HomeSponsored“กองทุนรวม” ทางเลือกการลงทุนยอดฮิต…สร้างความมั่งคั่ง สำหรับนักลงทุนมือใหม่

“กองทุนรวม” ทางเลือกการลงทุนยอดฮิต…สร้างความมั่งคั่ง สำหรับนักลงทุนมือใหม่

แชร์ :

หากพูดถึง “การลงทุน” สำหรับมนุษย์เงินเดือนคงส่ายหน้า เพราะฟังดูเป็นเรื่องยากและต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่ในยุคนี้การลงทุนไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวอีกต่อไป แถมในปัจจุบันรูปแบบการลงทุนมีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่หุ้น ทองคำ พันธบัตร ไปจนถึงคริปโตเคอร์เรนซี แต่ต้องยอมรับว่า ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ บวกกับสภาวะตลาดผันผวนสูง ทำให้การลงทุนแต่ละครั้งจึงต้องรอบคอบ และ มีความเสี่ยงน้อยที่สุด

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

กองทุนรวม (Mutual Fund)  จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยต่อยอดเงินให้งอกเงยได้ไม่แพ้กัน ทั้งใช้เงินลงทุนไม่สูง ความเสี่ยงมีให้เลือกหลายระดับ  และ เลือกลงทุนได้หลากหลายตามไลฟ์สไตล์การลงทุนของแต่ละคน และมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น Brand Buffet จะพามาทำความรู้จักกองทุนรวม และวิธีลงทุนที่มือใหม่สามารถทำได้แบบง่ายๆ

กองทุนรวม คำตอบของมือใหม่ไม่มีเวลา แต่อยากให้เงินงอกเงย

“กองทุนรวม” เป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่มีมานานแล้ว แต่สมัยก่อนคนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยกล้าลงทุนมากนัก โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน เพราะคิดว่าเป็นเรื่องยาก อีกทั้งไม่เคยลงทุนมาก่อน แถมไม่ค่อยมีเวลามาติดตาม เพราะลำพังงานที่ทำอยู่ ก็แทบไม่มีเวลาแล้ว สำหรับผู้ที่คิดเช่นนี้ คงต้องเปลี่ยนมุมมองกันแล้ว เพราะ “กองทุนรวม” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาสำหรับคนที่อยากลงทุน แต่อาจจะไม่มีความรู้และเวลาติดตามข้อมูลมากนัก

โดยกองทุนรวมมีความหมายคล้ายกับชื่อ เป็นการรวมเงินจากคนที่อยากลงทุนหลายๆ คนมากองรวมกัน แล้วมอบหมายให้คนๆ หนึ่งนำเงินไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ โดยคนที่นำเงินไปลงทุนแทนนั้น เราเรียกว่า “ผู้จัดการกองทุน” ซึ่งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการลงทุนคอยดูแลทรัพย์สินกองทุนนั้นๆ และบริหารจัดการเงินลงทุนให้นักลงทุนอย่างเรา เพื่อให้เงินงอกเงย จากนั้นจะนำผลกำไรมาแบ่งสรรปันส่วนให้กับนักลงทุนตามสัดส่วนที่ซื้อเข้ามา จึงทำให้มนุษย์เงินเดือนหรือมือใหม่ที่อาจไม่มีความรู้หรือเวลามากนัก สามารถสร้างรายได้เพิ่มจากการลงทุนได้อย่างสบายใจ

นอกจากจุดเด่นในการมีมืออาชีพคอยดูแลแล้ว ความได้เปรียบที่น่าสนใจของกองทุนรวมคือ การกระจายความเสี่ยง เพราะสามารถเลือกซื้อหลักทรัพย์ได้หลากหลายตามความต้องการ ตั้งแต่ตลาดเงิน หุ้น จนถึงสัญญาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันดิบ แถมการลงทุนแต่ละครั้งยัง ใช้เงินลงทุนน้อย จึงทำให้มือใหม่สามารถเริ่มลงทุนได้ไม่ยาก เพราะหลายกองทุนกำหนดเงินลงทุนเริ่มต้นแค่ 1 บาทเท่านั้น และที่สำคัญหากเลือกลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ยังสามารถนำเงินที่ลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย โดยแต่ละแบบจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันออกไป

สำหรับ SSF เป็นกองทุนรวมที่เน้นการออมระยะยาว โดยลงทุนในสินทรัพย์ทุกประเภท ผู้ลงทุนจึงต้องลงทุนขั้นต่ำ 10 ปี โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ในขณะที่ RMF เป็นกองทุนรวมที่เน้นการออมระยะยาวไว้สำหรับใช้จ่ายตอนเกษียณ ลักษณะคล้ายๆ กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของเอกชน ผู้ลงทุนจึงต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีและถือครองจนถึงอายุ 55 ปีขึ้นไป โดยสามารถลดหย่อนภาษีสูงสุดไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท

8 ระดับความเสี่ยงกองทุนรวม เลือกให้เหมาะกับสไตล์ความเสี่ยง

ถึงแม้การลงทุนผ่านกองทุนจะมีผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแล แต่ด้วยผลิตภัณฑ์กองทุนรวมที่มีหลากหลายถึง 8 ประเภท และแต่ละประเภทก็มีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป ทำให้มือใหม่หลายคนถึงกับไปต่อไม่ถูกเช่นกัน เพราะไม่รู้ว่าจะเลือกกองไหน ซึ่งเทคนิคง่ายๆ คือ การรู้จักตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่าต้องการอะไรจากการลงทุน และความเสี่ยงที่รับได้เป็นอย่างไร เพราะ 2 สิ่งนี้เป็นหัวใจที่จะช่วยให้มือใหม่หัดลงทุนเลือกกองทุนรวมที่เหมาะกับสไตล์และระดับความเสี่ยงของตัวเองได้

เริ่มจากกองทุนความเสี่ยงระดับที่ 1 คือ กองทุนรวมตลาดเงินที่ลงทุนเฉพาะในประเทศ เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีอายุเฉลี่ยไม่เกิน 1 ปี ซึ่งกองทุนประเภทนี้มีความความเสี่ยงต่ำ ดังนั้น จึงเหมาะกับคนที่ไม่ต้องการเสี่ยง มีเวลาในการลงทุนน้อย หรืออาจจะอยากลงทุนระยะสั้นๆ เพราะอายุมาก หรือใกล้เกษียณแล้ว

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 2 คือ กองทุนรวมตลาดเงินต่างประเทศ เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในเงินฝาก และตราสารหนี้ที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี แต่อาจมีการลงทุนในต่างประเทศบางส่วน ทำให้มีความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน จึงเหมาะกับคนที่เวลาลงทุนน้อย แต่ยอมรับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนได้

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 3 คือ กองทุนรวมพันธบัตรรัฐบาล เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ส่วนใหญ่จะมีอายุมากกว่า 1 ปี ทำให้มีความผันผวนมากกว่ากองทุนรวมตลาดเงิน จึงเหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้บ้าง แต่ไม่ได้คาดหวังผลตอบแทนสูง รวมถึงมีเวลาลงทุนน้อย เลยต้องระมัดระวังในการลงทุน

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 4 คือ กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งระยะสั้น และระยะยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และหุ้นกู้เอกชน ผลตอบแทนจึงสูงกว่ากองทุนรวมแบบที่ 1-3 แต่ความเสี่ยงก็สูงกว่าเช่นกัน จึงเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ไม่มาก แต่ต้องการผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 5 คือ กองทุนรวมผสม เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนทั้งเงินฝาก ตราสารหนี้ หุ้น และสินทรัพย์อื่นๆ ผสมกัน  ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนก็สูงขึ้นด้วย จึงเหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลางค่อนข้างสูง อยากได้ผลตอบแทนดี ชอบกระจายความเสี่ยงแต่ไม่อยากซื้อกองทุนหลายกอง จึงซื้อแบบผสมทีเดียว

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 6 คือ กองทุนรวมตราสารทุน หรือ กองทุนรวมหุ้น เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ รวมไปถึงกองทุน SSF และ RMF ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ด้วย จึงเหมาะกับคนที่ยอมรับความเสี่ยงได้สูง อายุยังน้อย สามารถลงทุนระยะยาวได้ และอยากได้ผลตอบแทนสูง

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 7 คือ กองทุนรวมหมวดอุตสาหกรรม เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้น แต่เจาะจงอุตสาหกรรมมากขึ้น เช่น หุ้นพลังงาน หุ้นธนาคาร หุ้นโรงพยาบาล เป็นต้น กองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากมีการลงทุนแบบกระจุกตัวในอุตสาหกรรมเดียว จึงเหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้สูง มีเวลาลงทุนนาน อยากได้ผลตอบแทนสูง และเข้าใจในอุตสาหกรรมนั้นๆ

กองทุนความเสี่ยงระดับที่ 8 คือ กองทุนรวมทางเลือก เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในทรัพย์สินทางเลือก เช่น ทองคำ น้ำมันดิบ และกองรีท (REIT) ซึ่งเป็นกองทรัสต์ที่เข้าไปลุงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนประเภทนี้มีความเสี่ยงสูงมาก จากความผันผวนของราคา หรืออาจไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย จึงเหมาะกับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูงมาก กล้าได้กล้าเสีย และต้องเข้าใจในทรัพย์สินที่ไปลงทุน

