HomeSponsoredบทพิสูจน์ “โออาร์” ตอกย้ำพื้นที่แห่ง “โอกาส” จับต้องได้และทำได้จริง ตลอด 5 ปี “Real RISE of Opportunity”

บทพิสูจน์ “โออาร์” ตอกย้ำพื้นที่แห่ง “โอกาส” จับต้องได้และทำได้จริง ตลอด 5 ปี “Real RISE of Opportunity”

แชร์ :

ต้องบอกว่า แนวคิด Inclusive Growth ที่เน้นการสร้างโอกาสให้กับคนกลุ่มต่างๆ ได้เติบโตร่วมกับ โออาร์ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของ “บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)” หรือ  “โออาร์” ที่มุ่งสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตไปพร้อมกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด ด้วยการเข้าไปร่วมมือกับธุรกิจต่าง ๆ ผ่านการใช้จุดแข็ง และ Asset ต่าง ๆ ทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดได้ต่อยอดสู่หนังโฆษณาเรื่องใหม่ เพื่อฉลองครบรอบ 5 ปี โดยมาในธีมใหม่ Real RISE of Opportunity ร่วมสร้างโอกาส..เพื่อทุกการเติบโตอย่างแท้จริง เพื่อบอกเล่าคุณค่าและเป้าหมายการสร้าง “โอกาส” ให้ทุกคนเห็นภาพชัด ๆ และจับต้องได้มากขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

จาก โออาร์ = โอกาส สู่ Real RISE of Opportunity

หากยังจำกันได้ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว “โออาร์” ได้สร้างความท้าทายให้ตัวเองครั้งใหญ่ ด้วยการตัดสินใจแยกตัวออกมาจาก ปตท. พร้อมกับประกาศแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เน้นสร้างการเติบโตในรูปแบบใหม่ บนวิสัยทัศน์ Empowering All toward Inclusive Growth หรือ เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน เพราะมีความเชื่อว่าการทำธุรกิจในปัจจุบันไม่สามารถเติบโตลำพังได้คนเดียว แต่สังคม ชุมชน ลูกค้า และคู่ค้าต้องเติบโตไปด้วยกัน

จากวันนั้น  “โออาร์”  ได้ลงมือสร้างและส่งต่อโอกาสในรูปแบบต่างๆ มาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นที่มาของการสื่อสาร  “โออาร์ = โอกาส” ซึ่งเมื่อพูดถึงการสร้าง “โอกาส” เดิมทีสิ่งที่คนส่วนใหญ่นึกถึงอย่างแรกน่าจะเป็นการให้ทุนการศึกษากับเยาวชนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์เพื่อให้น้อง ๆ ได้มีโอกาสเรียนต่อ และนำความรู้ไปต่อยอดสร้างอาชีพและรายได้ต่อไป ทว่าการสร้างโอกาสในแบบ โออาร์ จะนำแนวคิด SDG ในแบบฉบับของ โออาร์ มาเป็นหลักในการทำงาน ซึ่งประกอบด้วย S – SMALL การสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น D – DIVERSIFIED การสร้างโอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ ผ่านศักยภาพของ โออาร์ ที่จะเป็น Platform ในการกระจายโอกาสทางธุรกิจที่หลากหลาย และ G – GREEN การสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด เพื่อสนับสนุนให้เกิดสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน

ส่งผลให้รูปแบบการส่งต่อโอกาสของ โออาร์ จึงแตกต่างจากที่เราเคยเห็นทั่วไป ผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรหลากหลายวงการ ภายใต้โครงการต่าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมทุกมิติและสร้างโอกาสเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน เช่น โครงการไทยเด็ดที่ โออาร์ จับมือกับวิสาหกิจชุมชนนำสินค้าดี สินค้าเด็ดมาจำหน่ายใน สถานีบริการ  พีทีที สเตชั่น, โครงการ Café Amazon for Chance ที่รับบาริสต้าที่บกพร่องทางการได้ยิน และผู้สูงวัยเข้ามาทำงาน ไปจนถึงการร่วมลงทุนกับธุรกิจ SMEs และ Start-Up เพื่อต่อยอดธุรกิจร่วมกัน ตลอดจนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วยการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Station PluZ และการติดตั้ง Solar Rooftop ในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น และ ร้านคาเฟ่ อเมซอน อีกทั้งยังปลูกจิตสำนึกในการคัดแยกขยะกับผู้บริโภคผ่านโครงการแยก แลก ยิ้ม

