HomeDigitalเปิดสถิติ “พร้อมเพย์” ปี’65 ยอดการใช้งานพุ่ง 1.37 หมื่นล้านรายการ

เปิดสถิติ “พร้อมเพย์” ปี’65 ยอดการใช้งานพุ่ง 1.37 หมื่นล้านรายการ

ผู้ใช้งานแตะ 66.94 ล้านเลขหมาย พบใช้วันธรรมดามากกว่าวันหยุด

แชร์ :

ขอบคุณภาพจากธนาคารแห่งประเทศไทย

เรียกว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยที่หลายชาติอิจฉากับบริการ “พร้อมเพย์” โดยมีการเปิดเผยข้อมูลการใช้งานตลอดทั้งปี 2565 พบมีผู้ลงทะเบียนพร้อมเพย์อยู่ที่ 66.94 ล้านเลขหมาย และวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2565 เป็นวันที่มีการทำธุรกรรมสูงถึง 58.08 ล้านรายการ เป็นสถิติสูงที่สุดตั้งแต่เปิดให้บริการมา โดยยอดการทำธุรกรรมโอนเงินและชำระเงินผ่านพร้อมเพย์ตลอดทั้งปี 2565 มีทั้งสิ้น 13,705 ล้านรายการ

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

สำหรับบริษัทพร้อมเพย์ ซึ่งพัฒนาและให้บริการโดยบริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX นั้น ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 39.47 ล้านเลขหมาย และลงทะเบียนด้วยหมายเลขโทรศัพท์ 27.47 ล้านเลขหมาย โดยนอกจากบุคคลธรรมดาแล้ว ยังมีนิติบุคคลที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์จำนวน 2.43 แสนรายด้วย

4 อันดับการทำธุรกรรมที่ผู้ใช้บริการใช้งานสูงสุด

  • โอนเงินด้วยหมายเลขบัญชีธนาคาร จำนวน 68.8%
  • โอนเงินด้วยหมายเลขอ้างอิง จำนวน 16.3%
  • การชำระสินค้าด้วย QR Code และใบแจ้งหนี้ จำนวน 9.3%
  • การเติมเงิน e-Wallet 5.7%

ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่ประชาชนนิยมโอนเงินมากที่สุด คือ ช่วงเวลาพักเที่ยงและหลังเลิกงาน และวันทำงานจะมีการใช้งานมากกว่าวันหยุดและวันหยุดนักขัตฤกษ์ อีกทั้งในช่วงสิ้นเดือนจะมีการทำธุรกรรมมากกว่าปกติ

ทั้งนี้ จากสถิติจะเห็นได้ว่าปริมาณการใช้งานพร้อมเพย์ยังคงมีอัตราการเติบโตและทำสถิติใหม่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้มีการวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่ทำให้พร้อมเพย์ประสบความสำเร็จ ว่าประกอบด้วย 6 ปัจจัยดังต่อไปนี้

  1. การกำหนดให้เป็นโครงการระดับประเทศที่ภาครัฐ และภาคเอกชนร่วมมือกันผลักดันและกระตุ้นให้เกิดการใช้ digital payments อย่างรวดเร็วและแพร่หลาย
  2. การวางโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่เปิดกว้างและสามารถเชื่อมโยงกับระบบต่าง ๆ ได้
  3. ความร่วมมือของผู้ให้บริการระบบและบริการชำระเงินในการพัฒนาระบบพร้อมเพย์
  4. การออกแบบบริการและนวัตกรรมต่อยอดต่าง ๆ ที่คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งาน
  5. โครงสร้างค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้สะดวก
  6. การให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงและคุ้มครองผู้บริโภคของผู้ให้บริการ

และนี่อาจเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับภาครัฐในการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของบริการใหม่ ๆ ก็เป็นได้


แชร์ :

You may also like