HomeSponsoredเจาะลึกความสำเร็จ “กรุงศรี ไรส์” ดัน FINTECH ไทยผงาดนวัตกรรมโลกการเงิน

เจาะลึกความสำเร็จ “กรุงศรี ไรส์” ดัน FINTECH ไทยผงาดนวัตกรรมโลกการเงิน

แชร์ :

11

ในยุคดิจิตอล เป็นยุคเปิดกว้างให้กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ได้แสดงศักยภาพของตนเอง และก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจได้ ทำให้ในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้ เห็นปรากฏการณ์ “สตาร์ทอัพ” เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเงิน ที่คิดค้นและสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงิน หรือที่เรียกว่า “ฟินเทค” (Financial Technology)

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางการเกิดขึ้นของ “ฟินเทคสตาร์ทอัพ” มากมาย พบว่าส่วนใหญ่แล้วยังต้องการองค์ความรู้ด้านธุรกิจ ด้านการตลาด รวมถึงด้านเงินทุนที่จะช่วยต่อยอดให้เดินไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

ด้วยวิสัยทัศน์ของ “กรุงศรี” (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) มุ่งขับเคลื่อนสู่การเป็น Digital & Innovative Banking” เห็นความสำคัญของ “ฟินเทคสตาร์ทอัพ” ไทยที่คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมการเงินใหม่ๆ ดังนั้น เมื่อ 2 ปีที่แล้ว กรุงศรีจึงได้ริเริ่มโครงการ Krungsri Uni Startup” เป็นการสนับสนุนสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในระดับอุดมศึกษา จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ นำเสนอผลงานการพัฒนาแอพพลิเคชั่นทางการเงิน พร้อมกลยุทธ์ทางการตลาด โดยมีผู้เชี่ยวชาญและเงินทุนสนับสนุนจากกรุงศรี ส่งเสริมให้พัฒนาโมเดลธุรกิจที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

ต่อมากรุงศรีเล็งเห็นว่าควรมีโครงการที่ช่วยเติมเต็มความรู้ด้านต่างๆ ให้กับฟินเทคสตาร์ทอัพไทย เพื่อเร่งสปีดธุรกิจให้เติบโตแบบไร้ขีดจำกัด จึงได้ร่วมกับ “ไรส์” (RISE) ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจสตาร์ทอัพ และ Corporate Accelerator แห่งแรกในประเทศไทย ก่อตั้งโครงการ “กรุงศรี ไรส์” (Krungsri RISE) เพื่อให้การสนับสนุน และผสานความร่วมมือระหว่างธนาคาร และธุรกิจฟินเทค เพื่อทำให้ลูกค้าและผู้บริโภคได้รับประโยชน์ อีกทั้งเป็นการปรับตัวและตอบโจทย์กระแสความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี

“เมื่อ 3 ปีที่แล้ว กรุงศรีติดตามดูแนวโน้มของฟินเทคสตาร์ทอัพ เพื่อศึกษาสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเป็นที่มาของโครงการแรกที่เราให้การสนับสนุนฟินเทคสตาร์ทอัพ คือ โครงการ Krungsri Uni Startup” จากการจัดโครงการดังกล่าว ทำให้เรารับรู้ว่ายังมีคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถ มีไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์อีกมากมาย ขณะเดียวกันเราพบว่าในปัจจุบันมีฟินเทคสตาร์ทอัพเกิดขึ้นทั่วโลกแล้วกว่า 2,000 ธุรกิจ

ดังนั้น กรุงศรีเชื่อมั่นว่ายังมีโอกาสอีกมากสำหรับตลาดในประเทศไทย ซึ่งพร้อมเปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ ทางการเงิน เราจึงจัดทำโครงการต่อเนื่องในรูปแบบ Accelerator Program ในชื่อ “กรุงศรี ไรส์” ซึ่งวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งโครงการ ไม่ได้ทำเพื่อธนาคาร แต่เรามุ่งเน้นความสำเร็จของธุรกิจฟินเทคอย่างแท้จริง โดยออกแบบโปรแกรม Boot Camp เชิญผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้คำปรึกษาที่มีความรู้ความสามารถโดยตรง มาให้ความรู้แก่ฟินเทคสตาร์ทอัพ ปรับ เกลาสิ่งที่เขายังขาด” คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านกรุงศรีคอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัล แบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) อธิบายนโยบายการสนับสนุนธุรกิจฟินเทค

