บนเส้นทางการทำธุรกิจ นอกจากการมีโปรดักต์และกลยุทธ์ที่ดีแล้ว “โอกาส” เป็นอีกองค์ประกอบสำคัญไม่แพ้กัน หลายครั้งเรามักเห็นหลายสินค้าเป็นสินค้าที่ดี แต่กลับขาดโอกาส ก็ทำให้สินค้าเติบโตไปได้ไม่ไกล ขณะที่บางสินค้าอาจไม่เพอร์เฟค 100% แต่เมื่อได้รับการผลักดัน ก็สามารถจะขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) เองก็มีความเชื่อเช่นนั้น ที่ผ่านมาเราจึงเห็น โออาร์ ขับเคลื่อนธุรกิจบนวิสัยทัศน์ Empowering All toward Inclusive Growth หรือ เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน มาตลอด โดยนำเอาหลัก SDG ในแบบฉบับของ โออาร์ มาเป็นแนวทางในการสร้างโอกาสในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งสังคมชุมชน หรือผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรหลากหลายวงการภายใต้โครงการต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง
แต่หนึ่งในโครงการที่สะท้อนถึงการสร้างโอกาสเพื่อทุกการเติบโตอย่างแท้จริงในแบบ โออาร์ ได้อย่างชัดเจนคือ การสร้างโอกาสให้ “คนตัวเล็ก (Small)” ได้เติบโตไปด้วยกันผ่านโครงการ “ไทยเด็ด” เพราะนอกจากจะช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพมาตรฐานสู่ระดับสากลแล้ว ยังช่วยสร้างงานและรายได้ให้คนตัวเล็กๆ ทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทุกคนเห็นถึงประสิทธิผลจากการสร้างโอกาสให้กับคนตัวเล็กชัดขึ้น Brand Buffet พามาทำความรู้จักโครงการไทยเด็ด พร้อมเรียนรู้ความสำเร็จจากผู้ประกอบการท้องถิ่นกันแบบเจาะลึก
ดึงจุดแข็ง สร้างโอกาสและความยั่งยืนให้ “คนตัวเล็ก”
ปฎิเสธไม่ได้ว่า นิยามของ “คนตัวเล็ก” อาจมีหลากหลายความหมายแตกต่างกันออกไปตามมุมมองแต่ละคน แต่สำหรับ โออาร์ แล้วความหมายของคนตัวเล็กที่เราจะมาพูดถึงวันนี้ คือ ผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน เพราะมองว่า ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นมากมาย และหลายสินค้าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น เพียงแต่ผู้ประกอบการท้องถิ่นขาดองค์ความรู้และโอกาสทางการตลาด ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นดีๆ หลายอย่างไม่เป็นที่รู้จักและเติบโตไปได้ไกล
ดังนั้น หากผู้ประกอบการท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนเหล่านี้ได้รับโอกาสในการสนับสนุนที่ดี ก็จะสามารถช่วยให้ผลิตภัณฑ์ถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วและทั่วถึงมากขึ้น รวมถึงเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชนได้อีกหลายเท่าตัว จากแนวคิดดังกล่าวนี่เอง จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ โครงการไทยเด็ด ขึ้นมาในปี 2561
โดยบทบาทของโครงการไทยเด็ด นอกจากจะทำหน้าที่เป็นช่องทางจำหน่ายให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นต่างๆ แล้ว ด้วยการนำเอาจุดแข็งสำคัญของสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ที่ครอบคลุมทั่วประเทศ มาผนวกกับความโดดเด่นของสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนที่ผ่านการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสินค้าดี สินค้าเด็ดของแต่ละท้องถิ่น มาจำหน่ายที่ร้านไทยเด็ดหรือมุมสินค้าไทยเด็ด ในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 132 สาขาทั่วประเทศ โครงการไทยเด็ด ยังให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ กับวิสาหกิจชุมชนพัฒนาสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐานมากขึ้น
ส่อง 5 สินค้าชุมชน สู่ต้นแบบ “ไทยเด็ด Select”
