HomeSponsored“หนอนติดล้อ” ไอเดียธุรกิจยั่งยืนจากเด็ก ม.5 เปลี่ยนขยะอินทรีย์ เป็น “โปรตีน” คุณภาพสูงจากหนอนนก

“หนอนติดล้อ” ไอเดียธุรกิจยั่งยืนจากเด็ก ม.5 เปลี่ยนขยะอินทรีย์ เป็น “โปรตีน” คุณภาพสูงจากหนอนนก

แชร์ :

ในวันที่ประเทศไทยยังมีความท้าทายอีกมากรอให้คนไทยเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไข บางทีการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมระดมสมอง ก็อาจนำไปสู่วิธีการใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ รวมถึงอาจสร้างเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญต่อประเทศไทยในอนาคตได้เช่นกัน โดยหนึ่งในโครงการที่กำลังทำหน้าที่ดังกล่าวได้เป็นอย่างดีก็คือ โครงการ STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ของ AFTERKLASS โดยธนาคารกสิกรไทย กับการชวนเด็กมัธยมให้หันมาสนใจการสร้างแผนธุรกิจและนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ยั่งยืน (Sustainable Society) ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการทำธุรกิจในอนาคต โดยเป็นปีแรกที่ทางโครงการมีความตั้งใจที่จะปลูกฝังแนวคิดการทำธุรกิจให้กับเยาวชนที่จะอยู่ร่วมกับโลกอย่างยั่งยืน ด้วยการนำ SDGs ขององค์กรสหประชาชาติ มาเป็นแนวคิดหลักในการสร้างแผนธุรกิจให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันได้คิดและเสนอไอเดียธุรกิจเพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาคมโลกให้ดียิ่งขึ้น

ADFEST 2024

Santos Or Jaune

คุณรวี อ่างทอง  ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสื่อสารและองค์การสัมพันธ์ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมด้านการศึกษาและการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย จึงได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้แบรนด์ AFTERKLASS มาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับทักษะของเยาวชนทั้งการเงิน อาชีพ และการเรียนรู้ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ซึ่งมีมุมมองในการสร้างโอกาสในชีวิตและทางเลือกในอาชีพที่เปลี่ยนไป จึงได้จัดการแข่งขันแผนธุรกิจ STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 เป็นเวทีให้เยาวชนได้เรียนรู้และประยุกต์ใช้ความสามารถของตนเองในการเป็นผู้ประกอบการและการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ ได้ปล่อยไอเดียสร้างสรรค์  ควบคู่กับการคิดเพื่อร่วมดูแลสังคม ผ่านโจทย์การพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาคมโลกให้ดียิ่งขึ้น ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ขององค์กรสหประชาชาติและนับเป็นโครงการที่สอดคล้องกับเจตนารมย์ของธนาคารกสิกรไทย

ความสำเร็จของโครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ในปีนี้อาจพิสูจน์ได้จากการนำเสนอโปรเจ็คที่หลากหลายของน้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมที่เข้าร่วมในกิจกรรม Hackathon รอบสุดท้าย ไม่ว่าจะเป็นโครงการผลิตโปรตีนจากหนอนนก, โปรเจ็คการเรียนที่หลากหลายตามใจผู้เรียน หรือแม้แต่การเสนอแนวคิดช่วยพ่อค้าทุเรียนให้สามารถส่งออกผลผลิตไปยังต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเพิ่มการจ้างงานในชุมชน ฯลฯ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม Bootcamp เป็นเวลา 3 วันที่อาคาร K+ ในย่านจามจุรี โดยมี Mentor ชื่อดังเข้ามาให้คำแนะนำและสร้างแรงบันดาลใจให้น้อง ๆ มัธยมทั้ง 8 ทีมที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายอย่างใกล้ชิด เพื่อให้น้อง ๆ ได้เรียนรู้การสร้างไอเดียธุรกิจ นวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์สังคมอย่างยั่งยืน พร้อมฝึกทักษะ Problem Finding และเสริมด้วยเทคนิคการสร้าง UX/UI ให้โดนใจลูกค้า

