HomeSponsoredเช็กลิสต์..สัญญาณอันตราย “โรคกระดูกสันหลังคด” รู้ไว รักษาได้ จากศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ MedPark

เช็กลิสต์..สัญญาณอันตราย “โรคกระดูกสันหลังคด” รู้ไว รักษาได้ จากศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ MedPark

เช็กลิสต์..สัญญาณอันตราย “โรคกระดูกสันหลังคด” จาก MedPark

แชร์ :

การเจ็บไข้ได้ป่วย ล้วนเป็นสิ่งที่ผู้คนไม่ปรารถนาจะพบเจอ และคำกล่าวที่ว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ” ไม่ผิดจากความจริงนัก ยิ่งการผ่านพ้นโรคโควิด-19 ระบาด นอกจากจะทำให้เทรนด์การใส่ใจ ดูแลรักษาสุขภาพมาแรง การมีสุขภาพที่ดียังกลายเป็นความมั่งคั่งหรือ Health is Wealth เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการอย่างแท้จริงด้วย

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจกับการป้องกันโรค หรือ Prevention มากขึ้น เพราะหากปล่อยให้ป่วย มีโรคต่าง ๆ จะสร้างผลกระทบตามมาทั้งสุขภาพกาย ใจ และเงินในกระเป๋าด้วย

“โรคกระดูกสันหลังคด” (Scoliosis) เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีการคดเอียงออกด้านข้างตั้งแต่ 10 องศาขึ้นไป และถือเป็นอีกโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะการเกิดในเด็กและวัยรุ่น เกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชายราว 80% ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัด เพื่อรู้จักและเข้าใจโรคกระดูกสันหลังคดให้มากขึ้น Brand Buffet ชวนเช็กสัญญาณกับศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อของ “โรงพยาบาลเมดพาร์ค” แบบเจาะลึก

รู้หรือไม่ หลายคนมีโอกาสเป็นโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่รู้ตัว!

จากการสำรวจพบว่า 3% ของประชากร มีโอกาสเป็น โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งโดยทั่วไปจะมักสังเกตเห็นสัญญาณของภาวะกระดูกสันหลังคดได้ ในช่วงวัยเด็กและช่วงวัยรุ่นตอนต้น และเพศหญิงจะมีโอกาสกระดูกสันหลังคดมากขึ้นจนต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดสูงกว่าเพศชายถึง 8 เท่า

แล้วภาวะกระดูกสันหลังคด คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

โรคกระดูกสันหลังคด เป็นภาวะที่แนวของกระดูกสันหลังเกิดการบิดตัวและโค้งออกไปด้านข้าง แทนที่จะยืดอยู่ในองศาปกติ หากปล่อยให้แนวกระดูกสันหลังเอียงผิดรูปมากขึ้น จะส่งผลต่อบุคลิกภาพ การใช้ชีวิต สุขภาพจิต และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เนื่องจากช่องอกที่มีขนาดเล็กลงจะเบียดขวางการทำงานของปอดและหัวใจในระยะยาว นายแพทย์ชัยยศ ทิรานนท์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ ผู้ชำนาญการผ่าตัดกระดูกสันหลัง ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค อธิบายถึงสาเหตุของภาวะกระดูกสันหลังคดมี 3 ปัจจัย ดังนี้

1.กระดูกสันหลังคดโดยไม่ทราบสาเหตุ (Idiopathic scoliosis) แม้ 80% ของผู้ป่วยภาวะกระดูกสันหลังคด จะไม่สามารถเจาะจงสาเหตุได้แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร แต่มักพบว่าบุคคลในครอบครัวมีอาการกระดูกสันหลังคดเช่นเดียวกัน ซึ่งผู้ป่วยในสาเหตุนี้ ส่วนมากจะเริ่มรู้ตัวว่ามีกระดูกสันหลังเจริญเติบโตผิดรูปมากขึ้นในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น

2.ความผิดปกติของกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด (Congenital scoliosis) ส่วนมากสังเกตเห็นได้ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในกระบวนการสร้างกระดูกและไขสันหลัง

3.ความผิดปกติของประสาทและกล้ามเนื้อ (Neuromuscular scoliosis) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น การบาดเจ็บของไขสันหลัง กล้ามเนื้อฝ่อ โรคกระดูกสันหลังคดจากสาเหตุนี้จำเป็นเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตที่ผิดรูปอย่างรวดเร็วมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออายุมากขึ้น

เช็กสัญญาณกระดูกสันหลังคด ทำได้ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน

เมื่อทราบเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังคดแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่าเข้าข่ายเป็น 1 ใน 3% ของผู้ที่มีกระดูกสันหลังคดหรือไม่ “คุณหมอชัยยศ” ชวนทุกคนเช็กร่างกายเบื้องต้นด้วยตัวเองง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน

1.ยืนตรงขาชิดกัน

2.ก้มตัวไปข้างหน้าประมาณ 90 องศา

3.เช็กแนวกระดูกสันหลังว่า มีความโค้งนูนเท่ากันหรือไม่

ทั้งนี้ หากพบว่ามีแนวกระดูกสันหลังคดงอผิดรูป หรือมีภาวะกระดูกสันหลังคดรุนแรงอย่างเห็นได้ชัด เช่น ไหล่สองข้างเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป แผ่นหลังและหน้าอกนูนผิดรูป หรือสะโพกเอียงไม่เท่ากัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอาการ ประเมินความรุนแรงของโรค ร่วมกับการตรวจเช็กทำงานของระบบประสาท และตรวจทางรังสีวิทยาที่ช่วยให้วิเคราะห์ความรุนแรงของโรคได้แม่นยำยิ่งขึ้น

กระดูกสันหลังคด รู้ไว แก้ไขได้

สำหรับการรักษาผู้มีภาวะกระดูกสันหลังคด ของศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค คุณหมอชัยยศ ได้อธิบายว่า หากไม่ใช่ภาวะที่รุนแรงมาก คือกระดูกคดไม่เกิน 45 องศา หรือตรวจพบในช่วงที่เป็นวัยรุ่นแล้ว แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบกระดูกสันหลังแทนการผ่าตัด

ส่วนในกรณีหรือเคสที่เป็นเด็กเล็ก ซึ่งอายุน้อยมาก ๆ จะแนะนำให้ใส่อุปกรณ์พยุงหลัง (Bracing) ที่มีลักษณะคล้ายเสื้อเกราะวันละ 16 – 23 ชั่วโมง จะสามารถชะลอการคดเพิ่มได้ดี แต่กรณีที่กระดูกสันหลังคดมีความรุนแรงมาก แพทย์จะแนะนำให้เข้ารับการผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูก ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์คพร้อมดูแล

ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ยังนำเทคโนโลยีการผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูกที่สามารถยืดออกได้โดยใช้การควบคุมผ่านรีโมทจากภายนอก หรือ Magnetic growing rod (MAGEC Rods) มาใช้ในกรณีที่คนไข้อายุน้อย มีการเจริญเติบโตของร่างกายได้อีกหลายปี ซึ่งวิธีนี้สามารถควบคุมความรุนแรงของกระดูกสันหลังคดได้ดี ช่วยให้ร่างกายของเด็ก ๆ เจริญเติบโตสมส่วนตามที่แพทย์ได้วางแผนไว้ และเมื่อเด็ก ๆ เติบโตเต็มที่ ก็จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกต่อไป


สำหรับศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ไม่ได้มีแค่บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการในการดูแลคนไข้ภาวะกระดูกสันหลังคดด้วยการผ่าตัดเท่านั้น แต่ยังมีแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกที่มีความชำนาญ ครอบคลุมทุกสาขา เช่น กระดูก ข้อเข่า เอ็น เอ็นหัวเข่า หัวไหล่ เนื้องอกกระดูก เท้า และหมอกระดูกเด็ก เป็นต้น

นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ ยังมีการทำงานเป็นทีมร่วมกับศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ซึ่งมีเทคโนโลยี อุปกรณ์และเครื่องมือที่ช่วยในการฟื้นฟูดูแลคนไข้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของทีมนักบำบัด และทีมสหเวชศาสตร์ ซึ่งศูนย์ทั้ง 2 ตั้งอยู่บนชั้นเดียวกัน  ที่สำคัญในบริเวณใกล้กันยังเป็นศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัดแห่งแรกของไทย ที่มีสวนสุขภาพ (Rehabilitation Garden) ตั้งอยู่บนอาคารชั้น 5 ท่ามกลางพรรณไม้มากมายในบรรยากาศร่มรื่น และสระธาราบำบัดในร่มจำนวน 2 บ่อ

อย่างไรก็ตาม “คุณหมอชัยยศ” ทิ้งท้ายฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ หากพบว่าลูกมีภาวะกระดูกสันหลังคด แนะนำให้รีบพามารักษา หากมีอาการรุนแรงมากจนต้องผ่าตัด ก็ควรยินยอมให้เด็ก ๆ ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะที่ผ่านมามีผู้ปกครองจำนวนมาก ไม่อยากให้ลูกเจ็บเพราะการผ่าตัด ซึ่งในระยะยาวแล้วนอกจากจะทำให้เด็ก ๆ ขาดความมั่นใจในตนเองจากบุคลิกภาพที่แตกต่างจากเพื่อน ๆ ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพ เนื่องจากกระดูกสันหลังที่คดโค้งจะทำให้กระดูกซึ่โครงและช่องอกบีบเข้าหากัน ทำให้ช่องอกมีพื้นที่แคบลง และทำให้ปอดขยายตัวไม่ได้ หรือหัวใจบีบตัวได้ไม่เต็มที่ นำมาซึ่งโรคหัวใจล้มเหลว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับโรคปอดตามมาได้ในอนาคต

การเจ็บป่วย หากตรวจเช็กสัญญาณของโรค รู้แล้วไม่ควรนิ่งเฉย การรู้อาการไว ทำให้รักษาได้ ไม่ส่งผลต่ออุปสรรคในการใช้ชีวิตด้วย

สำหรับการปรึกษาและนัดพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกและข้อ สามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ชั้น 5 เคาน์เตอร์ A (West Lift) โรงพยาบาลเมดพาร์ค หรือโทร. 0-2090-3116 หรือ คลิกที่นี่


แชร์ :

You may also like