HomeInsight5 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม มาแรงและน่าจับตามองในอนาคต

5 เทรนด์อาหารและเครื่องดื่ม มาแรงและน่าจับตามองในอนาคต

แชร์ :

อาหารและการบริโภคอาหารทุกวันนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หากผู้คนในยุคสมัยก่อนมาอยู่ในปัจจุบันคงจะแปลกใจมากที่มีเส้นพาสต้าที่ทาจากวัตถุดิบอื่นที่ไม่ใช่ข้าวสาลี หรือมีการสั่งอาหารสาเร็จรูปพร้อมทานล่วงหน้าจากคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ในบทความนี้ผู้เขียนจึงได้สรุปแนวโน้มการบริโภคอาหาร ซึ่งรวมถึงวิธีการซื้อ การปรุง และการรับประทานอาหาร ตลอดจนแนวคิดของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรับมือของผู้ผลิต ดังนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

อาหารเพื่อสุขภาพ: ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปมีความใส่ใจและดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้น โดยกลุ่มธุรกิจร้านค้าอาหารจากธรรมชาติและอาหารออร์แกนิก เช่น Whole Food Market ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากสามารถบ่งชี้ถึงศักยภาพการเติบโตของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพและกำลังซื้อของผู้บริโภคในกลุ่มดังกล่าว ประเภทอาหารในกลุ่มนี้รวมถึงอาหารออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเตนและแลคโตส รวมทั้งอาหารที่มีสัดส่วนของน้ำตาลและไขมันต่ำ ทั้งนี้ ในปี 2013 มูลค่าของตลาดสินค้าอาหารและเครื่องดื่มออร์แกนิกทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอยู่ที่ราว 161,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 หรือคิดเป็นอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสม (CAGR) ที่ 15% ต่อปี โดยมีตลาดอเมริกาเหนือและยุโรปเป็นตลาดออร์แกนิกที่ใหญ่ที่สุดของโลก มูลค่าตลาดรวมกันสูงถึง 95% ของตลาดออร์แกนิกทั่วโลก (รูปที่ 1) สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเตนพบว่า เป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมากเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศตะวันตก เนื่องจากในภูมิภาคดังกล่าวมีคนไข้โรคเซลีแอค (แพ้กลูเตน) มากกว่าประเทศอื่นๆ และปัจจุบันพบว่าการบริโภคอาหารที่ปราศจากกลูเตนเป็นเพียงแนวทางเดียวในการรักษาโรคนี้ นอกจากนี้ แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ปราศจากกลูเตนยังเพิ่มขึ้นจากความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคทั่วไปที่ความเชื่อว่าอาหารประเภทดังกล่าวดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารที่มีกลูเตนอีกด้วย

อาหารสำเร็จรูป: ความต้องการอาหารประเภทดังกล่าวในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นจากรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น การขยายตัวของจำนวนร้านค้าแบบลูกโซ่ และขนาดครอบครัวที่เล็กลง อาหารในกลุ่มนี้จะรวมถึงอาหารสำเร็จพร้อมทาน อาหารพร้อมปรุง อาหารส่งถึงบ้าน ตลอดจนกลุ่มอาหารแปรรูปที่เน้นความสะดวกสบายในการบริโภคและมีอายุการเก็บนาน โดยกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมอาหารสำเร็จรูปจะให้ความสำคัญกับความสะดวก รูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ คุณค่าทางอาหาร ความปลอดภัย ความหลากหลาย และความน่าดึงดูดของผลิตภัณฑ์ สำหรับอาหารพร้อมทานซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับต้นๆ ในปี 2015 มีมูลค่ารวมถึง 80,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีที่ผ่านมา และมีอัตราการเติบโตที่ 6% ต่อปี โดยพบว่าสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งตลาดที่ใหญ่ที่สุด ในขณะที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่ ได้แก่ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ก็มีแนวโน้มที่จะบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเช่นเดียวกัน

อาหารฮาลาล: กลุ่มประชากรมุสลิมที่กำลังขยายตัว กอปรกับโอกาสทางธุรกิจในห่วงโซ่การผลิตที่ยังมีผู้เล่นน้อยราย ทำให้ตลาดเศรษฐกิจฮาลาลเป็นตลาดเกิดใหม่ที่ทรงอิทธิพลและมีการอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในโลกวันนี้ อุตสาหกรรมฮาลาลเป็นที่รู้จักในนาม “ตลาดพันล้านอันดับ 3 ของโลก” ถัดจากประเทศจีนและอินเดีย เพราะต้องรองรับประชากรมุสลิมที่มีมากถึงกว่า 2,000 ล้านคนทั่วโลก โดยชาวมุสลิมมีข้อห้ามอาหาร 6 ชนิดตามหลักศาสนา ตามอักษรย่อ ABCD IS คือ แอลกอฮอล์ (Alcohol) เลือด (Blood) สัตว์กินเนื้อและนก (Carnivorous animals and birds) เนื้อของสัตว์ที่ตายแล้ว (Dead meat) อาหารที่ถวายให้กับเทพเจ้ายกเว้นพระเจ้าอัลลอฮ์ (Immolated food) และเนื้อสุกร (Swine) ซึ่งอุตสาหกรรมนี้คาดว่าจะเติบโตด้วยอัตรา 10% ต่อปี จนมูลค่าตลาดอาจเพิ่มขึ้นจากเพียง 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2013 ไปอยู่ที่ 1.8 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2018 (รูปที่ 2) นอกจากนี้ เนื่องจากในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตของอาหารชนิดดังกล่าวจะต้องปฏิบัติตามหลักศาสนาอิสลาม จึงทำให้ยังมีโอกาสในธุรกิจอาหารประเภทนี้อีกมาก นับตั้งแต่ขั้นตอนการทำการเกษตร เรื่อยไปจนถึงการจัดจำหน่าย อย่างไรก็ดี ต้องไม่ลืมว่าตลาดอาหารฮาลาลยังมีความยุ่งยากซับซ้อนในการดำเนินการค่อนข้างมาก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีองค์กรกลางที่ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานฮาลาลสากล ดังนั้น แต่ละประเทศจึงจำเป็นต้องใช้องค์กรในประเทศตนเองในการออกใบรองรับดังกล่าว ซึ่งทำให้ผู้เล่นใหม่ในตลาดอาจต้องใช้เวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจ โดยเฉพาะในกรณีที่ต้องการส่งอาหารฮาลาลไปขายยังตลาดต่างประเทศ

