียของชาวไทยเชื่อว่าท่ามกลางสถานการณ์นี้ยังมีความเป็นไปได้ที่แบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นจะตีตื้นกลับขึ้นมาเอาชนะแบรนด์จากเกาหลีและอเมริกาที่แข็งแกร่งขึ้นมากในตลาดไทยเมื่อช่วงปีที่ผ่านมา

เมื่อได้รับคำถามว่า การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชส่งผลต่อมุมมองของผู้บริโภคและแบรนด์อย่างไร คุณ Okamoto ตอบว่า “ในฐานะชาวต่างชาติที่อยู่เมืองไทยมา 3 ปี ผมรู้สึกถึงความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ แต่แน่นอนว่าคนไทยทั้งหลายคงเสียใจมากกว่าที่ผมรู้สึกหลายเท่า สมาคมดิจิทัลของประเทศไทยประกาศว่าเราจะสามารถลงโฆษณาได้อีกครั้งในวันที่ 21 ตุลาคม แต่ต่อให้เราสามารถกลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง ผมก็ยังแนะนำให้แบรนด์ต่างชาติที่กำลังจะเปิดตัวสินค้าใหม่เลื่อนแคมเปญของพวกเขาออกไปก่อน เพราะผมเชื่อว่าผู้บริโภคชาวไทยยังไม่พร้อมที่จะรับรู้การมาถึงของสินค้าหรือบริการใหม่ใดๆ ทั้งนั้น แบรนด์ส่วนใหญ่เลื่อนแคมเปญของพวกเขาไปจนถึงปีหน้า”

คำถามต่อมาคือ เป็นไปได้ไหมที่สถานการณ์ทางการตลาดจะกลับมาเป็นปกติภายในปีนี้ คุณ Okamoto มองว่า “คนไทยเป็นคนที่เข้มแข็งและยืดหยุ่น พวกเขาผ่านปัญหาต่างๆ มามากมาย ตั้งแต่การรัฐประหาร วิกฤติทางการเมือง ไปจนถึงน้ำท่วม แต่ครั้งนี้มันส่งผลกระทบกับจิตใจของพวกเขามากกว่าทุกครั้ง ส่งผลไปยังพฤติกรรมต่างๆ แอลกอฮอล์ รถยนต์ และสินค้าฟุ่มเฟือยน่าจะมียอดขายที่ตกลงในช่วงปลายปีที่เหลืออยู่อย่างแน่นอน”

แล้ว ผู้บริโภคในประเทศไทยมีการตอบสนองเหมือนกันทั้งหมดหรือไม่ มีความแตกต่างของช่วงวัยบ้างไหม “กลุ่ม Millennials ค่อนข้างยืดหยุ่นกว่า แน่นอนว่าพวกเขาก็รู้สึกไม่ต่างกัน พวกเขาเศร้าโศกกับเรื่องที่เกิดขึ้น แต่พวกเขาไม่หยุดการใช้จ่าย เพื่อนคนไทยของผมจองตั๋วเครื่องบินไปต่างประเทศในช่วงวันหยุดยาว และแม้จะแคนเซิลได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม แต่พวกเขาก็ไม่ได้แคนเซิลทริป เพราะเขาต้องการมีความสุขกับชีวิตต่อไป แบรนด์จึงควรสังเกตและทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของคนกลุ่ม Millennials นี้และเข้าถึงให้ไวที่สุด เพราะพวกเขาต่างจากกลุ่มอื่นๆ” นี่คือบทวิเคราะห์ของเขา

สุดท้ายคุณ Okamoto ทิ้งคำแนะนำไว้สำหรับแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่นสำหรับการเตรียมตัวรับกับอีก 12 เดือนข้างหน้านี้ “สิ่งที่สำคัญที่สุดและควรทำเป็นอันดับแรกคือผมอยากให้แบรนด์เคารพความรู้สึกของคนไทย แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าจะต้องเลื่อนแคมเปญทุกอย่างออกไปจนหมด เพราะในหลวงและรัฐบาลเองก็คงไม่ได้อยากให้มันเป็นแบบนั้น ผมได้ยินมาว่าบริษัทญี่ปุ่นหลายเจ้าตัดสินใจแคนเซิล Business trip เลื่อนการก่อตั้งบริษัทใหม่ และลดงบประมาณการตลาดลง บริษัทแม่ในญี่ปุ่นไม่ได้เข้าใจประเทศไทยอย่างแท้จริง นี่ไม่ใช่วิกฤติแต่นี่คือโอกาสในการเข้าถึงหัวใจของคนไทย เข้าไปผูกพันธ์กับพวกเขาในมุมมองที่ต่างจากเดิม คนไทยจะประเมินแบรนด์ญี่ปุ่นจากวิธีการที่เราแสดงออกกับเหตุการณ์นี้ แม้ว่าไทยและญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่ถ้าคนญี่ปุ่นแสดงออกในแง่ลบ คนไทยก็พร้อมที่จะหันไปหาแบรนด์อื่นๆ ทันที

ผมจึงอยากจะแนะนำอย่างยิ่งว่าแบรนด์ญี่ปุ่นทั้งหลายต้องเข้าใจสถานการณ์ของตลาดและผู้รับสื่อในไทยอย่างแท้จริง พวกเขาไม่ควรตัดงบออก แต่ควรลงมันไปกับการสื่อสารในมุมมองที่ต่างออกไป เพื่อปลอบประโลมสร้างความเข้มแข็งให้กับพวกเขา และผูกสัมพันธ์ในระยะยาว”

Source

แปลและเรียบเรียงโดย Prim NM


แชร์ :

You may also like