HomeBrand Move !!นีลเส็น เปิดเทรนด์นักช็อปไทย รับมือเจนมี-มีเจนทรงอิทธิพล

นีลเส็น เปิดเทรนด์นักช็อปไทย รับมือเจนมี-มีเจนทรงอิทธิพล

แชร์ :

gen me Nielsen

 

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

นีลเส็นไทย เปิดเทรนด์นักช็อปไทย “เจนมี-มีเจน” หรือกลุ่มเด็ก-ผู้ใหญ่ พบมีเจนชอบความท้าทายมากกว่ากลุ่มเจนมี ชี้พฤติกรรมการซื้อสินค้าเจนมีชื่นชอบสินค้าลดราคา แต่มีเจนชอบโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 แนะนักการตลาดปรับตัวรับโอกาสใหม่

นายยงยุทธ องค์วัฒนะพัฒน์ ผู้อำนวยการRetail Measurement Services, นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผยในหัวข้อ เทรนด์นักช็อปชาวไทย หรือ “Gen me meets Me Gen” ว่า กลุ่ม Gen me คือ กลุ่มคนอายุระหว่าง 15-34 ปี แบ่งสัดส่วนผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% ขณะที่กลุ่ม Me Gen คือ กลุ่มคนที่อายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นผู้หญิง 53% ผู้ชาย 47% หรือแบ่งง่าย ๆ ว่าเป็นกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ โดยจากการศึกษาพบว่า กลุ่มมีเจนชอบความท้าทายมากกว่ากลุ่มเจนมี

ทั้งนี้ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมของทั้งสองกลุ่มว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 หัวข้อ ได้แก่ 1.การกินอยู่ต่างกันอย่างไร จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเจนมีชอบทานอาหารนอกบ้าน สังสรรค์ ปาร์ตี้ ออกกำลังกายมากกว่ามีเจน ขณะที่มีเจนชอบทานอาหารที่บ้าน และชอบทานอาหารสุขภาพ

 

นอกจากนี้ยังพบว่า คนไทยส่วนใหญ่รับประทานอาหารมากกว่า 6 มื้อถึง 35% ตามมาด้วย 5 มื้อคิดเป็น 25% 4 มื้อ 21% และ 3 มื้อเพียง 19% สะท้อนให้เห็นว่าอาหารเองต้องเป็นอะไรที่สะดวก และเข้าถึงได้ง่ายเพื่อรองรับผู้บริโภคกลุ่มนี้ และยังพบว่ากลุ่มมีเจนรับประทานอาหารเช้ามากกว่าเจนมี ขณะที่กลุ่มเจนมีนิยมทานอาหารช่วงกลางดึก (Late Night) ค่อนข้างมาก ซึ่งทั้งสองช่วงถือเป็นโอกาสของนักการตลาดอีกเช่นกัน

2.การเลือกซื้อสินค้า พบว่าผู้บริโภคทั้งสองกลุ่มชื่นชอบการช็อปปิ้งเหมือนกัน แต่เจนมีนิยมช็อปปิ้งมากกว่ามีเจน อย่างไรก็ตาม กลุ่มมีเจนกลับมียอดการใช้จ่ายต่อครั้งมากกว่ากลุ่มเจนมี ซึ่งมักตัดสินใจซื้อสินค้าจากการลดราคา ขณะที่มีเจนจะตัดสินใจซื้อสินค้าจากโปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 มากกว่า สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มเจนมีจะซื้อสินค้าให้กับตัวเองเป็นหลัก แต่มีเจนจะซื้อนิยมเผื่อคนในครอบครัวด้วย จากการศึกษาพบว่า สิ่งที่ทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมเหมือนกันคือ ต้องการสัมผัสสินค้าและเห็นสินค้าจริงที่สโตร์ก่อนตัดสินใจ

รวมทั้งต้องการทดลองสินค้าตัวอย่าง ส่วนวิธีการสื่อสารพบว่า การใช้ Above The Line หรือการโฆษณาผ่านสื่อต่าง ๆ ยังได้ผลกับผู้บริโภคทั้งสองกลุ่ม โดยสินค้าที่กลุ่มเจนมีนิยมซื้อคือ สินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า ส่วนมีเจนนิยมซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและ 3.เทคโนโลยีและช่องทางการรับสื่อ พบว่าการรับชมทีวีของผู้บริโภคทั้งสองเจนไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก เฉลี่ยอยู่ที่ 3 ชั่วโมงต่อวัน แต่กลุ่มเจนมีจะนิยมรับสื่อจากทีวี อินเทอร์เน็ต วิทยุ และหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ ส่วนมีเจนรับสื่อจากทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ แต่กลุ่มมีเจนก็มีแนวโน้มการใช้แชตแอปมากขึ้น ถือเป็นแนวโน้มที่ดีในการต่อยอดเข้าสู่การใช้สื่อออนไลน์รูปแบบอื่น ๆ ในอนาคต

 

Partner :  ประชาชาติธุรกิจ


แชร์ :

You may also like