อาหารและเครื่องดื่มเสริม: ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนับเป็นอีกหนึ่งกลุ่มสินค้าที่มีอิทธิพลในตลาด เนื่องจากผู้บริโภคยังคงสรรหาสิ่งที่ดีกว่าและทางเลือกที่มากกว่าในการตอบสนองความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น อาหาระและเครื่องดื่มที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองและร่างกาย การเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน หรือการเสริมความงาม อนึ่ง จากการศึกษาของสถาบันวิจัยอาหาร Leatherhead พบว่าตลาดอาหารเสริมของโลกในปี 2014 มีมูลค่า 54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 25% จากปีก่อนหน้า โดยแม้ว่าส่วนแบ่งตลาดของอาหารและเครื่องดื่มเสริมจะคิดเป็นเพียง 5% ของมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มทั้งหมด แต่ผู้เล่นในตลาดกลับให้ความสนใจสินค้าประเภทนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ควบคุมน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์บำรุงหัวใจ และผลิตภัณฑ์เสริมการทำงานของระบบย่อยอาหาร ตลาดสินค้าประเภทนี้ที่ใหญ่ที่สุดคือ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนหนึ่งเนื่องจากผู้บริโภคมีความคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ประเภทนี้และมีกำลังซื้อมากกว่าผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนา

อาหารเพื่อผู้สูงอายุ: สืบเนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจอาหารมีการปรับตัวเพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ ทั้งนี้ สหประชาชาติคาดการณ์ว่า ภายในปี 2050 ประชากรโลกมากกว่า 20% (ประมาณ 2.2 พันล้านคน) จะมีอายุมากกว่า 60 ปี ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวนี้ ถือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจอาหาร เนื่องจากเป็นการเพิ่มกลุ่มผู้บริโภคอีกประเภทหนึ่งเข้ามา อย่างไรก็ตาม ผู้เล่นส่วนใหญ่ยังไม่มีการปรับตัวหรือปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจนมากนัก มีเพียงบริษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Amazon ที่ได้เปิด 50+ Active and Healthy Living Store เพื่อขายผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มลูกค้าที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป บริษัท Nestle ที่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบขวดกาแฟให้มีส่วนโค้งเพื่อให้จับถนัดมือและเปิดง่ายขึ้น และกลุ่มธุรกิจ Asahi ที่ได้ออกผลิตภัณฑ์สตูว์จานเดียวเพื่อรองรับความต้องการของครอบครัวเดี่ยวและผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น เป็นต้น

 

นัยยะสำคัญ

การที่ผู้บริโภคกระแสหลักเริ่มคำนึงถึงสุขภาพมากขึ้นทำให้เราเห็นสัดส่วนอาหารเพื่อสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดสหรัฐฯและยุโรป เช่นเดียวกันกับความต้องการอาหารและเครื่องดื่มเสริมที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากการที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนบริโภคมากขึ้น โดยเฉพาะในสหรัฐฯและญี่ปุ่น นอกจากนี้ รูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนที่เร่งรีบมากขึ้น และการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ จะทำให้แนวโน้มความต้องการบริโภคอาหารสำเร็จรูปมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วยเพื่อตอบโจทย์ในเรื่องความสะดวกสบายและประหยัดเวลา โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ ได้แก่ ราคา ความไม่ซับซ้อน ความสะดวกในการบริโภค ความสะดวกในการซื้อหา รวมทั้งความปลอดภัยและถูกสุขอนามัย โดยตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดคือตลาดอาหารฮาลาลและตลาดอาหารเพื่อผู้สูงอายุ ถึงแม้ว่าการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจก็สามารถปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เข้ากับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปเพื่อให้เข้าถึงทิศทางที่อุตสาหกรรมอาหารจะมุ่งไปในอนาคตได้ เช่น

  • ผู้ผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูป สามารถปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทีละน้อย เพื่อทดสอบการตอบรับของลูกค้าเบื้องต้น ก่อนที่จะมีการเปิดตัวสินค้าอย่างเต็มตัว
  • ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตอาหารยังสามารถผันตัวเองไปเป็นผู้ป้อนวัตถุดิบ (supplier) ให้กับผู้เล่นรายอื่นๆ ในห่วงโซ่การผลิตได้ ในสภาวะที่ผู้ผลิตนั้นๆ ยังไม่สามารถผลิตสินค้าสำเร็จรูปได้อย่างเต็มตัวในขณะนั้น

SCB food trends 2015 3

 

SCB food trends 2015 2

SCB food trends 2015

 

Source : SCB EIC  

 

อีกหนึ่งช่องทางรับข่าวสารกับ Brand Buffet  ผ่าน LINE 

  เพิ่มเพื่อนรัวๆ  ที่ ID :   @brandbuffet

เพิ่มเพื่อน


แชร์ :

You may also like