HomeFeaturedเปิดคัมภีร์ปั้นแบรนด์ “ม.รังสิต” Customer Centric คือหัวใจสำคัญ

เปิดคัมภีร์ปั้นแบรนด์ “ม.รังสิต” Customer Centric คือหัวใจสำคัญ

แชร์ :

rangsit university branding การตลาด

นักการตลาดและนักโฆษณาทั้งหลาย คงทราบกันดีว่า Industry ปราบเซียนของการทำการตลาดมีอยู่ไม่กี่อย่าง เช่น ธุรกิจการศึกษา, ยา, โรงพยาบาล เพราะจะทำการตลาดมากไปก็ดูหน้าเลือด จะไม่พูดข้อดีออกมาให้คนได้รู้ก็จะแป๊ก…หนังสือ “คบเด็กสร้างแบรนด์” จะพาเราไปไขกุญแจสู่ความสำเร็จของม.รังสิต (Rangsit University) กว่าจะถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

เส้นทางการสร้างแบรนด์ของ ม.รังสิต เริ่มต้นอย่างไม่สวยหรูนัก ด้วยอุปสรรคทางค่านิยมที่สั่งสมมานานในเรื่องการศึกษาในมหาวิทยาลัยรัฐ ยิ่งในระยะหลังสถาบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ กับสภาพแวดล้อมไปมาก ราชภัฎได้รับการยกระดับขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรัฐก็มีการเปิดหลักสูตรพิเศษขึ้นมากมาย แค่มหาวิทยาลัยเอกชนแข่งขันกันเองก็หืดจับแล้ว ยังมีเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกันต้องการผลิตปัญญาชนให้กับสังคม หันมาแข่งในสนามเดียวกันแบบนี้ ยิ่งต้องทำงานหนักขึ้น นอกจากนี้ยังโดนน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 กระหน่ำซัดเข้ามา ก็ยิ่งทำให้งานฟื้นฟูและเสริมสร้างแบรนด์เป็นเรื่องยาก

สิ่งที่ ม.รังสิต ทำก็คือ เลือกเดินทางยาก แทนที่จะซ่อมแซมใหม่ แต่เลือกที่จะสร้างใหม่ให้ดีกว่าเดิม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพรองรับการเติบโต และการผลิตนักศึกษาที่มีคุณภาพ เพราะไหนๆ ก็จะต้องเสียเงินซ่อมอยู่แล้ว

rangsit university รังสิต การตลาด

ในส่วนของการตลาด ก็วางแผนโดยจับเอาอินไซต์ของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นตัวตั้ง หรือที่นักการตลาดเรียกว่า กลยุทธ์ “Customer Centric” มีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งในที่นี่ก็คือ เหล่านักศึกษา, และเด็กมัธยมปลาย เช่น

– รื้อแนวทางการทำวารสารม.รังสิต ที่มีแต่หน้าผู้บริหารตัดริบบิ้น ปรับเป็นวารสารสำหรับนักศึกษา และเปิดพื้นที่ให้นักศึกษาลงมือทำด้วยตัวเองตามแบบฉบับกองโจร

– การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ โดยให้รุ่นพี่เป็นคนมาอธิบายแนวทางการเรียน วัยรุ่นเหมือนกันคุยภาษาเดียวกัน จึงเข้าใจกันมากกว่า หรือการจัดทำเว็บไซต์ และสื่อออนไลน์อื่นๆ ที่ทำขึ้นมาเพื่อสื่อสารกับวัยรุ่นโดยเฉพาะ

– การเข้าหากลุ่ม Influencer ของเด็กนักเรียนอย่างจริงใจ นั่นก็คือ การให้ความรู้และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องกับ “ครูแนะแนว” ซึ่งเป็นที่ปรึกษา และเข้าใจถึงปัญหาที่แท้จริงของนักเรียนทุกคน

– เน้นการตลาดเชิงประสบการณ์ (Experience Marketing) หยิบเอาประสบการณ์ที่นักศึกษาจะได้เจอจริงๆ มาเป็นจุดขายของหลักสูตร และสื่อสารออกไปให้เห็นภาพชัดเจน ผ่านแคมเปญโฆษณา “ที่นี่สอนประสบการณ์”

การใส่ใจปัญหาตั้งแต่เรื่องเล็ก ไปจนถึงเรื่องใหญ่ เมื่ออุดช่องโหว่ได้ทั้งหมด ทุกๆ Touch Point ที่แบรนด์นำเสนอออกไปจึงจะประสบผลสำเร็จในแนวทางเดียวกัน

rangsit university รังสิต2

จากความพยายามเหล่านี้ ทำให้ปัจจุบัน ม.รังสิต ครองใจกลุ่มเป้าหมาย โดยขึ้นเป็นเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเอกชน อันดับ 1 และแฟนเพจเฟซบุ๊กที่มีแฟนมากที่สุดจากการเก็บข้อมูลของ Zocial Rank แถมท้ายด้วยรางวัลจากแคมเปญโฆษณา “ที่นี่สอนประสบการณ์” ที่เด็ดไปกว่านั้น ในด้านปริมาณ ม.รังสิตขึ้นเป็น Market Leader และในด้านคุณภาพยังเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการประเมินจากทุกสถาบันให้อยู่ในระดับ “ดีมาก”

มีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายของเส้นทางกว่าจะเป็นเบอร์ 1 ของม.รังสิต ติดตามแนวคิดดีๆจากหนังสือ “คบเด็กสร้างแบรนด์” ได้ที่ http://www2.rsu.ac.th/kobdeksangbrand

[xyz-ihs snippet=”LINE”]


แชร์ :

You may also like