HomeInsight10 สาเหตุแรงๆ ทำไม ‘แบรนด์’ คุณยัง ‘ย่ำอยู่กับที่’

10 สาเหตุแรงๆ ทำไม ‘แบรนด์’ คุณยัง ‘ย่ำอยู่กับที่’

แชร์ :

YR

ท่ามกลางการแข่งขันทางการตลาดที่เข้มข้น แบรนด์อาจถูกจับเป็นตัวประกันโดยที่เราไม่รู้ตัว บางครั้งนักการตลาดเพลี่ยงพล้ำด้วยความเคยชินและทัศนคติเดิมๆที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้การขับเคลื่อนแบรนด์ไปไม่ถึงไหน ตัวแปรของการตลาดสมัยใหม่แข่งกันด้วยความฉับพลันและปรับตัวอย่างมีกลยุทธ์ มุมมองจึงมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการตัดสินใจและการลงมือทำ โอลิเวอร์ วีระเตชะ  Chief Strategy & Innovation Officer , Y&R Thailand  ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารตลาดและสร้างแบรนด์   สรุป 10 สาเหตุที่อาจนำพามาซึ่งการพร่องพัฒนาการของแบรนด์มีดังนี้

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

1. พูดมากกว่าทำ มีความเห็นและวิจารณ์เป็นในทุกเรื่อง อยากเปลี่ยนแปลงแต่เวลาทำยังคงคิดแบบเดิม ไม่มีทางที่คุณจะได้ผลลัพท์ที่แตกต่างถ้ายังคงย้ำคิดและก้าวออกจากเดิมไม่ได้

2. หลงใหลกับวันวาน การตลาดมีขึ้นมีลง ความสำเร็จในอดีตไม่ได้รับรองชัยชนะในอนาคต

3. ตกเป็นเครื่องมือของงานวิจัย แต่ไม่รู้จักใช้งานวิจัยให้ถูกทางและเป็นเครื่องมือ บางครั้งหนักข้อจนลืมใช้สามัญสำนึกหรือแม้แต่วิจารณญาน

4. มีวัฒนธรรม One Man Show ตัวเล็กพูดอะไรก็ผิดหมด มีแต่ต้องรอและพึ่งพิงหัวเรือเพียงคนเดียวเท่านั้น ความหลากหลายที่ไม่ตรงใจคือผิด

5. กลัวไปหมด เอาความผิดพลาดที่ยังไม่เกิดมาเป็นกำแพงตลอด ไม่มีอะไรในโลกนี้ที่เกิดจากการไม่เสี่ยง

6. ตัวอย่างที่มีในหัวคือแบรนด์ใหญ่ที่สำเร็จแล้ว อยากเป็น Apple, Nike, Virgin โดยไม่ได้ดูบริบททางธุรกิจและสภาวะแวดล้อมทางการแข่งขันของตัวเอง

7. เข้าใจว่าแบรนด์คือยาครอบจักรวาล แก้ได้ทุกเรื่อง แบรนด์ที่ดีควรพัฒนาควบคู่ไปกับโมเดลธุรกิจที่ถูกยกเครื่องควบคู่ไปด้วย ถ้าระบบปฏิบัติการของส่วนผสมทางการตลาดไม่ได้ซ่อม ทำแบรนด์แบบลูบหน้าปะจมูกก็ไม่ต่างจากการแต่งหน้าศพ

8. จิตอ่อนและไม่มีความเพียร การสร้างแบรนด์ไม่ใช่ทำโปรโมชั่นที่จะเห็นผลทันตา แบรนด์เป็นเรื่องที่พิถีพิถันและต้องหมั่นตอกย้ำอย่างมีชั้นเชิงด้วยความคงเส้นคงวา

9. อยากฟังเรื่องถูกใจมากกว่าถูกต้อง การฟังน้อยแต่วิจารณ์เยอะจะไม่ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ เพราะเราไม่ได้สัมผัสแรงสะท้อนในข้อเท็จจริงของตลาด ความจริงบางครั้งเจ็บปวดแต่ถ้ารับได้ก็แก้ได้ตรงจุด

10. มองการสร้างแบรนด์เป็นค่าใช้จ่ายมากกว่าการลงทุน ซึ่งจะทำให้ในที่สุดเราประณีประนอมกับความถูกต้องและหลุดโฟกัสของลำดับความสำคัญบนหน้างานจริง เสียเงินน้อยๆกับสิ่งที่ไม่ตรงโจทย์ยังไงก็แพงเพราะไม่มีคุณค่า 


แชร์ :

You may also like