ไม่เพียงแค่นั้น แต่ละปีโครงการไทยเด็ดยังมีการคัดเลือกสินค้าที่โดดเด่น ทั้งเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น และวัตถุดิบที่แตกต่างจากสินค้าไทยเด็ดทั่วไปเข้ามาเป็น “ไทยเด็ด Select” เพื่อยกระดับสินค้าไทยเด็ดให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างยิ่งขึ้น ที่ผ่านมามีสินค้าชุมชนที่โดดเด่นและโดนใจผู้บริโภคหลายผลิตภัณฑ์ แต่ผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะจนได้รับเลือกเป็นสินค้าไทยเด็ด Select มี 5 ผลิตภัณฑ์ด้วยกัน
เริ่มกันที่ ผ้าทอย้อมคราม ภูมิปัญญาเก่าแก่จากบ้านคำประมง จ.สกลนคร ที่เริ่มต้นจากแม่บ้านเพียง 11 คน ที่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ทำสวน มาช่วยกันทอผ้าจากเส้นใยฝ้ายและสีครามธรรมชาติที่เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ครัวเรือน จากนั้นก็พัฒนาภูมิปัญญาเข้ากับดีไซน์ใหม่ ก่อนนำไปทอเป็นลวดลายต่างๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว
ถัดมาคือ ถั่วลายเสือ ของเด็ดจากวิสาหกิจชุมชนปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ที่ไม่เพียงเป็นถั่วพันธุ์พิเศษที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนบนภูเขาสูง ยังได้มาตรฐาน GI เนื่องจากปลูกในที่สูงกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผนวกกับการปลูกด้วยวิถีธรรมชาติ และกระบวนการคั่วด้วยเกลือตามภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงทำให้ถั่วลายเสือมีความหอม หวานกลมกล่อม ทั้งยังมีขนาดเมล็ดที่ใหญ่ และลายสีแดงเข้มต่างสีกับเนื้อเมล็ดเสมือนลายเสือพาดกลอน จนถูกเรียกขานกันว่า “ถั่วลายเสือ”
อีกหนึ่งสินค้าดาวเด่นจาก จ.มหาสารคาม คือ ข้าวบุญบันดาล จากวิสาหกิจชุมชนบ้านเก่าน้อย เป็นข้าวหอมมะลิจากทุ่งกุลาร้องไห้ที่ได้ชื่อว่าเกรดดีที่สุด เพราะปลูกในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย และอยู่ในเขต GI ซึ่งต้องผ่านการรักษาระบบนิเวศของที่ดิน ทำให้ข้าวทุกเม็ดได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดี โดยใช้ปุ๋ยพืชสดที่หมักเอง และยังสีข้าวเปลือกโดยโรงสีของชุมชน ข้าวบุญบันดาลจึงมีกลิ่นดอกมะลิ และหอมนุ่มลิ้น
ขนมโบว์อิสตาน่า หรือ ขนมผูกรัก จากวิสาหกิจชุมชนอนุกรักษ์ภูมิปัญญา (อิสตานา) จ.ปัตตานี เป็นอีกหนึ่งขนมจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่คว้าใจใครหลายคน ซึ่งส่วนใหญ่จะกินคู่กับน้ำชา กาแฟ เพื่อฉลองในเทศกาลสำคัญๆ เช่น วัตตรุษอิดิ้ลฟิตรี (ฮารีรายอ) พิธีเข้าสุหนัต พิธีขึ้นบ้านใหม่ แต่ด้วยรสชาติที่เข้มข้นครบรส ทั้งหวาน เค็ม เผ็ด แถมให้คุณค่าทางโภชนาการ ไม่มีวัตถุเจือปน ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรต่างๆ บวกกับตัวไส้ทั้งปลาและกุ้งที่ใส่มาแบบแน่นๆ ทำให้สร้างรายได้กลับสู่ชุมชนท้องถิ่น
ส่วนสินค้าชุมชนท้องถิ่นที่ถูกกล่าวขานถึงความอร่อยและยังส่งต่อโอกาสสู่ชุมชนชนอย่างแท้จริงคือ สแนคบาร์ผลไม้ ไรซ์มี จากวิสาหกิจชุมชนส่งเสริมอาชีพชุมชนเกาะกก จ.ระยอง เป็นข้าวไรซ์เบอร์รี่สแน็คบาร์ ที่เกิดจากความต้องการอนุรักษ์ประเพณีลงแขก รวมถึงเปิดโอกาสให้ชุมชนได้มาใช้พื้นที่นา 30 ไร่บริเวณมาบตาพุดอย่างอิสระ ก่อนจะต่อยอดมาเป็นขนมเพื่อสุขภาพในรูปแบบบาร์ที่ทำจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ผสมกับธัญพืช โดยไม่ใช้น้ำตาล สำหรับรองท้องยามหิว ช่วยให้อิ่มท้อง ทั้งยังพกพาสะดวก
เพิ่มรายได้สู่ชุมชน เติมเต็มคุณภาพชีวิต