แต่นอกจากจะได้เข้าร่วมกิจกรรมสุดเข้มข้นแล้ว น้อง ๆ มัธยมหลายสิบชีวิตจาก 8 ทีมยังได้มีโอกาสพิชชิ่ง กับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่มีค่าไม่แพ้กัน โดยทีมที่ชนะเลิศของโครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ในปีนี้ ก็คือ โครงการ “หนอนติดล้อ” จากทีม DKRG ของน้อง ๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากโรงเรียนปัญญารัตน์ และกรุงเทพคริสเตียน ที่นำเสนอการเลี้ยง “หนอนนก” ซึ่งไม่เพียงช่วยโลกลดขยะอินทรีย์เหลือทิ้งด้วยการนำไปทำเป็นอาหารหนอน แต่ยังสามารถนำหนอนไปสกัดเป็นโปรตีนบริสุทธ์ เพื่อเจาะตลาดเวย์โปรตีนที่มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาทได้อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ด้วย

ส่องไอเดียผู้ชนะ “หนอนติดล้อ”

คุณธัชพล ศรีมานนท์ ตัวแทนจากทีม DKRG เผยถึงแนวคิดตั้งต้นของทีมคือการหาทางกำจัดสิ่งที่สร้างมลภาวะให้กับโลก เช่น ขยะอินทรีย์เหลือทิ้ง ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะเหล่านั้น โดยหลังจากร่วมกันระดมสมองว่าต้นตอของปัญหาเหล่านี้มาจากอะไร ก็นำไปสู่แผนธุรกิจ เป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนผงที่สกัดมาจากหนอนนก 100%

“จุดเริ่มต้นคือการนำขยะอินทรีย์เหลือทิ้งมาเป็นอาหารให้หนอน และนำหนอนเหล่านั้นมาสกัดเป็นโปรตีนบริสุทธ์ เพื่อเป็นวัตถุดิบให้กับตลาดเวย์โปรตีน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้ว พบว่าสามารถทำราคาได้ถูกกว่าโปรตีนผงชนิดอื่น ๆ ซึ่งทำให้ผู้คนที่ต้องการบริโภคโปรตีนสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น และยังช่วยลดขยะอินทรีย์ได้พร้อม ๆ กัน”

สำหรับที่มาของขยะอินทรีย์ที่ทางทีม DKRG เสนอว่าจะนำไปเลี้ยงหนอนนกก็คือโรงงานขยะของกรุงเทพมหานคร โดยหากสร้างเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและฟาร์มเลี้ยงหนอนนกอย่างเป็นทางการ จะสามารถผลิตหนอนนกที่ให้โปรตีนได้ถึง 5,000 กิโลกรัมต่อเดือน

ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายของทีมคือ บริษัทเวย์โปรตีนในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูงกว่า  500 ล้านบาท อีกทั้งทางทีมมองว่า โครงการดังกล่าวยังมีศักยภาพในการในการขยายออกสู่ตลาดเวย์โปรตีนระดับโลก ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 3 แสนล้านบาทอีกด้วย

ด้านคุณปัณปพล เธียรวณิชพันธุ์ อีกหนึ่งสมาชิกจากทีม DKRG เสริมว่า “เราพบว่ากรรมวิธีสกัดโปรตีนบริสุทธิ์จากหนอนนกเป็นเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว (สามารถนำมาใช้ได้เลย) เมื่อผนวกกับข้อมูลจากการศึกษาที่พบว่าหนอนนกมีคุณค่าทางโภชนาการ และมีโปรตีนสูงกว่าปศุสัตว์หลายชนิดก็เชื่อว่าจะทำให้บริษัทผู้ผลิตเวย์โปรตีนมั่นใจมากขึ้นว่าต้นทุนของเขาจะถูกลง และทำให้เขาสามารถแข่งขันได้มากขึ้น”

คุณวิรชัช ทองอุทัยศรี สมาชิกทีม DKRG กล่าวเสริมด้วยว่า “ปกติ บริษัทผู้ผลิตเวย์โปรตีนจะเลือกใช้วัตถุดิบจากนมวัว หรือถั่วเหลืองเป็นหลัก ยังไม่พบว่ามีบริษัทใดใช้หนอนนกเป็นวัตถุดิบ การใช้หนอนนกจึงถือเป็นจุดเด่น และสร้างความแตกต่างได้มาก”

ทางทีมยังได้มีการทำแบบสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการยิมที่รับประทานโปรตีนเวย์เป็นประจำ จำนวน 30 คน ว่าหากมีโปรตีนเวย์จากหนอนนกจะมั่นใจรับประทานไหม โดยผลสำรวจพบว่า 76% หรือผู้ตอบแบบสอบถาม 23 คนเผยว่ารับได้