ซึ่งจากการลงพื้นที่เข้าไปช่วยคนตัวเล็กทั้งวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นและธุรกิจต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ได้เห็นเรื่องราวของแต่ละธุรกิจและชุมชนมากมาย ซึ่งหลายสินค้ามีความน่าสนใจ บวกกับความตั้งใจของ โออาร์ ที่ต้องการขยับการสร้างโอกาสขึ้นไปอีกขั้น เพื่อให้ทุกคนเห็นถึงประสิทธิผลจากการลงมือสร้าง “โอกาส” ให้กับคนตัวเล็กในรูปแบบต่าง ๆ ชัดขึ้น จึงต่อยอดมาเป็น Real RISE of Opportunity ร่วมสร้างโอกาส..เพื่อทุกการเติบโตอย่างแท้จริง โดยเลือกถ่ายทอดแนวคิดดังกล่าวในรูปแบบหนังโฆษณา

ถ่ายทอด “โอกาส” ผ่านเรื่องจริงของชุมชน “ถั่วลายเสือ-ผ้าทอย้อมคราม”

แม้ Key Message ของหนังโฆษณาเรื่องนี้ จะมีเป้าหมายเพื่อถ่ายทอดให้ทุกคนเห็นคุณค่าของการสร้างโอกาสเพื่อทุกการเติบโตอย่างแท้จริง แต่แทนที่หนังโฆษณาจะนำเสนอตัวเลข Start-Up และผู้ประกอบการท้องถิ่นแบบโต้งๆ ทว่าเนื้อหาหนังโฆษณาตลอดทั้งเรื่อง กลับนำเสนอความ Real ด้วยการนำบุคคลและเรื่องจริงมาเป็นแก่นในการเล่าเรื่องได้อย่างโดดเด่น เพราะต้องการสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจและเห็นภาพการสร้างโอกาสในแบบจับต้องได้จริง ดังนั้น ซีนเปิดเรื่องของหนังโฆษณานี้จึงถามคำถามกับทุกคนว่า “โอกาส…หน้าตาเป็นแบบไหน”

ก่อนจะเดินเรื่องด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวของคนตัวเล็กจากวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ที่อยากผลักดันภูมิปัญญาท้องถิ่นตนเองให้เติบโต จนได้รับโอกาสจาก โออาร์ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และขยายช่องทางจำหน่าย ทำให้ชุมชนสามารถเพิ่มผลผลิต และสร้างการจ้างงานได้เพิ่มขึ้น

โดยหนึ่งในชุมชนท้องถิ่นที่ โออาร์ หยิบเรื่องราวมาถ่ายทอดในโฆษณาคือ ถั่วลายเสือ สินค้าเด็ดจากวิสาหกิจชุมชนปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน โดยเป็นถั่วพันธุ์พิเศษที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเพื่อสร้างอาชีพให้แก่ประชาชนบนภูเขาสูง ทั้งยังได้รับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือตราสัญลักษณ์ GI (ใช้กับสินค้าที่ผลิตได้จากท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเป็นผลจากภูมิปัญญา หรือลักษณะทางภูมิศาสตร์เฉพาะของท้องถิ่นนั้น) เนื่องจากปลูกในที่สูงกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ผนวกกับการปลูกด้วยวิถีธรรมชาติ และกระบวนการคั่วด้วยเกลือตามภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงทำให้ถั่วลายเสือมีความหอม และรสชาติหวานกลมกล่อม ทั้งยังมีขนาดเมล็ดที่ใหญ่ และลายสีแดงเข้มต่างสีกับเนื้อเมล็ดเสมือนลายเสือพาดกลอน จนถูกเรียกขานกันว่า “ถั่วลายเสือ”

จากเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากถั่วทั่วไป บวกกับเรื่องราวความเป็นมาที่โดดเด่น จึงเป็นเหตุผลให้ โออาร์ เลือกถั่วลายเสือเข้ามาเป็นสินค้า “ไทยเด็ด Select” ซึ่งส่งผลให้ถั่วลายเสือนอกจากจะเป็นที่รู้จักมากขึ้น คนในชุมชนยังมีรายได้สูงขึ้นจาก 400,000 บาทต่อเดือน เป็น 550,000 บาทต่อเดือน และมีการสนับสนุนวัตถุดิบท้องถิ่นเพิ่มขึ้นจาก 80,000 บาทต่อเดือน เป็น 200,000 บาทต่อเดือน