22

หลังจากเปิดตัวโครงการ “กรุงศรี ไรส์” เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีฟินเทคสตาร์ทอัพกว่า 100 รายให้ความสนใจ และสมัครเข้าร่วมโครงการ กระทั่งในที่สุดได้คัดเลือก 15 สตาร์ทอัพไทยครบทุกด้าน เช่น ธุรกิจการกู้ยืม (Lending) ธุรกิจประกัน (Insurance) ธุรกิจการลงทุน (Investment)

ประกอบด้วยทีม aBorrow, AppMan, Carrance, ChomCHOB, Finnomena, iTAX, MarketAnyware, Meefund, Pay Social, PeakEngine, Piggipo, SatangDee, SetMonitor, ThumbPaste และ TRcloud  โดยทั้ง 15 สตาร์ทอัพ ได้ร่วมกิจกรรม Boot Camp เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อติวเข้มกับ RISE Experts และ RISE Mentors ชั้นนำของประเทศ มากถึง 40 คน อาทิ ทิพยสุดา ถาวรามร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.), วิเรขา สันตะพันธุ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย, ดร.สันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, กรณ์ จาติกวณิช ประธานชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย, อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการไลน์ ประเทศไทย เป็นต้น

“ปีนี้เป็นปีแรกที่เราเริ่มโครงการ แต่มีสตาร์ทอัพที่ดีที่สุด ร้อนแรงที่สุดมาเข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งเป็นบทพิสูจน์ว่าโครงการ “กรุงศรี ไรส์” ได้รับการยอมรับ มีหลักสูตรบ่มเพาะที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน โดยเป้าหมายของ “กรุงศรี ไรส์” นอกจากส่งเสริมฟินเทคแล้ว ยังมุ่งสร้างชุมชนฟินเทคที่แข็งแกร่ง เพื่อโอกาสในการต่อรอง และนำเสนอแนวทางที่ถูกต้องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น” นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหาร “ไรส์” ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพ กล่าวเสริม

33

เดินเคียงข้างการเติบโต

หลังจากทราบถึงวิสัยทัศน์การพัฒนาฟินเทคสตาร์ทอัพของกรุงศรีไปแล้ว คราวนี้มาฟังเสียงสะท้อนจากตัวแทน 15 สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการ “กรุงศรี ไรส์” โดยมี ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ จาก iTAX ในฐานะประธานรุ่น 1 ของโครงการ เล่าว่า การทำฟินเทคเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความเชื่อสูงมาก เพราะกำลังทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ หรือสิ่งที่บางคนรู้สึกว่าเรากำลังพูดเรื่องเพ้อเจ้อ ไร้สาระ ฝันเฟื่อง ให้เกิดขึ้นเป็นจริงได้ โดยมี “กรุงศรี” และ “ทีมงานของกรุงศรี ไรส์” เชื่อว่าพวกเราสามารถทำได้ และพาเรามายืนอยู่ในวันนี้ได้ ซึ่งโครงการนี้ ทุกคนไม่ได้มาเพื่อแข่งขัน แต่มาเพื่อรวมตัวกัน เป็นมิตรภาพที่ดีต่อกัน และสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย

ทางด้าน  คุณพงษ์ธร ถาวรธนากุล จาก Finnomena รองประธานรุ่น 1 เสริมว่า โครงการ “กรุงศรี ไรส์” ถือเป็นตัวกลางที่ทำให้สตาร์ทอัพทั้ง 15 ทีม ได้รับความรู้ คำแนะนำจาก Mentor ชั้นนำของประเทศ ทั้งยังเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิดธุรกิจได้เร็วขึ้น และเติบโตอย่างถูกทิศทาง

44

นอกจากนี้สิ่งที่ทำให้ “กรุงศรี ไรส์” แตกต่างจากโครงการอื่น คือ เป็นพื้นที่เปิดกว้างให้คนมาร่วมแชร์กัน ซึ่งมิตรภาพของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ไม่ว่าใครมีโมเดลธุรกิจอะไร มีไอเดียใหม่อย่างไร มีเทคโนโลยีใหม่อะไร สามารถแบ่งปัน ร่วมมือกัน เพื่อทำให้ไอเดียธุรกิจที่คิดขึ้นมา เกิดขึ้นจริงที่สุด เร็วที่สุด และถูกทางที่สุด

ขณะเดียวกันฟินเทคสตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ ยังได้ขยายโอกาสการทำธุรกิจให้กว้างขึ้น อย่างความสำเร็จในช่วง 2 เดือนที่ทีมพัฒนา iTAX” แอพพลิเคชั่นและแพลตฟอร์มจัดการเรื่องภาษี และให้ความรู้ด้านภาษี ได้รับจากการเข้าร่วม “กรุงศรี ไรส์” สามารถขยายธุรกิจสู่ B2B ล่าสุดเป็นพาร์ทเนอร์กับ Aon Hewitt จากก่อนหน้านี้สร้างฐานตลาดกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป (B2C) มาได้สักพักแล้ว

“โครงการกรุงศรี ไรส์ ช่วยเสริมทักษะและความรู้การทำธุรกิจ ขณะเดียวกัน “กรุงศรี” มีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมากมาย จึงคาดว่าต่อไปจะมีอีกหลายโปรเจคที่ร่วมมือกัน เพื่อเสริมความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน” ดร. ธรรม์ธีร์ สุกโชติรัตน์, CEO iTax เล่าความประทับใจที่ได้รับจากโครงการกรุงศรี ไรส์

55

ขณะที่ฟินเทค Carrance” แอพพลิเคชั่นที่ช่วยบริหารจัดการกรมธรรม์ประกันภัย และช่วยเลือกประกันที่เหมาะสมให้กับลูกค้า ความสำเร็จจาก 2 เดือนในโครงการ “กรุงศรี ไรส์” แม้จะเป็นน้องเล็กจากโครงการ “Krungsri Uni Startup” ได้นำเอาผลงานที่ประกวดในครั้งนั้น มาพัฒนาต่อยอดจนสามารถเปิดตัว BETA เวอร์ชั่นได้สำเร็จ

“การเข้าร่วมโครงการกรุงศรี ไรส์ พาเราไปเจอ Mentor ระดับประเทศ โดยเฉพาะด้านธุรกิจ ที่ช่วย Shape ไอเดียธุรกิจของเรา ทำให้ได้รับความรู้ และได้พัฒนาธุรกิจไปพร้อมกับโครงการ” คุณพันธิตรา ปิลันธน์โอวาท ตัวแทนจาก Carrance” เล่าประสบการณ์

66

ตั้ง “Krungsri Venture Capital” สนับสนุนเงินทุนฟินเทค

ไม่เพียงแต่การตั้งโครงการ Krungsri Uni Startup” ในระดับอุดมศึกษา และโครงการ “กรุงศรี ไรส์” สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจฟินเทคเท่านั้น ล่าสุด “กรุงศรี” ได้ผ่านการขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการจัดตั้งบริษัท Krungsri Venture Capital” มีเงินลงทุน 30 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยขณะนี้อยู่ระหว่างที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารพิจารณาอนุมัติ

“การตั้ง Krungsri Venture Capital เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันฟินเทคสตาร์ทอัพ ได้มีเงินทุนใช้ในการขยายธุรกิจ ขณะเดียวกันทำให้กรุงศรีเข้าไปอยู่ใน FinTech Ecosystem และกลุ่มธุรกิจ Venture Capital ทั้งในประเทศไทย และเอเชียแปซิฟิก เพื่อธนาคารจะได้มีความรู้ มีความเข้าใจในการลงทุนกับกลุ่มฟินเทค และสตาร์ทอัพได้ดียิ่งขึ้น” คุณฐากร อธิบายวัตถุประสงค์ของการตั้ง Venture Capital

พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า “กรุงศรี” มั่นใจว่านับจากนี้ไปฟินเทคสตาร์ทอัพของไทยจะแข็งแกร่งยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีการสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทย รวมถึงสถาบันการเงิน ตั้งทีมงานหรือหน่วยงานดูแลฟินเทคโดยเฉพาะ ทำให้ต่อไปพัฒนาการของอุตสาหกรรมการเงินเคลื่อนตัวไปข้างหน้าได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

77

 


แชร์ :

You may also like