ในส่วนของการสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความสะอาดของผลิตภัณฑ์ก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน โดยตัวแทนจากทีม DKRG มองว่า การฆ่าเชื้อด้วยกระบวนการพาสเจอไรซ์ หรือการให้ความร้อนสูงในระยะเวลาสั้น ๆ รวมถึงการเก็บหนอนนกที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วด้วยการแช่แข็ง จะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตโปรตีนเวย์ และผู้บริโภคมั่นใจได้มากขึ้น

กรรมการชี้แผนธุรกิจ “หนอนติดล้อ” เกินมาตรฐานมัธยม

ในส่วนของความเห็นจากคณะกรรมการผู้ตัดสิน AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 คุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท บีคอน เวนเจอร์ แคปิทัล จำกัด (บีคอน วีซี) บริษัทในเครือธนาคารกสิกรไทย (KBANK) มองว่า ทีม DKRG กับการพัฒนาไอเดียหนอนติดล้อถือว่ามีความโดดเด่นในเรื่องแผนธุรกิจ และตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน

“นี่คือผลิตภัณฑ์ที่เป็น DeepTech กับการพัฒนาหนอนนกมาเป็นโปรตีนเวย์ เขาสามารถนำของเหลือที่สร้างมลภาวะให้กับโลกมาปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นธุรกิจใหม่ได้ เลยได้คะแนนในจุดนี้ไปค่อนข้างเยอะ ซึ่งในระดับมัธยม ถือว่าทีม DKRG ทำได้เกินมาตรฐาน โดยเฉพาะเรื่องของความยั่งยืนซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการคิดแผนธุรกิจในอนาคต”

ด้าน คุณเชษฐพันธุ์ ศิริดานุภัทร กรรมการผู้จัดการ KLabs  และกรรมการตัดสินที่ยอมรับว่าน้อง ๆ ทำได้ดีมาก  และอยากให้นำมิตรภาพ – ความรู้ที่ได้จากโครงการไปต่อยอด เปลี่ยนจากพรีเซนเทชันบนพาวเวอร์พอยต์เป็นโครงการที่เป็นรูปธรรม

สุดท้ายกับ ดร. รณกร ไวยวุฒิ จากสถาบันนวัตกรรมบูรณาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งกรรมการผู้ตัดสินของเวทีดังกล่าวเสริมว่า จุดเด่นของทีมที่ชนะในโครงการ AFTERKLASS STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 คือการแก้ปัญหาด้วยการนำสิ่งที่คนไม่ต้องการมาแปลงให้เป็นสิ่งที่รับประทานได้

ดร. รณกร ยังได้กล่าวถึงภาพรวมของเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมในปีนี้ด้วยว่า มีจุดเด่นเรื่องความกล้า และมีการเตรียมตัวที่ดีมาก ไม่เฉพาะทีมที่ชนะเลิศ แต่ทุกทีมมีการทำรีเสิร์ช ค้นคว้าข้อมูล ทำให้มีความพร้อมและสามารถนำเสนอโครงการได้อย่างมั่นใจ

จากความสำเร็จที่จบลงไปนี้ จะเห็นได้ว่า เวที  STARTUP FOR BETTER SOCIETY HACKATHON 2022 ของ AFTERKLASS โดยธนาคารกสิกรไทย ไม่เพียงเป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามาเรียนรู้กระบวนการในการทำธุรกิจและความรู้ด้านการเงินอย่างเป็นรูปธรรม แต่ยังเป็นการบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมถึงทำให้พวกเขาเห็นว่า อนาคตของการสร้างธุรกิจยั่งยืนนั้น เป็นสิ่งที่ “มีอยู่จริง” และคนรุ่นใหม่อย่างพวกเขาก็คือหนึ่งในจิ๊กซอร์สำคัญในการสร้างอนาคตเหล่านั้นนั่นเอง ทั้งนี้ AFTERKLASS จะมีการจัดกิจกรรม BUSINESS KAMP แบบนี้ขึ้นทุกปี ปีละ 1 ครั้ง สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจ เตรียมตัวรอฟังข่าวการจัดกิจกรรมในครั้งต่อ ๆ ไปได้เลย


แชร์ :

You may also like