แม้จะดำเนินการมาได้เพียง 5 ปี แต่โครงการไทยเด็ดมีการเติบโตมาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีสินค้าจากวิสาหกิจชุมชนเข้าร่วมโครงการกว่า 350 รายการแล้ว แถมยังช่วยสร้างงานและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยในปี 2565 สร้างรายได้รวมกว่า 50 ล้านบาท ส่งผลให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สะท้อนได้จาก คุณวีรเวช ศุภวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กุ๊บไต จำกัด ผู้ผลิตถั่วลายเสือ และ คุณจินตนา พงพานิช ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามบ้านคำประมง อำเภอพรรณานิคม จ.สกลนคร
โดยคุณวีรเวช บอกว่า ช่วงแรกที่ผลิตถั่วลายเสือออกมาขาย รายได้ยังไม่สูงมาก จึงพยายามมองหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มขึ้น กระทั่งมาเจอโครงการไทยเด็ดและได้รับการสนับสนุนด้านการตลาดและช่องทางจำหน่าย โดยนำถั่วลายเสือไปวางจำหน่ายในมุมหรือร้านไทยเด็ด ซึ่งไม่เพียงทำให้ถั่วลายเสือเป็นที่รู้จักมากขึ้น แต่ยังช่วยให้ตลาดถั่วลายเสือเติบโตขึ้นด้วย ส่งผลให้เกษตรกรขายผลผลิตได้เพิ่มขึ้นจาก 80,000 บาทต่อเดือน เป็น 200,000 บาทต่อเดือน ทำให้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัวได้มากขึ้น ขณะที่ยอดขายของถั่วลายเสือเองก็เติบโตขึ้นกว่า 20%
นอกจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นแล้ว ที่ผ่านมาโครงการไทยเด็ดยังเข้ามาช่วยให้คำแนะนำและเพิ่มองค์ความรู้ด้านต่างๆ ทั้งการผลิต และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ทำให้คุณวีรเวชสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายเพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบันมีทั้งถั่วลายเสือคั่วธรรมดา ถั่วลายเสือผสมงา และถั่วลายเสือผสมผลไม้แห้ง
ขณะที่ คุณจินตนา เล่าว่า เดิมทีคนในหมู่บ้านมีอาชีพทำนาเป็นหลัก แต่รายได้ไม่ค่อยพอเพียง ด้วยความรักในการทอผ้า จึงชักชวนแม่บ้านที่มีฝีมือมารวมกลุ่มกันเพื่อทอผ้าที่เป็นภูมิปัญญาตกทอดมานานเป็นรายได้เสริม ซึ่งช่วงที่ทอผ้าแรกๆ ได้เงินเดือนเพียง 300 บาทต่อครัวเรือน จนโครงการไทยเด็ดเข้ามาสนับสนุนในปี 2564 ด้วยการขยายช่องทางจำหน่ายในพีทีที สเตชั่น และการพัฒนาแพ็กเกจจิ้งให้มีความโดดเด่น ทำให้ปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มมีรายได้อยู่ที่ 15,000 บาทต่อครัวเรือน
“การได้เข้าร่วมในโครงการไทยเด็ด และได้รับเลือกเป็นไทยเด็ด Select ช่วยสร้างโอกาสให้กับชุมชนอย่างมาก ทำให้ผ้าทอย้อมครามเป็นที่รู้จักและหาซื้อสะดวกมากขึ้น ทั้งยังช่วยสร้างงานและทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น รวมถึงสามารถพัฒนาลวดลายใหม่ๆ ออกมาตอบความต้องการของลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง”
นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ไม่หยุดเติมฝัน และได้โอกาสจากโครงการไทยเด็ดจนธุรกิจเติบโต ซึ่งหลังจากนี้ โครงการไทยเด็ดมีแผนจะเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการเป็น 100 ล้านบาทในปีนี้ โดยจะขยายช่องทางการจัดจำหน่ายสถานีบริการ พีทีที สเตชั่นเพิ่มเป็น 300 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งก็จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนตัวเล็กๆ ให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันอย่างแน่นอน
โครงการไทยเด็ด ยังมีสินค้าดีสินค้าเด็ดประจำท้องถิ่นอีกมากมายหลากหลายประเภท หากใครกำลังมองหาของฝาก ของทานจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สามารถเข้าไปชมและซื้อสินค้าทั้
#โออาร์ #OR #ไทยเด็ด #thaidet #RealRISEofOpportunity