อีกหนึ่งของดี ของเด็ด ที่ โออาร์ นำมาถ่ายทอดในโฆษณาคือ ผ้าทอย้อมคราม จากบ้านคำประมง  จ.สกลนคร ซึ่งเริ่มต้นจากแม่บ้านเพียง 11 คน ที่ว่างจากการทำนา ทำสวน มาช่วยกันทอผ้า โดยเอกลักษณ์ของผ้าทอย้อมคราม เป็นผ้าที่ทำมาจากเส้นใยและสีครามธรรมชาติ แล้วนำมาทอเป็นลวดลายต่างๆ ตามภูมิปัญญา จึงสะท้อนวัฒนธรรมและความเป็นชุมชนย้อมผ้าครามแห่งนี้ ซึ่งหลังจากชุมชนเข้าร่วมโครงการไทยเด็ด และได้รับคัดเลือกเป็นไทยเด็ด Select ในปี 2565 ทำให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มจาก 300 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน เป็น 15,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน

นอกจากถั่วลายเสือและผ้าทอย้อมครามแล้ว โครงการไทยเด็ดยังมีสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลายประเภท โดยสามารถเข้ามาดูสินค้าทั้งหมดของโครงการไทยเด็ดได้ที่ https://thaidet.pttor.com/

การเติบโตของคนตัวเล็ก ที่จับต้องได้จริง

นอกจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในโครงการไทยเด็ดแล้ว ยังมีเหล่า Start-Up และ SMEs ไทยจากธุรกิจต่าง ๆ ที่โออาร์เข้าไปร่วมลงทุน เช่น ร้านสะดวกซักภายใต้แบรนด์ Otteri Wash & Dry ที่ให้บริการเครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม, ร้าน Pacamara แบรนด์ร้านกาแฟ Specialty Coffee รวมไปถึง Pomelo แพลตฟอร์มและแบรนด์แฟชั่นชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Traveloka แพลตฟอร์มธุรกิจท่องเที่ยวและไลฟ์สไตล์ เป็นต้น มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวการเติบโตของธุรกิจที่จับต้องได้ยิ่งขึ้น

ก่อนจะย้ำด้วยตัวเลขการสร้างโอกาสในตอนท้าย โดยปัจจุบัน โออาร์ ได้สร้างรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับคนในชุมชนกว่า 12,809 ชุมชน ทั่วประเทศ เช่น ชุมชนเกษตรกร ชุมชนที่อาศัยอยู่รอบสถานประกอบการ โออาร์ เป็นต้น ทั้งยังสร้างโอกาสและให้คำปรึกษากับ Start-Up และ SMEs ไทยกว่า 100 รายทั่วประเทศ ได้ต่อยอดศักยภาพให้เติบโตและขยายธุรกิจไปไกลกว่าเดิม พร้อมกับมีแผนขยายสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า EV Station PluZ กว่า 7,000 หัวชาร์จ (DC Fast Charger) ภายในปี 2573 และตั้งจุดคัดแยกขยะในสถานีบริการ พีทีที สเตชั่น ผ่านโครงการแยก แลก ยิ้ม  2,012 แห่ง เพื่อนำรายได้จากการขายขยะเหล่านั้นมาสร้างรอยยิ้มให้ชุมชน

ด้วยวิธีเล่าเรื่องที่ Real และจับต้องได้ จึงเชื่อว่าเมื่อคนได้ดูโฆษณานี้จนจบแล้ว ไม่เพียงจะเข้าใจแก่นของการสร้าง “โอกาส” ได้อย่างชัดเจนขึ้นแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ โออาร์ กับการเติมฝันและสร้างโอกาสให้คนตัวเล็กได้เติบโตอย่างเต็มที่ ซึ่งในอนาคต โออาร์ ยังเดินหน้าเพิ่มโอกาสให้เพิ่มขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด ตามแนวคิด Inclusive Growth ต่อไป เพื่อที่จะร่วมเติบโตไปด้วยกันกับชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ส่วนใครที่อยากเห็นหน้าตาของโอกาสแบบชัดๆ ไม่ควรพลาดคลิกชมวิดีโอฉบับเต็มที่นี่

 

#OR #โออาร์ #โออาร์5ปี #RealRISEOfOpportunity

 

 


แชร์ :

You may also like