HomeDigitalCisco เผยผลสำรวจ 150 บริษัทไทยพร้อมรับมือภัยคุกคามแค่ 27%

Cisco เผยผลสำรวจ 150 บริษัทไทยพร้อมรับมือภัยคุกคามแค่ 27%

วางโพสิชันใหม่ สร้างแพลตฟอร์ม - ใช้ AI ตั้งเป้าเป็น Secure Networking 

แชร์ :

จากโลกการทำงานที่เปลี่ยนไปสู่การทำงานแบบไฮบริด และเชื่อมต่อผ่านคลาวด์มากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทำให้ Data และ Users สามารถเข้าถึงองค์กรได้จากทุกหนทุกแห่ง และถือเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับทีมงานด้านซีเคียวริตี้ ล่าสุด  ซิสโก้ (Cisco) ยักษ์ใหญ่ในวงการเน็ตเวิร์กที่มองเห็นเทรนด์ดังกล่าวก็ได้ออกมาประกาศโพสิชันใหม่ ก้าวสู่การเป็น Secure Networking แล้วเช่นกัน โดยมองว่า การสร้างแพลตฟอร์มที่รวบรวมความเชี่ยวชาญด้านซีเคียวริตี้ต่าง ๆ เอาไว้ในระบบเครือข่ายจะกลายเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ธุรกิจในอนาคตมากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับแนวทาง Secure Networking ของซิสโก้ สร้างขึ้นบนแนวคิด Zero Trust เพื่อให้องค์กรธุรกิจต่าง ๆ ได้รับโซลูชั่นการเชื่อมต่อที่สามารถรับมือกับความเสี่ยงทางไซเบอร์ในโลกไฮบริดได้ โดยคุณวีระ อารีรัตนศักดิ์  กรรมการผู้จัดการ ซิสโก้ ประเทศไทยและเมียนมาร์ กล่าวว่า “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีความยากกว่าในอดีตมาก โดยปัจจุบันมีบริษัทในประเทศไทยเพียง 27% เท่านั้น* ที่มีความพร้อมอย่าง “สมบูรณ์” ในการป้องกันตนเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์สมัยใหม่  แนวทาง Secure Networking จึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้องค์กรเหล่านี้เสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์”

*อ้างอิงจากรายงานความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Readiness Index) ที่ทำการสำรวจบริษัทต่าง ๆ ในไทยจำนวน 150 แห่ง

บริษัทไทยพร้อมรับมือภัยไซเบอร์แค่ 27%

ซิสโก้ยังเผยด้วยว่าา บริษัทต่าง ๆ ในไทยยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างเต็มที่ โดยจากรายงานความพร้อมด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Readiness Index) ของซิสโก้ปีนี้ พบว่า 89% ของผู้ตอบแบบสอบถามในไทยคาดว่าเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จะทำให้ธุรกิจของพวกเขาหยุดชะงักใน 12 ถึง 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากปราศจากการเตรียมความพร้อมที่ดีก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายที่มีมูลค่าสูงมาก โดย 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามกล่าวว่า พวกเขาประสบเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา และองค์กรครึ่งหนึ่งที่ได้รับผลกระทบต้องแบกรับความเสียหายมูลค่าอย่างน้อย 500,000 เหรียญสหรัฐฯ

ดึง AI ตรวจจับภัยคุกคาม

นอกจากนี้ ซิสโก้ยังได้นำ AI มาใช้ตรวจจับภัยคุกคามร่วมด้วย ซึ่งเป็นการทำงานในระดับแมชชีน ไม่ใช่ระดับมนุษย์ที่รับมือได้ทีละรายการ ยกตัวอย่างเช่น การให้บริการแอปพลิเคชัน Mobile Banking ที่สามารถให้บริการยูสเซอร์ได้พร้อมกันหลายล้านคน ซึ่งถือเป็นการทำงานในสเกลใหญ่ กรณีเหล่านี้ หากถูกโจมตีขึ้นมา ก็ต้องการการรับมือในระดับใหญ่ด้วยเช่นกัน ซึ่งการใช้ AI ในการตรวจจับสามารถรองรับได้นั่นเอง

ยกระดับทักษะบุคลากรดิจิทัลด้วย Cisco Networking Academy

นอกจากใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับภัยคุกคามแล้ว ซิสโก้ยังมีการจัดตั้ง Cisco Networking Academy (ตั้งมาแล้ว 24 ปี) และได้ร่วมมือกับสถาบันศึกษา 59 แห่งในการฝึกอบรมผู้เรียนกว่า 72,000 คน ในหลักสูตรเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ วิทยาศาสตร์ข้อมูล ระบบเครือข่าย และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยมีหลักสูตรอย่าง ‘ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้’ (Introduction to Cybersecurity) สำหรับการเรียนรู้ด้วยตนเอง หลักสูตรนี้เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าเรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยโมดูลต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้สัมผัสกับโลกของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยครอบคลุมหลากหลายหัวข้อ ตั้งแต่แนวคิดพื้นฐานของการโจมตีทางไซเบอร์ ไปจนถึงขั้นตอนที่ผู้บริโภคและองค์กรธุรกิจสามารถดำเนินการเพื่อคุ้มครองตนเองและองค์กร รวมถึงประเด็นทางกฎหมายและจริยธรรมเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และวิธีการเริ่มต้นเส้นทางอาชีพด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ หลักสูตรนี้เปิดให้ลงทะเบียนเป็นระยะเวลา 6 เดือน


แชร์ :

You may also like