ทางเลือกช่วยให้เงินงอกเงย ด้วยการลงทุนแบบ DCA กับ ttb smart port

ถึงตรงนี้เชื่อว่าหลายคนคงเห็นแล้วว่าการลงทุนใน “กองทุนรวม” ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว และใครๆ ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้เอง แต่สำหรับคนที่อยากลงทุน แต่ยังกังวล เพราะกลัวเลือกกองไม่เหมาะกับตัวเอง และจะซื้อตอนไหน ลงทุนเท่าไหร่ อาจจะเริ่มต้นด้วยการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย หรือ Dollar-Cost Averaging (DCA) ผ่านกองทุนรวม ttb smart port จากทีเอ็มบีธนชาต ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยลดความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะช่วงที่สินทรัพย์มีราคาถูกลงจากตลาดที่มีความผันผวน

นอกจากนี้ การลงทุนแบบ DCA ยังไม่ต้องลงทุนด้วยเงินก้อนเดียว แต่จะลงทุนแบบสม่ำเสมอด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กันทุกเดือน จึงเหมาะกับวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือนและผู้เริ่มลงทุนมือใหม่ที่มีทุนไม่มาก ที่สำคัญสามารถเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้ เพราะปัจจุบัน ttb smart port มีรูปแบบกองทุนให้เลือกถึง 5 แบบ ประกอบด้วย

1. tsp1-preserver เป็นกองทุนความเสี่ยงที่ระดับ 4 โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ 100% เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ

2. tsp2-nurturer เป็นกองทุนความเสี่ยงที่ระดับ 5 โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ 80% และหุ้นต่างประเทศ 20% เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้เพิ่มขึ้น

3. tsp3-balancer เป็นกองทุนความเสี่ยงที่ระดับ 5 โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ 50% และหุ้น 50% เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง และต้องการกระจายการลงทุนในสินทรัพย์หลากหลาย

4. tsp4-explorer เป็นกองทุนความเสี่ยงระดับ 5 โดยเน้นลงทุนในตราสารหนี้ 30% หุ้น 70% เหมาะกับผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูง และต้องการผลตอบแทนสูง

5. tsp5-gogether เป็นกองทุนความเสี่ยงระดับ 6 โดยเน้นลงทุนในหุ้น 100% เหมาะกับผู้รับความเสี่ยงได้สูงมาก

สำหรับใครที่สนใจและอยากศึกษาข้อมูลกองทุนรวมเพิ่มเติม สามารถคลิกได้ที่  https://www.ttbbank.com/th/personal/investment/mutual-funds

ส่วนใครที่อยากลองวางแผนการลงทุนด้วยตัวเอง ก็สามาถทำได้ง่ายๆ ที่ https://www.ttbbank.com/tsp/lite-cal และพิเศษ! สำหรับลูกค้าที่ลงทุนแบบ DCA ในกองทุน ttb smart port ตั้งแต่วันนี้ – 28 ธันวาคม 2566 และลงทุนต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน ขั้นต่ำเดือนละ 1,000 บาท จะได้รับหน่วยลงทุนพิเศษเข้าพอร์ตเพิ่มอีก 0.2%  https://www.ttbbank.com/th/promotion/detail/tspdca2023

ตอนนี้หลายคนคงจะเห็นภาพการลงทุนในกองทุนรวมกันมากขึ้นแล้ว หากค่อยๆ เรียนรู้ และลองเริ่มต้นลงทุนทีละนิด เชื่อว่าเงินเก็บที่มีอยู่จะค่อยๆ งอกเงยอย่างสม่ำเสมอ และทำให้มือใหม่หัดลงทุนหลายคนกลายเป็นนักลงทุนที่มั่งคั่งและประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน

อ้างอิงบทความจาก ttb https://www.ttbbank.com/th/personal/investment/mutual-funds/mf-articles/detail/investment-invest-mutualfunds

– การลงทุนมีความเสี่ยงผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF หรือ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน

– ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวน โดยเฉพาะนโยบายการลงทุน ความเสี่ยงและผลการดำเนินงานของกองทุนก่อนตัดสินใจลงทุน สามารถรับหนังสือชี้ชวนและลงทุนได้ที่ ทีทีบี ทุกสาขา

– กองทุนรวมที่มีการลงทุนในต่างประเทศ และไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนหรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้


แชร์ :

You may also like